Health Promotion behaviors of Elderly Living in an Urban Community of Khon Kaen Province

Authors

  • Piyathida tn Kuhirunyara
  • Amornrat Ratanasiri
  • Bangonsri Jindawong
  • Pairin Natiboot
  • Lamduan Watchanapan
  • Chanakarn Junthakhun
  • Cholatip Supapinij

Keywords:

Elderly; health promoting behaviors

Abstract

Background and Objective: Health promotion behavior is an important factor improves long life and achieved the better quality of life in old age. This study aimed to determine the proportion of proper health promotion behavior and related factors among urban elderly in Khon Kaen province.

Methods: A descriptive study was conducted. The study population was elderly who 60 and over living in the responsible areas of Ban Ped health promotion hospital. Sample size calculation was based on simple random sampling required 604 samples. The study tool was questionnaire which divided into 2 parts: general information and Health Promotion Life Style with Alpha Cronbach 0.92. The statistics used were frequency percentage mean SD Chi-square 95%CI and Odds Ratio.

Results: Most of elderly were female and age 60-79 year old. This study found the proportion of proper health promotion behavior among the elderly was 59.74 % (95%CI 55.60-63.79). In term of health promotion dimension, the highest mean score was the spiritual health behaviors (mean 3.17 SD 0.58), the lowest mean score was physical activities and health responsibility, (x = 2.48, SD = 0.70, x = 2.72, SD = 0.54). Factors related proper health promotion behaviors were having a caregiver, home visit by health care professional, health promotion trained, received health promotion education via community broadcasting tower, television and radio (p<0.05).

Conclusion: Haft of the elderly having proper health promotion behaviors. Health promotion behaviors development program in term of physical activities and health responsibility among the elderly by co-operating with the family caregiver, health care professional home visit through health education by community media recommended.

พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอาศัยในชุมชนชานเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์1*, อมรรัตน์ รัตนสิริ1, บังอรศรี จินดาวงค์1, ไพรินทร์ เนธิบุตร1, ลำดวน           วัชนะปาน2, ชนกานต์ จันทะคุณ2, ชลทิพย์ สุภาพินิจ2

1ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเป็ด ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี อายุยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสัดส่วนของพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตชานเมือง จังหวัดขอนแก่น

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรศึกษาคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเป็ด จังหวัดขอนแก่น คำนวณขนาดตัวอย่างได้จำนวน 604 ราย และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินแบบแผนการส่งเสริมสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยความเชื่อมั่น = 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ Odds ratio

ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-79 ปี สถานภาพสมรสคู่ สัดส่วนของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 59.74 (95%CI 55.60-63.79) เมื่อพิจารณาตามมิติของการส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ด้านจิตวิญญาณมีคะแนนเฉลี่ยสูง (× = 3.17, SD = 0.58) ขณะที่มิติด้านการทำกิจกรรมออกกำลังกายและความรับผิดชอบสุขภาพมีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยตามลำดับ (× = 2.48, SD = 0.70), (× = 2.72, SD = 0.54) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ได้แก่ การมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ การเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การอบรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผ่านสื่อหอกระจายข่าว โทรทัศน์ และวิทยุ

สรุป: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุเกือบร้อยละ 50 มีความเหมาะสม ควรพัฒนาโปรแกรมพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านกิจกรรมออกกำลังกายและความรับผิดชอบสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและผู้ดูแลร่วมกับกิจกรรมเยี่ยมบ้าน การฝึกอบรมตลอดจนการให้สุขศึกษาผ่านทางสื่อต่างๆ ในชุมชน

Downloads

Published

2018-03-16

How to Cite

1.
Kuhirunyara P tn, Ratanasiri A, Jindawong B, Natiboot P, Watchanapan L, Junthakhun C, Supapinij C. Health Promotion behaviors of Elderly Living in an Urban Community of Khon Kaen Province. SRIMEDJ [Internet]. 2018 Mar. 16 [cited 2024 Dec. 25];33(2):153-60. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/115767

Issue

Section

Original Articles