The Correlation between Glutathione S-Transferase Theta-1(GSTT1) Polymorphism in Relation to Partners’ Smoking and Cervical Cancer Risk

Authors

  • Sophida Phuthong
  • Wannapa Settheetham-Ishida
  • Sitakan Natphopsuk
  • Dariwan Settheetham

Keywords:

พันธุกรรมของจีน; spuamouscell carcinoma

Abstract

Background and Objectives: Genetic polymorphism in glutathione S-transferases theta-1 (GSTT1) gene has involved in detoxification of carcinogens derived from tobacco smoke and considered as a potential modifier of individual cancer susceptibility. The present study was to investigate the role of GSTT1 polymorphism and partners’ smoking status on cervical cancer risk.

Methods: The GSTT1 polymorphism was determined by multiplex PCR analysis in 204 SCCA patients compared with 204 age-matched healthy controls.

Results: No significant difference was observed in the distribution of GSTT1 genotypes in both patients and controls. Among subjects who had partners with 40 years and over of smoking duration, a significant increase in cervical cancer risk was observed in women carrying heterozygous (+/-) genotype with adjusted OR of 9.54 (95%CI = 1.19-76.51, p = 0.034).

Conclusion: This result demonstrates the interaction effect between GSTT1 polymorphism and timing of tobacco smoke exposure on cervical cancer increased susceptibility among Thai population.

ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีนGlutathione S-transferase theta-1 (GSTT1)ร่วมกับการสูบบุหรี่ของคู่นอนกับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก
โสภิดา ภู่ทอง1, วรรณภา เศรษฐีธรรม-อิชิดะ1*, ศีตกานต์ นัดพบสุข2, ดาริวรรณ  เศรษฐีธรรม3
1ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักการและวัตถุประสงค์: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีน glutathione S-transferases theta-1 (GSTT1) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การทำลายสารก่อมะเร็งที่พบในบุหรี่แตกต่างกันซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งในแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีนGSTT1 ต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีคู่นอนสูบบุหรี่

วิธีการศึกษา: ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีน GSTT1 ด้วยวิธี multiplex PCR ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกชนิด squamouscell carcinoma จำนวน 204 รายและเปรียบเทียบกับกลุ่มสตรีที่มีสุขภาพดีที่มีอายุใกล้เคียงกันจำนวน 204 ราย

ผลการศึกษา: การศึกษานี้ ไม่พบความแตกต่างระหว่างจีโนไทป์ของGSTT1ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสตรีที่มีคู่นอนที่มีระยะเวลาการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป พบว่าสตรีที่มีจีโนไทป์แบบ heterozygous present (+/-) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น 9.54 เท่า เมื่อเทียบกับสตรีที่มีจีโนไทป์แบบ homozygous present (+/+) (95%CI = 1.19-76.51, p = 0.034)

สรุป: การศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของหลากหลายทางพันธุกรรมของจีน GSTT1 ร่วมกับระยะเวลาการสูบบุหรี่ของคู่นอนมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย


3 ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาขอนแก่น

 

 

Downloads

Published

2018-03-13

How to Cite

1.
Phuthong S, Settheetham-Ishida W, Natphopsuk S, Settheetham D. The Correlation between Glutathione S-Transferase Theta-1(GSTT1) Polymorphism in Relation to Partners’ Smoking and Cervical Cancer Risk. SRIMEDJ [Internet]. 2018 Mar. 13 [cited 2024 Dec. 25];33(2):107-12. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/115309

Issue

Section

Original Articles