Satisfaction with Anesthesia Service of Scrub Nurse and Medical Personnel at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province

Authors

  • Nathee Maneewan
  • Sirirat Tribuddharat
  • Thepakorn Sathitkarnmanee
  • Chakthip Suttinarakorn
  • Parinda Promkhote
  • Kotchakorn Palachewa

Keywords:

Satisfaction; scrub nurse; medical personnel; anesthesia service; quality improvement; ความพึงพอใจ; พยาบาลส่งเครื่องมือแพทย์; เจ้าหน้าที่การแพทย์; งานวิสัญญี; การพัฒนางาน

Abstract

Background and Objective: Customer satisfaction is one of the indicators for quality assurance of the department of Anesthesiology, Scrub nurses and medical personnels are internal customers of whom satisfaction level has not been assessed for long time. The objective of current study was to determine satisfaction level of scrub nurses and medical personnels regarding anesthetic service during perioperative period. We also identified the subjects that need continuous quality improvement.
Methods: This was a prospective, descriptive study performed during May and July, 2016. The inclusion criteria were scrub nurses and medical personnels who were related to anesthetic service at Srinagarind hospital. We distributed 60 questionnaires. The questionnaire, with score 1 to 4, comprised questions regarding satisfaction with anesthetic service during preoperative, intra operative, and immediate postoperative period. It was validated by 2 senior anesthesiologists. The data were analyzed and presented as number (%) and mean ± SD using SPSS 16 program.
Results: We received 56 responses. During preoperative period, the satisfaction scores were 3.13 ± 0.76 to 3.37 ± 0.56. The scores during intraoperative period were 3.11 ± 0.49 to 3.52 ± 0.50. The scores were 3.18 ± 0.47 to 3.53 ± 0.50 during immediate postoperative period. The subjects that need quality improvement were: case cancellation; cooperation during setting and arranging operation schedule; participation during sign in and time out; cooperation during case discharge from operating theatre; understanding regarding details of operation; and infectious control in post-anesthetic care unit (PACU).
Conclusions: The overall satisfaction of scrub nurses and medical personnel regarding anesthetic service was high. However, there are certain subjects that need improvement.

ความพึงพอใจของพยาบาลส่งเครื่องมือแพทย์และเจ้าหน้าที่การแพทย์ที่มีต่องานวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
นที มณีวรรณ์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, จักรทิพย์ สุทธินรากร, ปริณดา พรหมโคตร์, กชกร พลาชีวะ
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดงานพัฒนาคุณภาพของภาควิชาวิสัญญีวิทยา พยาบาลส่งเครื่องมือแพทย์และเจ้าหน้าที่การแพทย์เป็นผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับบุคลากรวิสัญญี ซึ่งไม่ได้มีการสำรวจความพึงพอใจมาเป็นเวลานาน คณะผู้วิจัยต้องการศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลส่งเครื่องมือแพทย์และเจ้าหน้าที่การแพทย์ต่อการทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่วิสัญญี รวมทั้งค้นหาหัวข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาชนิดศึกษาไปข้างหน้า ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ศึกษาในกลุ่มพยาบาลส่งเครื่องมือแพทย์และเจ้าหน้าที่การแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับบุคลากรวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 60 ชุด แบบสอบถามประกอบด้วย ความพึงพอใจในระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัดทันทีในห้องพักฟื้นโดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงของเนื้อหาจากวิสัญญีแพทย์ 2 ท่าน มีค่าคะแนน 1 ถึง 4 และนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS v.16
ผลการศึกษา: ได้รับแบบสอบถามคืน 56 ชุด มีความพึงพอใจต่อการทำงานร่วมกับบุคลากรวิสัญญีในระยะก่อนทำผ่าตัด/หัตถการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.13 ± 0.76 ถึง 3.37 ± 0.56 สำหรับระยะระหว่างทำผ่าตัด/หัตถการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.11 ± 0.49 ถึง 3.52 ± 0.50 และระยะหลังผ่าตัดทันทีในห้องพักฟื้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.18 ± 0.47 ถึง 3.53 ± 0.50 หัวข้อที่ควรปรับปรุงได้แก่ ความเหมาะสมในการตัดสินใจงดให้บริการผู้ป่วยตามตารางนัดทำผ่าตัด/หัตถการ การประสานงานและติดต่อเพื่อนัดทำผ่าตัด/หัตถการผู้ป่วยในแต่ละวันตามตารางนัดทำหัตถการปกติภายในเวลา 16.00 น. การประสานงานและติดต่อเพื่อจัดเลื่อนลำดับผู้ป่วยในการให้บริการอย่างเหมาะสม ความร่วมมือในการทำ sign in และ time out การติดต่อประสานงานที่ดีก่อนส่งกลับหอผู้ป่วย/กลับบ้าน (กรณีไม่ผ่านห้องพักฟื้น) มีความเข้าใจในหัตถการของแพทย์ และทราบขั้นตอนในการทำผ่าตัด/หัตถการที่ยากหรือไม่คุ้นเคย และความเหมาะสมในการบริหารจัดการผู้ป่วยติดเชื้อที่ห้องพักฟื้น
สรุป: ความพึงพอใจโดยรวมของพยาบาลส่งเครื่องมือแพทย์หรือเจ้าหน้าที่การแพทย์ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรวิสัญญีอยู่ในระดับพึงพอใจมากถึงมากที่สุด แต่มีหลายหัวข้อที่ควรได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

Downloads

Published

2018-02-12

How to Cite

1.
Maneewan N, Tribuddharat S, Sathitkarnmanee T, Suttinarakorn C, Promkhote P, Palachewa K. Satisfaction with Anesthesia Service of Scrub Nurse and Medical Personnel at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province. SRIMEDJ [Internet]. 2018 Feb. 12 [cited 2024 Dec. 25];33(1):79-84. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/111626

Issue

Section

Original Articles