ความชุกและระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Sanga Tubtimhin College of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University
  • Nittaya Puthaburi

คำสำคัญ:

ความชุก; กลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์; บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ที่ปฏิบัติงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น การปวดตา ระคายเคือง ตาแห้ง ตามัวมองไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 170 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และใช้เครื่องมือตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95

ผลการศึกษา: พบว่าความชุกของการเกิดกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์โดยภาพรวมสูงถึงร้อยละ 99.4 (95%CI: 96.8, 99.9) เมื่อจำแนกตามกลุ่มเป็น Ocular surface problems ร้อยละ 94.7 (95%CI: 90.1, 97.5) Eye strain or tired eye ร้อยละ 95.3  (95%CI: 90.9, 97.9) Blurred vision ร้อยละ 78.1 (95%CI: 71.1, 84.1) และ Double vision  ร้อยละ 42.0 (95%CI: 34.5, 49.8)  ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเป็นบางครั้งและอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามยังมีบุคลากรบางส่วนที่มีอาการตาสู้แสงไม่ได้ อยู่ในระดับรุนแรงมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 14.2 (95%CI: 8.5, 21.7)

สรุป: ความชุกของกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์สูงมากและหลายคนยังมีอาการตาสู้แสงไม่ได้ในระดับรุนแรง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการป้องกันแก้ไขเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและระดับความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น

References

1. ศุภชัย รัตนมณีฉัตร. โรคในออฟฟิศ [Internet]. สุขภาพทั่วไป : ปัญหาสุขภาพกับภาวะสังคม. 2553 [cited Jun 4, 2018]. Available from: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=711
2. Logaraj M, Madhupriya V, Hegde S. Computer Vision Syndrome and Associated Factors Among Medical and Engineering Students in Chennai. Ann Med Health Sci Res [Internet]. [cited Nov 12, 2017] 2014; 4: 179–85. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3991936/
3. Sen A, Richardson S. A study of computer-related upper limb discomfort and computer vision syndrome. J Hum Ergol (Tokyo). 2007; 36: 45–50.
4. Blehm C, Vishnu S, Khattak A, Mitra S, Yee RW. Computer Vision Syndrome: A Review. Surv Ophthalmol [Internet]. [cited Oct 11, 2017] 2005; 50: 253–62. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0039625705000093
5. Ranasinghe P, Wathurapatha WS, Perera YS, Lamabadusuriya DA, Kulatunga S, Jayawardana N, et al. Computer vision syndrome among computer office workers in a developing country: an evaluation of prevalence and risk factors. BMC Res Notes 2016; 9: 150.
6. Al Rashidi SH, Alhumaidan H. Computer vision syndrome prevalence, knowledge and associated factors among Saudi Arabia University Students: Is it a serious problem? Int J Health Sci 2017 ; 11: 17–9.
7. ทัศนีย์ ศิริกุล, โกศล คำพิทักษ์. Prevalence of Computer Vision Syndrome in Computer Users. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2549; 1: 21–8.
8. นรากร พลหาญ, สมสมร เรืองวรบูรณ์, โกมล บุญแก้ว, อนุพงษ์ ศรีวิรัตน์. กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2557; 6: 26–38.
9. ปาจรา โพธิหัง, พรพรรณ ศรีโสภา, อโนชา ทัศนาธนชัย. ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายการสอน ในมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2559; 9: 104–19.
10. จามรี สอนบุตร, พิชญา พรรคทองสุข, สุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อความล้าของตาในผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2552; 27: 91–104.
11. จรูญ ชิดนายี, วิรงค์รอง จารุชาต, ศศิธร ชิดนายี. ความสัมพันธ์ระหว่างความล้าของสายตากับการตรวจสมรรถภาพทางสายตา ในกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556;7: 47–56.
12. Rahman ZA, Sanip S. Computer user: demographic and computer related factors that predispose user to get computer vision syndrome. Int J Bus Humanit Technol. 2011; 1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-01

How to Cite

1.
Tubtimhin S, Puthaburi N. ความชุกและระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 เมษายน 2019 [อ้างถึง 20 เมษายน 2025];34(2):173-7. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/181353