การสร้างเว็บไซด์ เรื่องพยาธิใบไม้ในตับ ชนิด Opisthorchis viverrini นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
Keywords:
Opisthorchis viverrini, Responsive WebAbstract
หลักการและวัตถุประสงค์ : พยาธิใบไม้ตับที่พบในประเทศไทยชนิด Opisthorchis viverrini เป็นพยาธิที่อาศัยอยู่ในท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดีของตับในคน สุนัขและแมว ในประเทศไทยโรคพยาธิใบไม้ตับยังคงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากองค์การอนามัยโลกยอมรับและจัดให้เป็นเชื้อก่อมะเร็ง โดยพบระบาดมากในแถบภาคอีสานและภาคเหนือ เพราะยังมีพฤติกรรมการชอบกินปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียนแบบดิบที่มีระยะติดต่อความรุนแรงของโรคขึ้นกับจำนวนพยาธิและระยะเวลาในการติดเชื้อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสื่อบนเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้จากสื่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 ราย โดยมีขั้นตอนการผลิตดังนี้
1.ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini 2. ออกแบบภาพกราฟิกในส่วนภาพหัวเว็บด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 3.ออกแบบภาพโลโก้ของเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 4. เขียนคำสั่ง HTML ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 5. กำหนด Style CSS 6.การสร้างหน้าเพิ่ม 7. การอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์
ผลการศึกษา : พบว่า จากนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2/2557 จำนวน 20 ราย
ผลการประเมินสื่อเว็บไซต์ด้านความพึงพอใจการใช้สื่อ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประเมินว่า ในข้อ ใช้งานสะดวก การใช้งานสื่อผ่าน Mobile กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 96 รองลงมาคือ ใช้สื่อผ่านคอมพิวเตอร์ ร้อยละ92 และ การใช้งานผ่าน Tablet ซึ่งร้อยละ 85 ในหัวข้อ การถ่ายทอดความรู้มีความชัดเจน การใช้งานสื่อผ่านคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 88 รองลงมาคือ Tablet ร้อยละ 87 และ Mobile ร้อยละ 86 ในหัวข้อ การเชื่อมโยงเนื้อหา การใช้งานสื่อผ่าน Mobile กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุดร้อยละ 83 รองลงมาคือ การใช้สื่อผ่านคอมพิวเตอร์ ร้อยละ73 และTablet ร้อยละ 69 ในหัวข้อ เนื้อหาและภาพเหมาะสมเข้าใจง่าย เมื่อใช้งานสื่อผ่าน Mobile มีความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 91 รองลงมาคือใช้สื่อผ่านคอมพิวเตอร์ร้อยละ87 และ Tablet ร้อยละ 86 ในหัวข้อ ปริมาณเนื้อหาของสื่อมีความพอดี เมื่อใช้งานสื่อผ่าน Tablet มีความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 85 รองลงมาคือ ใช้สื่อผ่านคอมพิวเตอร์ ร้อยละ84 และ Mobile ร้อยละ80 ในส่วนของ ผลแบบทดสอบความก้าวหน้าทางการเรียนพบว่า คะแนนจากแบบทดสอบ ก่อนเรียน กลุ่มเป้าหมายทำคะแนนได้ต่ำกว่าเกณฑ์ หลังการใช้สื่อสามารถทำการทดสอบหลังเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60-100 ได้ทั้งหมด
สรุป: ผลการทดสอบก่อนเรียน นักศึกษาที่ไม่รู้เรื่องพยาธิใบไม้ตับทำคะแนนได้เพียงร้อยละ 40 แต่เมื่อได้ให้ดูสื่อทางเว็บไซต์แล้ว นักศึกษาสามารถทำคะแนนความก้าวหน้าทางการเรียนได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป