Nursing care in pressure sore

Authors

  • รุ่งทิวา ชอบชื่น

Abstract

แผลกดทับ (pressure sore, pressure ulcer) เกิดจากการตายของเซลล์ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เนื่องจากแรงกดทับ แรงเสียดทาน/แรงเสียดสี (friction) และแรงเฉือน/แรงดึงรั้ง (shearing) แผลกดทับเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเรื้อรัง เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวและกิจกรรมลดลงจากภาวะของโรคและแผนการรักษาของแพทย์  และยังพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังอาจพบในผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งแผลกดทับจะพบได้ในบุคคลทุกกลุ่มวัย แต่มีแนวโน้มพบมากขึ้นในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ1

แผลกดทับเป็นตัวชี้วัดในเรื่องคุณภาพของการพยาบาล และเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของหน่วยงาน การดูแลและป้องกันการเกิดแผลกดทับต้องอาศัยการจัดการในหลายๆด้านให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การดูแล การจัดหาอุปกรณ์ลดแรงกดทับ เป็นต้น ปัจจุบัน มีวิวัฒนาการในการดูแลรักษาพยาบาล ป้องกันการเกิดแผลกดทับ ซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการนำมาใช้ในระบบบริการรักษาพยาบาลอย่างหลากหลาย ในขณะที่ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันดับแรกและทวีความรุนแรงมาก ซึ่งโรคเรื้อรังมักทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยผู้สูงอายุ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้มากขึ้น ทั้งด้านสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ ระดับกิจกรรม การเคลื่อนไหว และภาวะเปียกชื้นของผิวหนัง การเกิดแผลกดทับจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้เวลาในการอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และผลเสียที่ประเมินค่าไม่ได้คือ เรื่องของจิตใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ป่วย และผู้ใกล้ชิด

Downloads

How to Cite

1.
ชอบชื่น ร. Nursing care in pressure sore. SRIMEDJ [Internet]. 2013 Nov. 27 [cited 2024 Dec. 22];28(4):41-6. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/14754