A Comparative Study of Maternal and Perinatal Outcomes in Management of Severe Preeclampsia before 34 Weeks of Gestation between the Conventional and Expectant Methods
Keywords:
การรักษาแบบประคับประคอง, ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง, ผลลัพธ์ต่อมารดาและทารก, expectant management, severe preeclampsia, maternal and perinatal outcomeAbstract
หลักการและวัตถุประสงค์ : ภาวะ severe preeclampsia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ และทารก โดยเฉพาะมารดาที่มี ภาวะ severe preeclampsia ในระยะครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ครบ 34 สัปดาห์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การรักษามารดาและทารกที่มีภาวะ severe preeclampsia ก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์แบบ conventional (แบบเดิม) และ แบบ expectant (แบบใหม่)
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ severe preeclampsia ก่อนอายุครรภ์ครบ 34 สัปดาห์ เข้ารับการรักษาที่ห้องคลอด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนเมษายน 2552 ถึงตุลาคม 2554 แบ่งเป็นกลุ่มใช้แนวทางการรักษาแบบ conventional 19 ราย และ แบบexpectant 18 ราย ประเมินผลลัพธ์การรักษาต่อมารดา และทารกเปรียบเทียบกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test และ chi-square test
ผลการศึกษา : กลุ่มที่ใช้แนวทางการรักษาแบบ expectant พบว่าอายุครรภ์ขณะคลอด ระยะเวลาที่ยืดอายุครรภ์ อัตราตายมารดามีแนวโน้มดีกว่า ผลลัพธ์ด้านทารกพบว่า Apgar score นาทีที่ 5 ภาวะRDS การติดเชื้อในกระแสเลือด และจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาลดีกว่ากลุ่มทารกที่ใช้แนวทางการรักษาแบบ conventionalอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.042, 0.036, 0.045 และ 0.046 ตามลำดับ)
สรุป : การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ severe preeclampsia ที่อายุครรภ์ก่อน 34 สัปดาห์ ตามแนวทางการรักษาแบบ expectant ประกอบกับ มีการเฝ้าระวังและติดตามดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดสามารถยืดอายุครรภ์ออกไปได้โดยไม่เพิ่มอันตรายต่อมารดาและทารก
คำสำคัญ : การรักษาแบบประคับประคอง, ภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง, ผลลัพธ์ต่อมารดาและทารก
Background and Objective : Severe preeclampsia is a serious maternal and perinatal complication and one of the leading cause maternal death especially before 34 weeks gestation. This study aimed to compare maternal and perinatal outcomes in management of severe preeclampsia mother before 34 weeks of gestation.
Methods : Operational study performed in 37 severe preeclampsia women before 34 weeks of gestation who admitted at Uttaradit hospital between April 2009 and October 2011. Cases were divided into two groups, the first group of 19 women were treated with the conventional method and the second group of 18 women with the new guideline (expectant method). We compared maternal and perinatal outcomes in both groups. The data was analyzed by t-test and chi-square test.
Results : After revised guideline and expectant management maternal outcomes such as gestational age when delivered, duration of prolonged pregnancy and maternal death were improved. There were significantly better Apgar score, RDS, septicemia and hospital stay in expectant group than conventional group (p=0.042, 0.036, 0.045 and 0.046 respectively)
Conclusion : For women with severe preeclampsia before 34 weeks gestation expectant management with revised guideline of selected patients can improve maternal and perinatal outcomes but requires careful in-hospital maternal and fetal surveillance.
Key words : expectant management, severe preeclampsia, maternal and perinatal outcome