ความเครียด และความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ:
ความเครียด; ความร่วมมือในการใช้ยา; ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของความเครียด และความร่วมมือในการใช้ยา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความร่วมมือในการใช้ยา ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ที่มารับบริการที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำนวน 115 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และแบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาในคนไทย
ผลการศึกษา: พบความชุกของความเครียดร้อยละ 6.96 โดยจัดเป็นความเครียดระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อยร้อยละ 5.22 และความเครียดระดับสูงกว่าปกติมากร้อยละ 1.74 ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่เข้าร่วมการวิจัยมีความร่วมมือในการใช้ยาระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ร้อยละ 41.74, 41.74 และ 16.52 ตามลำดับ โดยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=1.000)
สรุป: ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มารับบริการที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีความเครียดน้อย และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความร่วมมือในการใช้ยา
References
2. Wongchaisuriya T. Chronic Kidney Disease: CKD [Internet]. 2017 [cited 13 Dec 2018]. Available from: http://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170111202558.pdf.
3. The Nephrology Society of Thailand. Clinical practice recommendation for the evaluation and management of chronic kidney disease in adults 2015. 2015 [cited 13 Dec 2018]. Available from: http://www.nephrothai.org.
4. Thokaew S. Depression in hemodialysis patients in Nakhon Pathom province. [Master of Science in Mental Health]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2003.
5. Tafet GE, Nemenoff CB. The links between stress and depression: psychoneuroendocrinological, genetic, and environmental interactions. J Neuropsychiatry Clin Neurosci 2016; 28: 77-88.
6. Cukor D, Rosenthal DS, Jindal RM, Brown CD, Kimmel PL. Depression is an important contributor to low medication adherence in hemodialyzed patients and transplant recipients. Kidney Int 2009:75:1223-9.
7. Yamane T. Statistic: an introduction analysis. 3rd edition. New York: Harper and Row publication; 1973.
8. Sakthong P, Sonsa-Ardjit N, Sukarnjanaset P, Munpan W, Suksanga P. Development and psychometric testing of the medication taking behavior tool in Thai patients. Int J Clin Pharm 2016; 38:438–45.
9. Sinnakirouchenan R, Holley JL. Peritoneal dialysis versus hemodialysis: risks, benefits, and access issues. Adv Chronic Kidney Dis 2011; 18: 428-32.
10. Goh ZS, Griva K. Anxiety and depression in patients with end-stage renal. Int J Nephrol Renovasc Dis 2018; 11: 93–102.
11. Kutner NG, Zhang R, McClellan WM, Cole SA. Psychosocial predictors of non-compliance in haemodialysis and peritoneal dialysis patients. Nephrol Dial Transplant 2002; 17: 93-9.