A Survey of Practical Policies to Promote Rational Drug Use (RDU) of Pharmacy and Therapeutics Committee (PTC) in Thailand

Authors

  • Patcharaporn Sudchada Pharmaceutical care Research Unit (PRU), Faculty of Pharmaceutical Sciences, Naresuan University, Phitsanulok 65000
  • Adinat Umnuaypornlert Pharmaceutical care Research Unit (PRU), Faculty of Pharmaceutical Sciences, Naresuan University, Phitsanulok 65000
  • Nantawarn Kitikannakorn Pharmaceutical care Research Unit (PRU), Faculty of Pharmaceutical Sciences, Naresuan University, Phitsanulok 65000

Keywords:

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด, นโยบายในแนวปฏิบัติ, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, Pharmacy and Therapeutics Committee, practical policy, rational drug use

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : องค์การอนามัยโลกระบุให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเป็นกลุ่มสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลซึ่งมีหน้าที่จัดการคลังเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในประเทศไทย  กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายในแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดยังมีจำกัด  การศึกษานี้จึงได้สำรวจข้อมูลการปฏิบัติงาน และนโยบายในแนวปฏิบัติของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด เพื่อช่วย ในการกำหนดทิศทางของการปฏิบัติงาน และนโยบายเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทยต่อไป

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยสำรวจเภสัชกร จำนวน 5 ราย ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 5 แห่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ข้อมูลจากแบบสอบถาม และเอกสารคำสั่ง ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและมีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

ผลการศึกษา : โครงสร้างและหน้าที่ของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของทุกโรงพยาบาลที่ถูกสำรวจเป็นไปตามที่ระบุโดยองค์การอนามัยโลกและสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข นโยบายการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่พบได้แก่ การประเมินความคุ้มค่าและการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล การจัดทำนโยบายระบบยา และแนวทางมาตรฐานในการรักษาโรค การนำข้อมูลจากการประเมินการใช้ยา ปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา มาใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลนอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่าอุปสรรคที่สำคัญ ต่อการพัฒนาสมรรถนะของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ได้แก่ การขาดการกำหนดหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด และการขาดการประเมินหลังจากการนำนโยบายมาใช้จริง

สรุป : ถึงแม้ว่าคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดมีการให้นโยบายการปฏิบัติหลายแนวทาง แต่ยังพบปัญหาในการพัฒนาระบบยาที่มีประสิทธิภาพ และการนำนโยบายที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปใช้การกำหนดหน้าที่อย่างชัดเจน ดังนั้นการจัดสรรกำลังบุคคลกรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนา และส่งเสริมภาวะผู้นำ การเพิ่มจำนวนครั้งของการประชุม และการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการส่งต่อนโยบาย ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึง จะช่วยพัฒนาการทำงานของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ : คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด, นโยบายในแนวปฏิบัติ, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

 

 

Background and Objective : Pharmacy and Therapeutics Committee (PTC) was defined by World Health Organization (WHO) as a group of multidisciplinary professionals in a hospital to manage an effective drug inventory control and improve rational drug use (RDU). Even though a PTC was established in all hospitals under the jurisdiction ofMinistry Of Public Health (MoPH), there was limited data describing practical policies to promote RDU of PTCs in Thailand. This study was aimed to obtain existing information on their current performances and practical policies that have been utilized in the PTCs. This information will assist in guiding the directions of PTC performances and policies to improve RDU in Thailand.

Method : This qualitative study was conducted in 5 purposive sampling of pharmacists who had works related to in a PTC of each hospital under the jurisdiction of MoPH in lower northern part of Thailand. The documentary analysis and data triangulation were performed using official regulatory data from each hospital and information gathered from the questionnaires.

Results : PTC structures and functions of all hospitals were adhered to WHO and Thai MoPH guidelines. Their practical policies to promote RDU were related to planning on cost-effective hospital formulary and inventory controls, developing drug system policies and clinical guidelines, and utilizing information of drug use evaluation (DUE), medication errors (ME), and adverse drug reactions (ADR) to establish the RDU policies. In addition, we found that the obstacles in developing PTC performances including lacking of clearly defining job description of PTC and assessing outcomes after utilizing policies were crucial.

Conclusions : Though PTCs’ practical policies were established for improving RDU, they had been struggling to establish the effective formulary systems and implemented RDU policies. To improve performances of the PTCs, clarifying job descriptions of PTC committee, providing effective human resources, developing leadership skill, increasing frequency of official meetings, and promoting efficient communication and distribution of in-house policies may be warranted.

Key words : Pharmacy and Therapeutics Committee, practical policy, rational drug use

Downloads

How to Cite

1.
Sudchada P, Umnuaypornlert A, Kitikannakorn N. A Survey of Practical Policies to Promote Rational Drug Use (RDU) of Pharmacy and Therapeutics Committee (PTC) in Thailand. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Aug. 22 [cited 2024 Oct. 12];27(2):157-66. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/11110

Issue

Section

Original Articles