ความพึงพอใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้งานระบบ E-portfolio ของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศรพลช สันติวรวุฒิ
  • กันติชา พิริยะเมธา
  • ณัฐวัฒน์ ชัยสุวิรัตน์
  • ตวงพร พรชัย
  • ศิริลักษณ์ ฉลองกชกร
  • สมพงษ์ ศรีแสนปาง ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมเดช พินิจสุนทร ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สายพิณ สิมสาแก้ว งานบริการการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ; ระบบ E-portfolio; นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก; มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดทำระบบ E-portfolio ที่มีจุดเด่น คือ การบันทึกข้อมูลออนไลน์ การจัดเก็บผลการเรียนของนักศึกษาแพทย์ ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ได้อย่างสมบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสัดส่วนของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกปีที่ 4-6 ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีความพึงพอใจต่อระบบ E-portfolio และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจของนักศึกษา

วิธีการศึกษา : การสำรวจความพึงพอใจออนไลน์แบบไม่ระบุชื่อของผู้ตอบแบบสอบถาม ดำเนินการสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่ได้รับการสุ่มเลือก 151 ราย เข้าสู่การหมุนเวียนคลินิกที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ระหว่างปีการศึกษา พ.ศ.2558-2559 วัดความพึงพอใจในระดับ 4 จุดโดยมีการตอบสนองต่อไปนี้: 1 แย่, 2 ปานกลาง, 3 ดี และ 4 ดีมาก การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของนักศึกษาแพทย์ ดำเนินการระหว่างกลุ่มที่มีความพึงพอใจ (อย่างน้อย 3 คะแนน) และไม่พอใจ (2 คะแนนและต่ำกว่า)

ผลการศึกษา: นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกปีที่ 4-6  ร้อยละ 76.8 (116/151) มีความพึงพอใจในภาพรวมของการใช้ระบบ
E-portfolio  ในการบันทึกข้อมูลออนไลน์ ซึ่งนักศึกษาแพทย์สามารถประเมินศักยภาพของตนเองได้ และการรับรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ E-portfolio ซึ่งสะท้อนถึงผลการเรียนรู้รายบุคคลของนักศึกษาแพทย์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความพึงพอใจของผู้เข้าใช้ (p = 0.005)

สรุป:  นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการใช้งานระบบ E-portfolio อยู่ในระดับมาก และทราบจุดประสงค์ของการใช้ระบบ E-portfolio ว่า เป็นเครื่องมือซึ่งช่วยสะท้อนผลการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

References

1. กมลวรรณ เจนวิถีสุข, สุรพล วีระศิริ, เก่งกาจ วินัยโกศล, สายพิณ สิมสาแก้ว, นราทัศพล ลิขิตดี, ขจรศักดิ์ แสงโทโพธิ์, และคณะ. การพัฒนาระบบติดตามผลลัพธ์ทางการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกในยุค Thailand 4.0. โปสเตอร์ที่นำเสนอในการประชุม: The 8th KKU show and share; 17 ต.ค. 2561; ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561.
2. วทันยา จงวโรทัย, คามิน กุลกระจ่าง, ชนกนันท์ จารักษ์, กาชัย จันทินมาธร, ธีระวัฒน์ บุญทศ, สมเดช พินิจสุนทร, และคณะ. ระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2559.
3. Mobarhan R, Rahman AA, Majidi M. Electronic portfolios acceptance and use in higher educations a systematic review. Inf Syst Front 2014; 4: 11-21.
4. Belcher R, Jones A, Smith LJ, Vincent T, Naidu SB, Montgomery J, et al. Qualitative study of the impact of an authentic electronic portfolio in undergraduate medical education. BMC Med Educ 2014; 14: 265.
5. จันทร์ทิรา เจียรณัย. การใช้แฟ้มสะสมงานแบบอิเลกทรอนิกส์ ในรายวิชาแนวคิดพื้นฐานของศาสตร์ทางการพยาบาล.2556 [cited Sep 7,2019]. Available from: http://sutir.sut.ac.th:8080/
jspui/bitstream/123456789/4663/1/Fulltext.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-04

How to Cite

1.
สันติวรวุฒิ ศ, พิริยะเมธา ก, ชัยสุวิรัตน์ ณ, พรชัย ต, ฉลองกชกร ศ, ศรีแสนปาง ส, พินิจสุนทร ส, สิมสาแก้ว ส. ความพึงพอใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้งานระบบ E-portfolio ของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 4 มิถุนายน 2020 [อ้างถึง 19 เมษายน 2025];35(3):326-31. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/243975