ฤทธิ์ต้านริดสีดวงทวารของสารสกัดด้วยน้ำจากใบขลู่ (Pluchea indica leaves) ในสัตว์ทดลองที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารด้วยน้ำมันสลอด
คำสำคัญ:
Pluchea indica; whole gut transit time; intestinal transit rate; hemorrhoids; experimental animals, ขลู่; เวลาในการขนส่งทั้งหมดของลำไส้; อัตราการขนส่งในลำไส้; ริดสีดวงทวาร; สัตว์ทดลองบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: Pluchea indica (L.) Less มีชื่อไทยว่า “ขลู่” เป็นพืชที่มีการใช้แบบดั้งเดิมเป็นยาพื้นบ้านสำหรับรักษาโรคหลายชนิด และยังนิยมนำมาดื่มเป็นชาเพื่อรักษาอาการริดสีดวงทวารโดยยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ การศึกษานี้จึงเน้นศึกษาถึงผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบขลู่ (PIE) ต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารในหนูเม้าส์ และการเกิดริดสีดวงทวารที่กระตุ้นด้วยน้ำมันสลอดในหนูแรท
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้ charcoal test ในการศึกษาเวลาในการขนส่งทั้งหมดของลำไส้ และอัตราการขนส่งในลำไส้ เพื่อทดสอบผลของ PIE ในขนาด 50, 100 หรือ 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารในหนู ICR เม้าส์เพศผู้ ส่วนการทดสอบผลของ PIE ต่อริดสีดวงทวารในหนูแรท Wistar เพศผู้ ทำโดยการป้อน PIE ในขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน แก่หนูติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน ในวันที่ 5 ของการทดลองกระตุ้นให้หนูเกิดริดสีดวงทวารโดยการสอดก้านสำลีที่ชุบสารผสมน้ำมันสลอดปริมาณ 100 ไมโครลิตร เข้าสู่ทวารหนัก ในวันที่ 11 ของการทดลองทำการการุณยฆาต แยกทวารหนัก และม้ามเพื่อชั่งน้ำหนัก และตรวจสอบความเสียหายของลำไส้ตรง
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า PIE ในขนาด 50, 100 หรือ 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารในหนู ICR เม้าส์ ส่วนการทดลองในหนูแรทที่ทำให้เป็นริดสีดวงทวารพบว่า PIE ในขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน สามารถลดความรุนแรงของริดสีดวงทวารได้อย่างมีนัยสำคัญโดยลดน้ำหนักของม้าม และลำไส้ตรง และลดความเสียหายที่เกิดต่อลำไส้ตรงได้อย่างชัดเจน
สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยสนับสนุนประสิทธิผลของการใช้ขลู่เป็นยาพื้นบ้านสำหรับรักษาโรคริดสีดวงทวาร อย่างไรก็ตามในขนาดที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ไม่พบผลต่อการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร
References
2. Odukoya OA, Sofidiya MO, Ilori OO, GbededoMO, Ajadotuigwe JO, Olaleye OO. Hemorrhoid Therapy with Medicinal Plants: Astringency and Inhibition of Lipid Peroxidation as Key Factors. Int J Biol Chemi 2009; 3: 111-8.
3. Chauhan R, Ruby K, Dwivedi J. Antioxidant, lipid peroxidation and astringency study of hydroethanolic root extracts of Bergenia ligulata, Bergenia ciliata and Bergenia stracheyi. Eur J Medicinal Plants 2016; 15: 1-10.
4. Suriyaphan O. Nutrition, Health Benefits and Applications of Pluchea indica (L.) Less Leaves. Mahidol University Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 41: 1-10.
5. Andarwulan N, Batari R, Sandrasari DA, Bolling B, Wijaya H. Flavonoid content and antioxidant activity of vegetables from Indonesia. Food Chem 2010; 121: 1231-5.
6. Yuliani Y, Soemarno, Yanuwiadi B, Leksono A. Total phenolic and flavonoid contents of Pluchea indica Less leaves extracts from some altitude habitats. Int J ChemTech Res 2015; 8: 1618-25.
7. Buapool D, Mongkol N, Chantimal J, Roytrakul S, Srisook E, Srisook K. Molecular mechanism of anti-inflammatory activity of Pluchea indica leaves in macrophages RAW 264.7 and its action in animal models of inflammation. J Ethnopharmacol 2013; 146: 495-504.
8. Sirichaiwetchakoon K, Lowe GM, Thumanu K, Eumkeb K. The Effect of Pluchea indica (L.) Less. Tea on Adipogenesis in 3T3-L1 Adipocytes and Lipase Activity. Evid Based Complement Alternat Med 2018 ; 2018: 4108787. doi: 10.1155/2018/4108787. eCollection 2018.
9. Abramowitz L, Godeberge P, Staumont G, Soudan D. Clinical practice guidelines for the treatment of hemorrhoid disease. Gastroenterol Clin Biol 2001; 25: 674-702.
10. Gupta PJ. The efficacy of Euphorbia prostrata in early grades of symptomatic hemorrhoids –a pilot study. Eur Rev Med Pharmacol Sci 2011; 15: 199-203.