การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องของแนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
คำสำคัญ:
การผ่าตัดนำนิ่ว; การผ่าตัดไตเทียม; ท่อช่วยหายใจบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไต (percutaneous nephrolithotomy: PCNL) เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการรักษานิ่วในไต แต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน คืออาจได้รับบาดเจ็บบริเวณช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้เกิดภาวะ pneumothorax, hydrothorax, หรือ hemothorax (P/H/H) โดยเฉพาะในรายที่ได้รับการแทง trocar ระดับ supracostal แนวทางปฎิบัติเดิมจึงกำหนดให้ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบ supracostal ทุกรายต้องคาท่อหายใจหลังผ่าตัดจนกว่าจะสามารถประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อช่องเยื่อหุ้มปอดด้วย portable CXR ในห้องพักฟื้น ทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เกิดอาการกระวนกระวาย เพื่อลดอุบัติการณ์การต้องคาท่อหายใจดังกล่าว ทีมวิจัยจึงได้ปรับปรุงแนวทางปฎิบัติดังกล่าวโดยกำหนดให้นำค่า PaO2/FiO2 (P/F) ratio ≤ 300 มม.ปรอท (mmHg) เป็น criteria ของการต้องคาท่อหายใจหลังผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวทางปฎิบัติที่ปรับปรุงใหม่
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาชนิดเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มารับการผ่าตัด PCNL ประเภทรอได้ ภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ทุกราย ระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 เพื่อหาอุบัติการณ์ของการต้องคาท่อช่วยหายใจหลังผ่าตัด และการเกิดการบาดเจ็บต่อช่องเยื่อหุ้มปอด (P/H/H)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด PCNL จำนวน 47 ราย พบอุบัติการณ์กลุ่มที่แทง trocar ระดับ supracostal จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 42.6) โดยผู้ป่วยในกลุ่ม supracostal พบ P/F ratio ≤ 300 มม.ปรอท จำนวน 9 ราย (ร้อยละ 45) ซึ่งต้องคาท่อช่วยหายใจหลังเสร็จผ่าตัดมาสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น เกิด hydrothorax 2 ราย (ร้อยละ 4.3) และ sepsis 3 ราย (ร้อยละ 6.4)
สรุป: การใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการคาท่อหายใจหลังผ่าตัดทันที โดยการพิจารณาตามค่า P/F ratio ≤ 300 มม.ปรอท ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด PCNL ที่ได้รับการแทง trocar ระดับ supracostal สามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องคาท่อช่วยหายใจออกจากห้องผ่าตัดลงจากเดิมร้อยละ 100 เหลือร้อยละ 45 โดยไม่เกิดอันตรายต่อผู่ป่วย พบภาวะ hydrothorax 2 ราย (ร้อยละ 4.3) และ sepsis 3 ราย (ร้อยละ 6.4)
References
2. Mousavi-Bahar SH, Mehrabi S, Moslemi MK. The safety and efficacy of PCNL with supracostal approach in the treatment of renal stones. Int Urol Nephrol 2011; 43: 983-987.
3. วิลาวัลย สมดี, เทพกรสาธิตการมณี, กชกรพลาชีวะ, วินิตาจีรา ระรื่นศักดิ์, สุธันนีสิมะจารึก, วิริยาถิ่นชีลอง, และคณะ. การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือhemothoraxระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28: 178-183.
4. Kim HC, Kim E, Jeon YT, Hwang JW, Lim YJ, Seo JH, et al. Postanaesthetic emergence agitation in adult patients after general anaesthesia for urological surgery. J Int Med Res 2015; 43: 226-235.
5. วิลาวัลย สมดี, เทพกร สาธิตการมณี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, ขจิตร์ พาชีรัตน์, กชกร พลาชีวะ, สุธันนี สิมะจารึก, และคณะ. การประเมินแนวปฏิบัติสำหรับภาวะ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30: 333-338.
6. Bilan N, Dastranji A, Ghalehgolab Behbahani A. Comparison of the spo2/fio2 ratio and the pao2/fio2 ratio in patients with acute lung injury or acute respiratory distress syndrome. J Cardiovasc Thorac Res 2015; 7: 28-31.
7. He Z, Tang F, Lu Z, He Y, Wei G, Zhong F, et al. Comparison of Supracostal and Infracostal Access For Percutaneous Nephrolithotomy: A Systematic Review and Meta-Analysis. Urol J 2019; 16: 107-114.
8. Bansal SS, Pawar PW, Sawant AS, Tamhankar AS, Patil SR, Kasat GV. Predictive factors for fever and sepsis following percutaneous nephrolithotomy: A review of 580 patients. Urol Ann 2017; 9: 230-233.
9. Sourial MW, Francois N, Box GN, Knudsen BE. Supracostal access tubeless percutaneous nephrolithotomy: minimizing complications. World J Urol 2019; 37: 1429-1433.