Satisfaction with Anesthesia Services of Surgeon at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province

Authors

  • Yuthida Chaikree
  • Sirirat Tribuddharat
  • Thepakorn Sathitkarnmanee
  • Chakthip Suttinarakorn
  • Apinya Unchulee
  • Maneerat Thananun

Abstract

Background and Objective: Surgeons are internal customers of the department of Anesthesiology. The satisfaction of surgeon is a key quality indicator leading to multidisciplinary quality improvement. The objective of this study was to assess the surgeon satisfaction and identify the factor that need to be improved.

Methods: This was a prospective, descriptive study performed during May and July, 2016. The inclusion criteria were surgical staffs and residents year I-IV at Srinagarind hospital. We distributed 110 questionnaires. The questionnaire included 2 parts; Part 1 contained demographic data, and Part 2 covered level of satisfaction with score 1 to 4, as well as open-ended comments on subjects that needed improvement. It was validated by 2 senior anesthesiologists. The data were analyzed and presented as number (%) and mean ± SD using SPSS 16 program.

Results: We received 102 responses. The satisfaction score with standard preoperative visit and preparation service was high, from 3.63 ± 0.49 to 3.72 ± 0.47. The score for human relationship and the case schedule setting between 4 and 7 PM including communicating with the responsible anesthesiologist were not satisfactory from 3.33 ± 0.66 to 3.35 ± 0.70. The score for satisfaction during intraoperative period was also high (3.78 ± 0.42) regarding anesthesiologists’ competency and was low about reason for case cancellation (3.60 ± 0.60) and promptness of service (3.59 ± 0.61). At post-anesthetic care unit (PACU), the score for the appropriate management was high (3.72 ± 0.45). As for postoperative period, the score was high for postoperative visit (3.71 ± 0.46) and pain management (3.66 ± 0.52).

Conclusion: The overall perioperative satisfaction score of surgeon to anesthesia services in Srinagarind hospital was good and very good. The subjects that need improvement were: communication for case schedule setting between 4 and 7 PM including communicating with the responsible anesthesiologist, reason for case cancellation and promptness of service.

ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดที่มีต่องานวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น

ยุธิดา ชัยกรี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, จักรทิพย์ สุทธินรากร, อภิญญา อัญชุลี, มณีรัตน์ ธนานันต์

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: แพทย์ผ่าตัดเป็นผู้รับบริการภายใน (internal customer) ของภาควิชาวิสัญญีวิทยาที่ต้องให้ความสำคัญ และทำให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาคุณภาพงานร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ปัญหาและความต้องการของแพทย์ผ่าตัดเกี่ยวกับงานวิสัญญี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2559 เกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์ผ่าตัดทั้งอาจารย์แพทย์ แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1-4 ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 110 ชุด แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน และตอนที่ 2 ระดับความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดที่มีต่องานวิสัญญีรวมถึงคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่พบในงานวิสัญญี แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงของเนื้อหาจากวิสัญญีแพทย์อาวุโส 2 ท่าน โดยมีค่าคะแนน 1 ถึง 4 และนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS 16

ผลการศึกษา: ได้รับแบบสอบถามคืน 102 ชุด ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดที่มีต่องานวิสัญญีในระยะก่อนผ่าตัด พบว่าบุคลากรวิสัญญีให้บริการตรวจเยี่ยมและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระดับ 3.63 ± 0.49 ถึง 3.72 ± 0.47 และพบว่าความพึงพอใจต่ำสุดในระบบการประสานงานกับแพทย์ผ่าตัดและ การติดต่อเพื่อนัดผ่าตัดผู้ป่วยเพิ่มภายหลังเวลา 16.00 น.โดยการโทรศัพท์ถึงแพทย์เจ้าของห้องภายในเวลา 19.00 น. ที่ระดับ 3.33 ± 0.66 ถึง 3.35 ± 0.70 ระยะระหว่างผ่าตัดแพทย์ผ่าตัดมีความพึงพอใจในความรู้ความสามารถการให้บริการได้ถูกต้องเหมาะสม ที่ระดับ 3.78 ± 0.42 และพบว่าความพึงพอใจต่ำสุดคือความเหมาะสมในการตัดสินใจงดให้บริการผู้ป่วยตามตารางนัดผ่าตัดที่ระดับ 3.60 ± 0.60 ความราบรื่นและรวดเร็วที่ระดับ 3.59 ± 0.61 ในห้องพักฟื้นพบว่าความพึงพอใจในการรายงานอาการผิดปกติของผู้ป่วยมากที่สุดคือ 3.72 ± 0.45 และระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดคือ การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยภายหลังจากใช้บริการวิสัญญีภายใน 24 ชั่วโมง และตรวจเยี่ยมต่อเนื่อง 72 ชั่วโมง ในรายที่มีปัญหาทางวิสัญญี ที่ระดับ 3.71 ± 0.46 และการดูแลความปวดระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย ที่ระดับ 3.66 ± 0.52

สรุป: ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อบริการวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในระยะก่อน ระหว่างและหลังผ่าตัด พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการประสานงานและติดต่อเพื่อนัดผ่าตัดผู้ป่วยเพิ่มภายหลังเวลา 16.00 น. ปรับปรุงแนวทางต่างๆให้เหมาะสมในการงดให้บริการผู้ป่วยตามตารางนัดผ่าตัดและให้เกิดความราบรื่น รวดเร็วในการให้บริการ

References

1. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559]. สืบค้นจาก http://www.nursing.go.th/?page_id=2489.
2. อนุวัติ ศุภชุติกุล. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพคู่มือและการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2543.
3. ฤทธิชัย พุทธประสิทธิ์, เทพกร สาธิตการมณี, เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง, จิรพงศ์ สุวรรณบุญฤทธิ์, มณีรัตน์ ธนานันต์. ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วิสัญญีสาร 2548; 31: 198-205.
4. จริยา เลิศอรรฆยมณี, ประดิษฐ สมประกิจ, อุบลรัตน์ สันตวัตร. งานวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไพศาลศิลป์การพิมพ์; 2543.
5. บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. หน้า 1-7. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559]. สืบค้นจาก http://www.watpon.com/boonchom/trans.pdf.
6. บุญชม ศรีสะอาด, บุญส่ง นิลแก้ว. "การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง" วารสารการวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม. 2535; 3: 22-5. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559]. สืบค้นจาก https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/23.pdf.
7. Le May S, Dupuis G, Harel F, Taillefer MC, Dube S, Hardy JF. Clinimetric scale to measure surgeons' satisfaction with anesthesia services. Can J Anaesth 2000; 47: 398-405.
8. วัณทนา วงค์คำจันทร์. ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2553; 1: 19-24.
9. วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, อำพรรณ จันทโรกร, ธวัช ชาญชญานนท์. ความพึงพอใจของศัลยแพทย์ต่อการให้บริการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 27: 118-24.

Downloads

Published

2018-05-05

How to Cite

1.
Chaikree Y, Tribuddharat S, Sathitkarnmanee T, Suttinarakorn C, Unchulee A, Thananun M. Satisfaction with Anesthesia Services of Surgeon at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province. SRIMEDJ [Internet]. 2018 May 5 [cited 2024 Nov. 25];33(3):272-8. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/122242

Issue

Section

Original Articles