ผลของการงดน้ำงดอาหารต่อค่า Stroke Volume Index เมื่อวัดโดย Whole Body Impedance Cardiography
คำสำคัญ:
ปริมาตรเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจในการบีบตัวหนึ่งครั้งต่อพื้นที่ผิวกาย; การงดน้ำงดอาหาร; ภาวะพร่องสารน้ำบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยที่เข้ารับการระงับความรู้สึกและผ่าตัดควรงดน้ำงดอาหารในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก การงดน้ำงดอาหารก่อให้เกิดภาวะพร่องสารน้ำในร่างกาย การให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะพร่องสารน้ำสามารถป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างการระงับความรู้สึก แต่การให้สารน้ำมากเกินความจำเป็นก่อให้เกินผลเสีย ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปชัดเจนเกี่ยวกับผลของการงดน้ำงดอาหารต่อสภาวะของสารน้ำในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาวัดสภาวะของสารน้ำในหลอดเลือดหลังการงดน้ำงดอาหารโดยใช้ whole body bioimpedance cardiography ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่รุกราน ใช้ง่าย และค่าที่วัดได้ไม่ขึ้นกับผู้วัด ความน่าเชื่อถือของค่าที่วัดได้จาก whole body bioimpedance cardiography เทียบเท่า pulmonary artery thermodilution ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน ในการศึกษานี้ใช้ whole body bioimpedance cardiography วัดค่าปริมาตรเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจในการบีบตัวหนึ่งครั้งต่อพื้นที่ผิวกาย (stroke volume index, SVI) ก่อนและหลังงดน้ำงดอาหารเป็นเวลา 8 ถึง 10 ชั่วโมง
วิธีการศึกษา: ศึกษาในอาสาสมัครอายุ 18-65 ปี American society of anesthesiologists (ASA) physical status 1-2 ใช้อุปกรณ์ whole body bioimpedance วัดค่า SVI และ hemodynamic parameters อื่นๆก่อนและหลังงดน้ำงดอาหาร โดยเปรียบเทียบความแตกกต่างค่า hemodynamic parameters ก่อนและหลังงดน้ำงดอาหารหากมากกว่าร้อยละ 10 ถือว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก ค่า p-value < 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: อาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยจนสิ้นสุดจำนวน 62 ราย SVI ก่อนและหลังงดน้ำงดอาหารมีค่า 40.0±8.7 มล.ต่อตร.ม. และ 37.7±8.2 มล.ต่อตร.ม. ตามลำดับ โดยมีค่าลดลงร้อยละ 5.5 ค่าร้อยละของการเปลี่ยนแปลง SVI ในผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละรายมีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ เพิ่มขึ้นร้อยละ3.1 ถึง ลดลงร้อยละ17.0 มีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 12 ราย (ร้อยละ 19.4) มีค่า SVI ลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ค่า stroke volume (SV), cardiac output (CO) and cardiac index (CI) มีค่าลดลงร้อยละ 5.6, 6.6 และ 6.4 ตามลำดับ ค่า hemodynamic parameters ทุกตัวยกเว้นอัตราการเต้นของหัวใจมีค่าลดลงแบบมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ลดลงน้อยกว่าร้อยละ 10
สรุป: การงดน้ำงดอาหารไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค่า SVI ทางคลินิกเมื่อวัดโดย whole body impedance cardiographyในประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรง ผู้เข้าร่วมวิจัยบางรายมีค่า SVI ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังการงดน้ำงดอาหาร และการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในปริมาณที่เหมาะสมน่าจะช่วยเพิ่มอัตราการไหลของเลือดออกจากหัวใจ (cardiac output)
References
2. American Society of Anesthesiologists Committee. Practice Guidelines for Preoperative Fasting and the Use of Pharmacologic Agents to Reduce the Risk of Pulmonary Aspiration: Application to Healthy Patients Undergoing Elective Procedures. Anesthesiology 2017; 126: 376-393
3. Chappell D, Jacob M, Hofmann-Kiefer K, Cozen P, Rehm M. A rational approach to perioperative fluid management. Anesthesiology 2008; 109: 723-740.
4. Doherty M, Buggy DJ. Intraoperative fluids: how much is too much? Br J Anaesth 2012; 109: 69-79.
5. Holte K, Kehlet H. Compensatory fluid administration for preoperative dehydration – does it improve outcome? Acta Anaesthesiol Scand 2002; 46: 1089–1093.
6. Lobo SM. Restrictive strategy of intraoperative fluid maintenance during optimization of oxygen delivery decrease major complication after high-risk surgery. Crit Care 2011; 15: R226.
7. Thacker JK, Mountford WK, Ernst FR, Michille RK, Michael MGM. Perioperative fluid utilization variability and association with outcomes: considerations for enhanced recovery efforts in sample US surgical populations. Ann Surg 2016; 263: 502–510.
8. Makaryus R, Miller TE, Gan TJ. Current concepts of fluid management in enhanced recovery pathways. Br J Anaesth 2018; 120(2): 376-383.
9. Bundgaard-Nielsen M, Jorgensen CC, Secher NH, Kehlet H. Functional intravascular volume deficit in patients before surgery. Acta Anaesthesiol Scand 2010;54:464-469.
10. Jenstrup M, Ejlersen E, Mogensen T and Secher NH. A Maximal Central Venous Oxygen Saturation (SvO2max) for the Surgical Patient. Acta Anaesthesiol Scand 1995;107:29-32.
11. Muller L, Brière M, Bastide S, Roger C, Zoric L, Seni G, et al. Preoperative fasting does not affect haemodynamic status: a prospective, noninferiority, echocardiography study. Br J Anaesth 2014; 112:835–841.
12. Kiefer N, Rode C, Baehner T, Zenker S, Hoeft A. Fasting before elective surgery does not
result in hypovolaemia: A prospective, observational study. Eur J Anaesthesiol 2018; 35: 539–
552.
13. Kanu C. The Swan-Ganz Catheters: Past, Present, and Future A Viewpoint, Circulation 2009; 119: 147-152.
14. Gad C, Yaron M, Edo K, Amram JC, Hilton M, Daniel G, Zvi V. Accurate, noninvasive continuous monitoring of cardiac output by whole-body electrical bioimpedance. Chest 2004; 125; 1431-1440.
15. Oscar LP, Junya S, Toshiro S, Satoshi W, Hiromasa O, Daisuke M, et al. Impedance Cardiography for Cardiac Output Estimation: Reliability of Wrist-To-Ankle Electrode Configuration. Cir J 2006;70(9): 1164-1168.
16. Lamke LO, Nilsson GE, Reithner HL. Insensible perspiration from the skin under standardized environmental conditions. Scan J Clin Lab Invest 1977; 37: 325-331.