Nutritional Status of Surgical and Orthopedic Patients
Abstract
Objective: To assess nutritional status of Surgical and Orthopedic Nursing Department patients who underwent surgeries.
Methods: This descriptive research was conducted by collecting data from patients underwent surgeries through 1) General information questionnaires, 2) Nutrition screening form, and 3) Nutrition status assessment and the research had done for 4 months in Surgical and Orthopedic Nursing Department of a University Hospital. Statistic was analyzed using frequency, average, and percentage.
Results : The studied subjects were 367 patients and most of them were male 50.14% and 83.11% of patients had regular food, 35.83% had gastrointestinal disease. From nutrition screening, 15.80% of patients were at high risk of malnutrition. These comprised of 58 patients which 51.72% were male and 65.52% aged lower than 60 years old. 48.28% had gastrointestinal disease. The assessment of nutritional status measured by MAC, TSF and MAMC in 58 patients found that their malnutrition status were at moderate – severe level with percentage of 49.99 and 41.39, respectively.
Conclusions: The study showed that 15.80 percent of patients who underwent operation were at high risk of malnutrition, causing delay of post ops recovery. Thus Surgical and Orthopedic nurses should assess patient’s nutritional status, particularly in those who undergo gastrointestinal surgery. It is recommended to use various assessment tools.
ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและและออร์โธปิดิกส์
ธารินี เพชรรัตน์1*, พัสดา ภักดีกำจร1, จิตอารีย์ ตันติยาสวัสดิกุล1, บัณฑิตา จาดนอก1, ศจีมาส
แก้วโคตร1, ลดาวัลย์ บูรณะปิยะวงศ์1, อุราวดี เจริญไชย1, ดาราวรรณ อักษรวรรณ1, พลากร สุรกุลประภา2
1 แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ ที่เข้ารับการผ่าตัด
วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงบรรยาย เก็บข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ และ 3) แบบประเมินภาวะโภชนาการ ใช้เวลาศึกษา 4 เดือน ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดจำนวน 367 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 50.14 รับประทานอาหารธรรมดาร้อยละ 83.11 ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารร้อยละ 35.83 ผลการคัดกรองภาวะโภชนาการพบว่า ร้อยละ 15.80 ของผู้ป่วย มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ คิดเป็น 58 คน โดยพบว่า เป็นชายร้อยละ 51.72 อายุน้อยกว่า 60 ปี ร้อยละ 65.52 โดยมีโรคระบบทางเดินอาหารร้อยละ 48.28 และผลการประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้เครื่องมือวัด เส้นรอบกึ่งกลางแขน (MAC) ความหนาไขมันใต้ผิวหนัง (TSF) และความหนากล้ามเนื้อใต้วงแขน (MAMC) ในผู้ป่วย 58 คนนี้ พบว่ามีภาวะทุพโภชนาการในระดับปานกลาง และรุนแรง ร้อยละ 49.99 และ 41.39 ตามลำดับ
สรุป : ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ร้อยละ 15.80 มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งจะมีผลให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดล่าช้า พยาบาลศัลยกรรมฯ จึงควรมีความตระหนักและพัฒนาระบบการประเมินภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดทางเดินอาหาร โดยใช้วิธีการประเมินหลายๆ อย่างร่วมกัน
References
2. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2556 เล่มที่ 18. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2556.
3. จุมพล วิลาศรัศมี, สุเมธ ธีรรัตน์กุล, เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร, สมพล เพิ่มพลโกศล, บรรณาธิการ. พื้นฐานศัลยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
4. Suri MP, Patel CK, Dhingra VJ, Raibagkar SC, Mehta DR. Nutrition in burns: a practical solution to a difficult problem. Indian J Plast Surg 2006; 39: 62–4.
5. Prins A. Nutritional management of the burn patient. South Afr J Clin Nutr 2009; 22: 9–15.
6. Lassen K, Coolsen MM, Slim K, Carli F, de Aguilar-Nascimento JE, Schäfer M, et al. Guidelines for perioperative care for pancreaticoduodenectomy: Enhanced Recovery After Surgery (ERAS®) Society recommendations. Clin Nutr 2012; 31: 817–30.
7. Gustafsson UO, Scott MJ, Schwenk W, Demartines N, Roulin D, Francis N, et al. Guidelines for perioperative care in elective colonic surgery: Enhanced Recovery After Surgery (ERAS®) Society recommendations. Clin Nutr 2012; 31: 783–800.
8. Mukhopadhyay S, Paul C, Thander K, Gorai J, Purakayet M, Biswas S, et al. Assessment of nutrition in cancer patients and its effect on treatment outcome—a study from a developing country [abstract]. J Clin Oncol 2006; 24 (18 Suppl): 6125.
9. Mendes J, Alves P, Amaral TF. Comparison of nutritional status assessment parameters in predicting length of hospital stay in cancer patients. Clin Nutr 2014; 33: 466–70.
10. หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 ค โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2556.
11. วิกิพีเดีย. ศัลยศาสตร์. [ออนไลน์]. 2558 [อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2559]. จาก https://goo.gl/uN2evR
12. ปวงกมล กฤษณบุตร, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการ ผ่าตัดช่องท้องในระยะ 1 สัปดาห์แรก. วารสารสภาการพยาบาล 2555; 27: 39–48.
13. Sun Z, Kong XJ, Jing X, Deng RJ, Tian ZB. Nutritional risk screening 2002 as a predictor of postoperative outcomes in patients undergoing abdominal surgery: a systematic review and meta-analysis of prospective cohort studies. PloS ONE 2015; 10: e0132857.
14. ปิ่นมณี เรี่ยวเดชะ, พรรณวดี พุธวัฒนะ. การคัดกรองภาวะทุพโภชนาของผู้สูงอายุไทยที่เข้ารับการักษาในโรงพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2550; 13: 259–71.
15. รังสรรค์ ภูรยานนทชัย. การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยวิกฤต. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549; 24: 425–43.
16. ประสงค์ เทียนบุญ. การประเมินภาวะโภชนาการ [ออนไลน์]. 2551 [อ้างเมื่อ 10 ตุลาคม 2559]. จาก https://goo.gl/6KpWFS
17. The British Association for Parenteral and Enteral Nutrition. Nutritional assessment [online]. 2016 May 18 [cited Oct 10,2017]. Available from: https://goo.gl/kczcFU