การติดตามผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในประชากรกลุ่มเสี่ยง
คำสำคัญ:
โปรแกรมสุขศึกษา; แรงสนับสนุนทางสังคม; การควบคุมระดับความดันโลหิต; กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่ก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ โดยมักไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ทำให้คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ทราบว่าตนเป็นจึงไม่ได้ให้ความสนใจในการดูแลตนเอง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการควบคุมความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำหลายครั้ง กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35-59 ปี จำนวน 30 ราย โดยได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ กลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมสุขศึกษาใน 12 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง จากนั้นผู้วิจัยติดตามประเมินผลความคงทนของพฤติกรรมเมื่อครบเดือนที่ 3, 6 และ 7 โดยใช้แบบสอบถามพร้อมทั้งวัดระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมครบ 3 และ 6 เดือน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค มีแนวโน้ม
เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมครบ 7 เดือน พบว่า ร้อยละ 86.7 สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้
สรุป: โปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมีผลในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนช่วยให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้
References
2. ภานุวัฒน์ ปานเกศ, จุรีพร คงประเสริฐ, นิตยา ภัทรกรรม, นงนุช ตันติธรรม, ศุภวรรณ มโนสุนทร, พัชริดา ยิ่งอินทร์. รายงานการพยากรณ์โรคความดันโลหิตสูง. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: 2. file:///C:/Users/Administrator.7TVG2EQWID72J9G/Downloads/report_2012_11_no01%20(1).pdf.
3. วิชัย เอกพลาการ. (บรรณาธิการ). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2557.
4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. คนไทยป่วยความดันโลหิตสูง 11 ล้าน. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/microsite/content/5/ncds/181/24127-คนไทยป่วยความดันโลหิตสูง+11+ล้าน.html.
5. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559.
6. วิชชุลดา ผรณเกียรติ์. เครียดเรื้อรังภัยเงียบ ทำร้ายวัยทำงาน. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/537786.
7. สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การปก, 2558.
8. อภัสริน มะโน, วันเพ็ญ แก้วปาน, อาภาพร เผ่าวัฒนา, ปาหนัน พิชญภิญโญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันความดันโลหิตสูงในชายวัยกลางคน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2555; 28: 46-59.
9. รำไพ นอกตาจั่น. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; 27: 16-28.
10. ธีทัต ศรีมงคล, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล, กรกนก ลัธธนันท์. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลตาจั่น 10. อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560; 33: 77-88.
11. จริยาภรณ์ พลอยแก้ว, สุพัฒนา คำสอน. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.northern.ac.th/north_research/p/document/file_14909406071.pdf.
12. สุภารัตน์ สีดา, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงตำบลโคกสนวน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 9: 40-7.
13. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การบริหารร่างกายด้วยไม้ แบบป้าบุญมี เครือรัตน์. [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=05tSmIOxeGc.
14. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสนวน. รายงานการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพประจำปี 2556. [เอกสารอัดสำเนา]. บุรีรัมย์: โรงพยาบาล, 2556.
15. ธวัชชัย วรพงศธร. หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์ . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
16. Roger RW. A protection motivation theory of fear appeals and attitude changes. J Psychol 1975; 91: 93-114.
17. Roger RW. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. New York: Guilford Press, 1983.
18. บุศรินทร์ ผัดวัง, ถาวร ล่อกา. การติดตามผลลัพธ์ระยะยาวในการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษา บ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9: 43-51.
19. สุกาญจน์ อยู่คง, มลินี สมภพเจริญ, ธราดล เก่งการพานิช, ทัศนีย์ รวิวรกุล. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17: บทบาทของประชาชนกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2558; 17. 5: 272-85.