Health-Related Quality of Life of the Thai Hip Fracture Patients after the One Year of Post- Hospital Discharge

Authors

  • Anan Udombhornprabha Program in Clinical Epidemiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand
  • Jariya Boonhong - Thai CERTC Consortium, - Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand
  • Tawechai Tejapongvorachai Department of Orthopaedics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand

Keywords:

การประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ, แบบสอบถามเอสเอฟ- 36 ฉบับภาษาไทย, กระดูกสะโพกหัก, Health-related quality of life, Medical Outcomes Study a 36-item Short-Form Survey (MOS SF3 6), Hip fracture

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : โรคกระดูกสะโพกหักเป็นภาระในการดูแลสุขภาพที่สำคัญในประเทศไทย การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักนี้เป็นการสำรวจในมุมมองของ (1) ความน่าเชื่อถือของการใช้แบบสอบถามเอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทย (2) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักเปรียบเทียบกับอาสาสมัครชาวไทยสุขภาพปกติ

วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจำนวน 201 รายได้รับการคัดกรองก่อนการออกจากโรงพยาบาลและติดตามผลนานหนึ่งปี แบบสอบถามเอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทยชนิดผู้ป่วยประเมินเองถูกจัดส่งทางไปรษณีย์เพื่อการติดตามผล ข้อมูลคุณลักษณะของผู้ป่วยด้านคลินิกเก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรงในระหว่างการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าศึกษาพร้อมตรวจยืนยันกับบันทึกทางการแพทย์แล้วทำการวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางและรายงานผลเชิงพรรณา

ผลการศึกษา : แบบสอบถามได้รับการตอบกลับทั้งสิ้น 59.2% (119 ราย) ค่าคะแนนเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) [ช่วงเชื่อมั่น 95%] ของค่าคะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพองค์รวม ที่ประเมินโดยผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย มีค่าเท่ากับ 35.2(11.7)[33.1-37.3], 53.2(11.5)[51.1-55.2],43.1(10.4)[41.2-44.9],  ในขณะที่ ค่าคะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพเกี่ยวกับบทบาทของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมีค่า เท่ากับ  26.5 (12.3)[24.2-28.7], 61.1(12.3)[58.8-63.3],39.5(10.4)[37.6-41.3] โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือ Chronbach’s alpha เท่ากับ  0.914,0.809, 0.916 และ 0.896, 0.789, 0.718 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ ความน่าเชื่อถือ Chronbach’s alpha ที่ประเมินจากผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในการศึกษานี้และผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง มีค่าใกล้เคียงกันที่  0.91 กับ 0.93, 0.82 กับ 0.92 และ 0.91 กับ 0.94 ตามลำดับ.  การเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของสุขภาพองค์รวมระหว่างผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักและอาสาสมัครปกติชาวไทยในกรุงเทพ และทั่วประเทศ พบว่า ผู้ป่วกระดูกสะโพกหักมีค่าคะแนนเฉลี่ยของสุขภาพองค์รวมที่วัดโดย แบบสอบถามเอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทยลดลงร้อยละ 33 และ 42 ตามลำดับ

สรุป : การประเมินคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับสุขภาพโดยแบบสอบถามเอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทยภายหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลนานหนึ่งปี มีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลจากการศึกษานี้ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ด้านคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักภายหลังการรักษา  จุดด้อยและข้อจำกัดของการศึกษาด้านการลำเอียงเพื่อรายงานผลและความจำในการรายงานสามารถแก้ไขได้

คำสำคัญ : การประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ, แบบสอบถามเอสเอฟ- 36 ฉบับภาษาไทย, กระดูกสะโพกหัก

 

 

Background and Objectives : Hip fracture is a major healthcare burden in Thailand. The study explored quality of life for hip fracture patients from perspective of (i) Reliability of a medical outcome study, a 36-item short form survey (ii) Quality of life of hip fracture as compared with Thai healthy volunteer.

Methods : Pre-hospital discharge 201 hip fracture patients were screened and follow-up over one year. Mail survey by a self-rated medical outcomes study, a 36-item short-form survey (Thai) dispatched for follow-up, other clinical and demographic characteristics were collected through direct interviews from patients or caregivers during recruitment with simultaneous cross-checking from medical records. A descriptive cross-sectional analysis was performed

Results : Mails responder represented 59.2%(N=119), score for physical, mental and global health of both patient and caregiver rated outcomes were , mean(SD), 95% CI 35.2(11.7)[33.1-37.3], 53.2(11.5)[51.1-55.2],43.1(10.4)[41.2-44.9], whereas physical mental and role component summary score suggested by Suzukamo et al10 were 26.5(12.3)[24.2-28.7], 61.1(12.3)[58.8-63.3],39.5(10.4)[37.6-41.3] with Chronbach’s alpha reliability coefficient of  0.914,0.809, 0.916 and 0.896,0.789,0.718 for Thai hip fracture respectively. The same for hip fracture vs chronic low back pain were 0.91vs0.93, 0.82vs0.92 and 0.91vs0.94 respectively. Comparison of mean score for global health from medical outcome study, a 36-item short-form survey for hip fracture patients vs healthy Bangkok resident and healthy national volunteer reflected a deficit of score for 33% and 42 % respectively.

Conclusion : Health-related quality of life assessment with MOS SF-36 after one year hospital discharge for hip fracture was reliable. The data provided useful information related to post-treatment health-related quality of life outcomes. The shortcoming and limitation in terms of recall and report bias could be rectified.

Keywords : Health-related quality of life, Medical Outcomes Study a 36-item Short-Form Survey (MOS SF3 6), Hip fracture

Downloads

How to Cite

1.
Udombhornprabha A, Boonhong J, Tejapongvorachai T. Health-Related Quality of Life of the Thai Hip Fracture Patients after the One Year of Post- Hospital Discharge. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Aug. 22 [cited 2024 Apr. 25];27(2):180-8. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/11117

Issue

Section

Original Articles