The Prevalence of Asthma-COPD Overlap Syndrome (ACOS) in Srinagarind Hospital
Keywords:
Asthma-COPD Overlap Syndrome; Asthma; COPD; Prevalence; โรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง; โรคหืด; โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง; ความชุกAbstract
Background and objective: Asthma and chronic obstructive pulmonary disease (COPD) are common respiratory diseases in Thai and cause substantial public health issues. There are some clinical characteristics that overlapped between these two conditions. In 2015, Global Initiative for Asthma (GINA) along with Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD) established an asthma-COPD overlap syndrome (ACOS) guideline, which had a syndromic approach that classify patients into asthma, COPD and ACOS. This study aimed to identify the prevalence of ACOS based on these guidelines.
Methods: This descriptive cross-sectional study was performed in airway clinic at Srinagarind hospital between October 2015 and November 2016. Clinical data were gathered by using questionnaires. Spirometry information and chest radiographic results were also collected.
Results: One hundred and sixty-nine patients were included in this study. The prevalence of asthma, COPD and ACOS were 42.60%, 41.15% and 11.24%, respectively. Among 19 patients who were diagnosed with ACOS, 7 patients (36.84%) were previously recognized as COPD and 12 patients (63.16%) were previously recognized as asthma. The mean (±SD) of age in ACOS group was 62 (±9.78) years. Eight patients (42.11%) were previous smokers. Sixteen patients (84.21%) had allergic symptoms. The mean (±SD) post-bronchodilator forced expiratory volume in one second (FEV1) and percentage of post-bronchodilator FEV1 were 1.72 (±0.35) liters and 71 (±20.58)%, respectively.
Conclusion: The prevalence of ACOS among asthma and COPD patients is approximately 11%. Sorting out ACOS patients from asthma and COPD is necessary due to their individual and specific pharmacotherapy.
ความชุกของกลุ่มโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
ไพลิน รัตนวัฒน์กุล1*, พรพิมพ์ ตันติบัณฑิต2, อภิชาติ โซ่เงิน3, วัชรา บุญสวัสดิ์1, วิภา รีชัยพิชิตกุล1
1.หน่วยโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- แพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- หน่วยนิทราเวชศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-
หลักการและวัตถุประสงค์: โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมีความสำคัญทางสาธารณสุขของไทย มีลักษณะทางคลินิกบางอย่างที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างทั้งสองโรค ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการจัดทำแนวทางการดูแลรักษากลุ่มโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดย Global Initiative for Asthma (GINA) และ Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD) ซึ่งใช้ลักษณะกลุ่มอาการต่างๆเป็นตัวคัดแยกผู้ป่วยออกเป็นโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษานี้จัดทำเพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าว
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากคลินิกโรคหลอดลม ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึงพฤศจิกายน 2559 ข้อมูลอาการทางคลินิกเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามร่วมกับเก็บข้อมูลผลการตรวจสมรรถภาพปอดและข้อมูลจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 169 ราย เข้าร่วมในการศึกษานี้ พบความชุกของโรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 42.60, 41.15 และ 11.24 ตามลำดับ โดยในผู้ป่วย 19 ราย ที่เข้าได้กับกลุ่มโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 7 ราย (ร้อยละ36.84) เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมาก่อน และ 12 ราย (ร้อยละ 63.16) เคยได้รับการวินิจฉัยโรคหืดมาก่อน อายุเฉลี่ย (± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของผู้ป่วยโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือ 62 (± 9.78) ปี พบมีผู้ป่วย 8 ราย (ร้อยละ 42.11) ในกลุ่มนี้เคยสูบบุหรี่มาก่อน และ 16 ราย (ร้อยละ 84.21) มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย ค่าเฉลี่ย (±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน)ของปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่หลังจากพ่นยาขยายหลอดลมในการตรวจสมรรถภาพปอดคือ 1.72 (± 0.35) ลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 71 (±20.58) เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิง
สรุป: พบความชุกของโรคที่มีความคาบเกี่ยวกันระหว่างโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณร้อยละ 11ควรจำแนกผู้ป่วยกลุ่มนี้ออกจากโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากการรักษาจำเพาะของแต่ละโรคนั้นมีความแตกต่างกัน