ความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
Health literacy; Hypertension; Hypertensive patient; Urban community; ความรอบรู้; ความเชื่อด้านสุขภาพ; การปฏิบัติตน; ชุมชนสามเหลี่ยมจังหวดขอนแก่น; โรคความดันโลหิตสูงAbstract
หลักการและวัตถุประสงค์: ประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24.7 ในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน 131,248 ราย ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาสัดส่วนระดับความรอบรู้เรื่องความดันโลหิตสูง พฤติกรรมสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าว
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชนสามเหลี่ยม 810 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ขนาดตัวอย่าง 104 ราย ใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอเป็นสัดส่วน มัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด 95%CI และ ordinal chi-square
ผลการศึกษา: อัตราการตอบกลับร้อยละ 84.6 พบผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรอบรู้เรื่องความดันโลหิตสูงในระดับสูง (ร้อยละ 42, 95%CI 31.8 - 53.0) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเข้าใจทั่วไปของโรคในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.0 มีการรับรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อความดันโลหิตในระดับสูงร้อยละ 45.45 และมีการรับรู้ความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนในระดับสูงร้อยละ 79.54 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับปานกลาง(ร้อยละ 47.7, 95%CI 37.1 - 58.6) ทั้งนี้ความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ (p=0.896)
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูงแต่มีระดับพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง และความรอบรู้เรื่องความดันโลหิตสูงกับระดับพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ