HI Nursing Outcome : Emergency through Rehabilitation

Authors

  • โฉมพิไล นนทรักษา

Abstract

ภายหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะในระดับปานกลางหรือรุนแรงผู้ป่วยมักเกิดความพิการหรือมีการสูญเสียสมรรถภาพ (Disabilitg)  ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเหล่านี้ไม่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ตามลำพัง  ครอบครัวหรือญาติผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย โดยญาติผู้ดูแลดังกล่าวจะดูแลกิจวัตรประจำวันและทำหน้าที่เป็นคนกลางในการติดต่อหรือสื่อสารกับผู้อื่นหรือดูแลในการทำกิจกรรมทั่วไป ทำให้ญาติผู้ดูแลต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ปรับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน ต้องรับมือกับการสูญเสียหรือความบกพร่องด้านต่างๆของผู้ป่วย จึงส่งผลกระทบต่อญาติผู้ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในทางร่างกายมักพบอาการปวดหลัง  ปวดเข่า  อ่อนล้า  ส่วนผลกระทบด้านจิตใจ เนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นเหตุการณ์ไม่คาดคิดและเกิดขึ้นกะทันหัน ส่งผลกระทบต่อญาติผู้ดูแลเกิดความวิตกกังวลและเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  หากญาติผู้ดูแลไม่สามารถเผชิญปัญหานี้ได้นอกจากยังส่งผลกระทบต่อตนเองแล้ว ยังส่งผลกระทบการฟื้นฟูการสูญเสียสมรรถภาพของผู้ป่วยในด้านต่างๆได้ช้า และอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เมื่อพ้นระยะวิกฤตและเข้าสู่ระยะฟื้นฟูสภาพความต้องการญาติผู้ดูแล  คือ รับทราบข้อมูลสภาพปัญหาของผู้ป่วย  การได้มีส่วนร่วมในการดูแลผุ้ป่วย และการฝึกทักษะในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งการมีโอกาสร่วมดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ ทำให้ญาติผู้ดูแลปรับเปลี่ยนบทบาทได้ดีขึ้น  และมีผลต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย อย่างชัดเจน  ดังนั้น การเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในระยะฟื้นฟูสภาพจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งกระบวนการในการเตรียมความพร้อมหรือการวางแผนการจำหน่าย (Discharge planning)เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลต่อเนื่อง(Continuing care)

Downloads

How to Cite

1.
นนทรักษา โ. HI Nursing Outcome : Emergency through Rehabilitation. SRIMEDJ [Internet]. 2014 Nov. 15 [cited 2024 Nov. 22];29(4):37-8. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/23619