Melatonin Can Ameliorate Memory Deficits Induced By Methotrexate Chemotherapy in Adult Rats
Keywords:
melatonin; methotrexate; memory deficit; spatial memory; non-spatial memory; เมลาโทนิน; เมโทเทรกเซท; ความจำบกพร่อง; ความจำชนิดสเปเชียล; ความจำชนิดนอนสเปเชียลAbstract
Background and Objectives: Methotrexate is commonly used as chemotherapy for cancer patients. Previous studies reported that methotrexate reduces cell proliferation and survival in rats. Melatonin is a neuro-hormone and produced by the pineal gland. Melatonin is a free radical scavenger and induces neurogenic process. Therefore, this study aimed to investigate effects of melatonin that prevents and recovers on memory deficits caused by methotrexate chemotherapy in adult rats.
Methods: Male Sprague dawley rats were divided into 6 groups, including control, melatonin, methotrexate, preventive, recovery and throughout groups. Rats were treated with methotrexate (75 milligram/kilogram) on day 8 and day 15 or together with melatonin (8 milligram/kilogram/day) for 15 days (melatonin, preventive and recovery groups) and 30 days (throughout group). Novel object location and novel object recognition tests were used to determine spatial and non-spatial memories, respectively.Data from the behavioral tests were calculated and converted to discrimination index.
Results: In novel object location and novel object recognition tests, these studies found that total exploration time were not significant in different among groups (p>0.05). Moreover, discrimination index in control, melatonin, preventive, recovery and throughout groups were significantly different as compared to the methotrexate group (p<0.05).
Conclusion: Melatonin can prevent and recover spatial and non-spatial memory deficits caused by methotrexate chemotherapy in adult rats.
เมลาโทนินช่วยรักษาความจำบกพร่องหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดเมโทเทรกเซทในหนูแรทโตเต็มวัย
สุชาดา ครุฑศรี1, กรรวี สุวรรณโคตร1, อนุสรา อารณะโรจน์1,ภรณ์ทิพย์ ชัยสว่าง1, วนัสนันท์ แป้นนางรอง1, วรรณี ชัยจรูญคณารักษ์1, จริยา อำคา เวลบาท1,2*
1ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: เมโทเทรกเซท (methotrexate) เป็นยาเคมีบำบัดที่นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า methotrexate มีผลในการลดการสร้างและการอยู่รอดของเซลล์ประสาทในหนูแรท เมลาโทนิน (melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไพเนียล ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ อีกทั้งมีผลต่อกระบวนการสร้างเซลล์ประสาทใหม่อีกด้วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ melatonin ในการป้องกันและฟื้นฟูความจำบกพร่องหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด methotrexate ในหนูแรทโตเต็มวัย
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ใช้หนูแรทสายพันธุ์ Sprague dawley เพศผู้ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มcontrol, melatonin, methotrexate, preventive, recovery และ throughout หนูแรทที่ถูกชักนำให้เกิดความจำเสื่อมด้วย methotrexate (75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ในวันที่ 8 และ 15 ของการทดลอง (กลุ่ม methotrexate) หรือได้รับร่วมกับmelatonin (8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน) เป็นระยะเวลา 15 วัน (กลุ่ม melatonin, preventive, recovery) และ 30 วัน (กลุ่ม throughout) หลังจากนั้นทำการทดสอบความจำชนิด สเปเชียล และนอนสเปเชียล (spatial, non-spatial) โดยใช้ novel object location และ novel object recognition ตามลำดับ และนำมาคำนวณเป็นค่า discrimination index
ผลการศึกษา: จากการศึกษานี้ในการทดสอบ novel object location และ novel object recognition พบว่าค่า total exploration time เมื่อเปรียบเทียบกันในหนูแรทแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และหนูแรทในกลุ่ม control,melatonin, preventive, recovery และ throughout มีค่าdiscrimination index สูงกว่ากลุ่ม methotrexate อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป: melatonin สามารถป้องกันและฟื้นฟูความจำชนิด spatial และ non-spatial ที่บกพร่องหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด methotrexate ในหนูแรทโตเต็มวัย