Associations between Airway Inflammation and Indices of Sleep Apnea Severity in Obstructive Sleep Apnea Patients

Authors

  • Khanaphaphon Wuttiumporn
  • Orapin Pasurivong
  • Watchara Boonsawat
  • Justin T. Reese
  • Banjamas Intarapoka
  • Wilaiwan Khrisanapant

Keywords:

Obstructive sleep apnea; Airway inflammation; ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น; การอักเสบของทางเดินหายใจ

Abstract

Background and Objectives: Obstructive sleep apnea (OSA) is a complex disorder that consists of recurrent upper airway collapse, intermittent hypoxia (IH), and sleep fragmentation. Previous studies suggest that IH may play a role in airway inflammation. Fractional exhaled nitric oxide (FeNO) levels have been used as markers for airway inflammation. This study investigated the association of sleep apnea severity with airway inflammation in patients with OSA.

Methods: Forty OSA patients diagnosed with medical specialists by the polysomnography (PSG) and submitted to sleep studies were evaluated. FeNO levels were measured following PSG.

Results: The average apnea hypopnea index (AHI) of patients was 37.8 ± 5.8 /hour, arousal index 56.7 ± 14.5 /hour, apnea index 19.0 ± 9.4 /hour and nadir oxygen saturation was 87 ± 4 %. The average level of FeNO was 27.7 ± 2.2 ppb. FeNO levels were positively correlated with AHI (R2 = 0.3585, p <0.001), arousal index (R2 = 0.2598, p < 0.001), and apnea index (R2= 0.1719, p < 0.01).

Conclusion: This study demonstrates that airway inflammation was associated with OSA severity indices. Further study should be conducted in mild to severe OSA patients in order to definitely establish the association between airway inflammation and sleep apnea indices.

ความสัมพันธ์ระหว่างการอักเสบของทางเดินหายใจกับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
คณปพน วุฒิอัมพร1, อรพิน ผาสุริย์วงษ์1, วัชรา บุญสวัสดิ์2, Justin T. Reese3, เบญจมาศ อินทรโภคา4,
วิไลวรรณ  กฤษณะพันธ์ 1*
1 ภาควิชาสรีรวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น, ประเทศไทย
2 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น, ประเทศไทย
3 จังหวัดหนองคาย, ประเทศไทย

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea, OSA) เป็นกลุ่มอาการที่ซับซ้อนประกอบด้วย การอุดกั้นของทางเดินหายใจ ภาวะพร่องออกซิเจนชั่วคราว และ การนอนหลับที่ไม่ต่อเนื่อง จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าภาวะพร่องออกซิเจนชั่วคราวนี้ อาจมีความสัมพันธ์ต่อการอักเสบของทางเดินหายใจ ซึ่งการวัดปริมาณไนตริกออกไซด์ในลมหายใจออกเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ประเมินการอักเสบของทางเดินหายใจ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น กับการอักเสบของทางเดินหายใจ

วิธีการศึกษาศึกษากลุ่มผู้ป่วย OSA จำนวน 40 รายที่ได้รับการตรวจการนอนหลับและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และประเมินไนตริกออกไซด์จากลมหายใจออก ภายหลังจากการตรวจการนอนหลับ

ผลการศึกษา: พบว่า ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วเฉลี่ย 37.8 ± 5.8 /ชม. ดัชนีการตื่นเร้า 56.7 ± 14.5 /ชม. ดัชนีการหยุดหายใจ 19.0 ± 9.4 /ชม. ความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำสุดขณะนอนหลับ 87 ± 4% ระดับไนตริกออกไซด์ในลมหายใจออกเฉลี่ย 27.7 ± 2.2 ppb การอักเสบของทางเดินหายใจมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับดังนี้ ดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว(R2 = 0.3585, p <0.001) ดัชนีเกิดการตื่นเร้า (R2 = 0.2598, p < 0.001) และดัชนีการหยุดหายใจ (R2= 0.1719, p < 0.01)

สรุป: การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอักเสบของทางเดินหายใจและระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ที่มีความรุนแรงระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ดังกล่าวที่ชัดเจนยิ่งขึ้น


4 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประเทศไทย

 

Downloads

Published

2018-03-13

How to Cite

1.
Wuttiumporn K, Pasurivong O, Boonsawat W, T. Reese J, Intarapoka B, Khrisanapant W. Associations between Airway Inflammation and Indices of Sleep Apnea Severity in Obstructive Sleep Apnea Patients. SRIMEDJ [Internet]. 2018 Mar. 13 [cited 2024 Apr. 20];33(2):102-9. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/115295

Issue

Section

Original Articles