อุบัติการณ์และปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่พบรอยโรคภายในเยื่อบุผิวปากมดลูกขั้นสูงและมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • ชลิตา กิ่งเนตร กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

รอยโรคภายในเยื่อบุผิวปากมดลูกขั้นสูง; รอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อ; การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า; ปัจจัยทำนาย; รอยโรคหลงเหลือ

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: สตรีที่ได้รับการตัดปากมดลูกแล้วยังพบรอยโรคชนิด high-grade squamous intraepithelial lesion (HSIL) ที่ขอบของชิ้นเนื้อ มีความเสี่ยงต่อการหลงเหลือหรือกลับเป็นซ้ำของรอยโรคหากไม่ได้รับการรักษา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่ได้รับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าและพบรอยโรคชนิด HSIL ที่ขอบของชิ้นเนื้อ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในสตรีที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลลำพูน ที่พบรอยโรคชนิด HSIL และมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2563 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา univariate และ multivariate logistic regression

ผลการศึกษา: ในสตรีทั้งหมด 113 ราย พบรอยโรคหลงเหลือ 56 ราย (ร้อยละ 49.5) ปัจจัยที่สามารถทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือที่ปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่ อายุสตรีมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี (AOR = 10.8; 95%CI 1.1-109.8, p = 0.045) และรอยโรคก่อนตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าที่มีขนาดกว้าง 3-4 quadrants (AOR = 9.5; 95%CI 3.4-26.2, p <0.001)

สรุป: อายุสตรีมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี และรอยโรคก่อนตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าที่มีขนาดกว้าง เป็นปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่พบรอยโรคชนิด HSIL และมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า

References

1. Cervical Cancer Incidence, Mortality and prevalence worldwide in 2018: Summary [Internet]. [cited April 25, 2020]. Available from: http://globocan.iarc.fr/factsheet.asp.
2. Cancer Registry Unit, Information Technology Division, National Cancer Institute, Department of medical services, Ministry of public health. Hospital-based cancer registry 2018. Bangkok, Thailand, 2019.
3. Ferlay J, Colombet M, Soerjomataram I, Mathers C, Parkin DM, Pineros M, et al. Estimating the global cancer incidence and mortality in 2018: GLOBOCAN sources and methods. Int J Cancer 2019; 144: 1941-53.
4. Bosch FX, Lorincz A, Munoz N, Meijer CJ, Shah KV. The causal relation between human papillomavirus and cervical cancer. J Clin Pathol 2002; 55: 244-65.
5. Egemen D, Cheung LC, Chen X, Demarco M, Perkins RB, Kinney W, et al. Risk Estimates Supporting the 2019 ASCCP Risk-Based Management Consensus Guidelines. J Low Genit Tract Dis 2020; 24: 132-43.
6. Perkins RB, Guido RS, Castle PE, Chelmow D, Einstein MH, Garcia F, et al. 2019 ASCCP Risk-Based Management Consensus Guidelines for Abnormal Cervical Cancer Screening Tests and Cancer Precursors. J Low Genit Tract Dis 2020; 24: 102-31.
7. Arbyn M, Redman CWE, Verdoodt F, Kyrgiou M, Tzafetas M, Ghaem-Maghami S, et al. Incomplete excision of cervical precancer as a predictor of treatment failure: a systematic review and meta-analysis. Lancet Oncol 2017; 18: 1665-79.
8. ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561: 1-109.
9. Ayhan A, Tuncer HA, Reyhan NH, Kuscu E, Dursun P. Risk factors for residual disease after cervical conization in patients with cervical intraepithelial neoplasia grades 2 and 3 and positive surgical margins. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2016; 201: 1-6.
10. Fu Y, Chen C, Feng S, Cheng X, Wang X, Xie X, et al. Residual disease and risk factors in patients with high-grade cervical intraepithelial neoplasia and positive margins after initial conization. Ther Clin Risk Manag 2015; 11: 851-6.
11. Kietpeerakool C, Khunamornpong S, Srisomboon J, Siriaunkgul S, Suprasert P. Cervical intraepithelial neoplasia II-III with endocervical cone margin involvement after cervical loop conization: is there any predictor for residual disease? J Obstet Gynaecol Res 2007; 33: 660-4.
12. Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample size and power calculations for iOS.: The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University; 2014.
13. Wayne WD. Biostatistics: A foundations of analysis in the health sciences (6th ed.): John Wiley&Sons, Inc.; 1995.
14. Kingnate C, Supoken A, Kleebkaow P, Chumworathayi B, Luanratanakorn S, Kietpeerakool C. Is Age an Independent Predictor of High-Grade Histopathology in Women Referred for Colposcopy after Abnormal Cervical Cytology? Asian Pac J Cancer Prev 2015; 16: 7231-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-08

How to Cite

1.
กิ่งเนตร ช. อุบัติการณ์และปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่พบรอยโรคภายในเยื่อบุผิวปากมดลูกขั้นสูงและมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 8 กันยายน 2020 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];35(5):515-22. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/246668