การประเมินปริมาณรังที่ผิวที่ผู้ป่วยได้รับในการถ่ายภาพทางรังสีดิจิทัลในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
คำสำคัญ:
การถ่ายภาพรังสีดิจิทัล; ปริมาณรังสีที่ผิวที่ผู้ป่วยได้รับ; ปริมาณรังสีอ้างอิงบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การถ่ายรังสีดิจิทัลถือเป็นการวินิจฉัยโรคโดยทั่วไป ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการตรวจด้วยรังสีเอกซ์ ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจทางรังสีมีความเสี่ยงจากการได้รับรังสีเพิ่มมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยได้รับ (entrance skin dose,ESD) ในการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลในท่าทั่วไป ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเปรียบเทียบค่าปริมาณรังสีที่ผิวได้รับกับค่าระดับปริมาณรังสีอ้างอิง (diagnostic reference level,DRL) ของหน่วยงานระดับและระดับนานาชาติ รวมทั้งมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จากระบบการจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ โดยเก็บข้อมูลพารามิเตอร์สำหรับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลจากผู้ป่วยจำนวน 1,010 ราย ที่หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก กระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอกและส่วนเอว กะโหลกศีรษะ ในด้านตรง (anteroposterior; AP) และด้านข้าง (Lateral view; LAT) การถ่ายภาพรังสีช่องท้องและกระดูกเชิงกรานด้าน AP คำนวณหาปริมาณรังสี ESD โดยใช้สูตรคำนวณเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรังสี ESD และค่าพารามิเตอร์สำหรับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัล
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า Chest LAT ใช้ค่าความต่างศักย์ไฟ้ฟ้า (kVp) สำหรับการถ่ายภาพสูงที่สุด ส่วน Lumbar spine LAT ใช้ค่ากระแสหลอดคูณกับเวลา (mAs) สูงที่สุด ค่ามัธยฐานปริมาณรังสี ESD ของการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลทุกส่วนมีค่าต่ำกว่าค่าระดับปริมาณรังสีอ้างอิงมาตรฐานนานาชาติ (IAEA) ในขณะที่ ESD ของการถ่าย chest PA, abdomen AP, pelvis AP, lumbar spine LAT และ skull AP/PA มีค่าต่ำกว่า DRL ในระดับชาติ ยกเว้น Lumbar spine AP และ skull LAT ที่มีค่า ESD สูงกว่า มากไปกว่านั้นยังมีการเปรียบเทียบ ESD ของการศึกษานี้กับค่า DRL ประเทศญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร โดยการเปรียบเทียบค่า ESD กับ DRL ของประเทศญี่ปุ่นได้ผลการเปรียบเทียบเหมือนกับค่า DRLในระดับชาติ ในขณะที่เปรียบเทียบกับค่า DRL ของสหราชอาณาจักรพบว่าค่า ESD ของการถ่ายภาพรังสีส่วน abdomen AP, pelvis AP and lumbar spine LAT น้อยกว่าค่า DRL ของสหราชอาณาจักร ส่วนการถ่ายภาพรังสีส่วน chest PA, lumbar spine AP, skull AP/PA และ skull LAT มีค่า ESD มากกว่า นอกจากนี้พบว่าค่า mAs มีความสัมพันธ์ในระดับสูงในทิศทางเดียวกันกับค่า ESD ในขณะที่น้ำหนัก อายุและ kVp มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับค่า ESD
สรุป: การศึกษาครั้งนี้ทำให้หน่วยงานได้ทราบค่า ESD อ้างอิงในผู้ป่วยที่รับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลและได้เปรียบเทียบค่า ESD กับค่า DRL ของหน่วยงานระดับชาติ นานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร โดยเมื่อค่า ESD สูงกว่าค่า DRL ของหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติ นักรังสีการแพทย์และทีมงานควรสืบค้นและหาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร ควรตรวจสอบโปรแกรมการประกันคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องเพื่อให้แน่ใจถึงประสิทธิภาพของเครื่องเอกซเรย์และปริมาณรังสีที่ออกมา หลังจากนั้นควรมีการทบทวนโปรโตคอลและเทคนิคการให้ปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วย ในขั้นตอนต่อไปคือการ optimization เพื่อปรับลดปริมาณรังสีในผู้ป่วยลงและจำกัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
References
2. Wunderle K, Gill AS. Radiation-related injuries and their management: an update. In: Seminars in interventional radiology. Thieme Medical Publishers; 2015: 156.
3. Vañó E, Miller DL, Martin CJ, Rehani MM, Kang K, Rosenstein M, et al. ICRP Publication 135: Diagnostic Reference Levels in Medical Imaging. Ann ICRP 2017; 46: 1–144.
4. Vassileva J, Rehani M. Diagnostic reference levels. Am J Roentgenol 2015; 204: W1–3.
5. Tonkopi E, Daniels C, Gale MJ, Schofield SC, Sorhaindo VA, VanLarkin JL. Local diagnostic reference levels for typical radiographic procedures. Can Assoc Radiol J. 2012; 63: 237–241.
6. วิชัย วิชชาธรตระกูล, สมศักดิ์ วงษ์ศานนท์, บรรจง เขื่อนแก้ว. ปริมาณรังสีที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่ได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553; 25: 120–124.
7. Yacoob HY, Mohammed HA. Assessment of patients X-ray doses at three government hospitals in Duhok city lacking requirements of effective quality control. J Radiat Res Appl Sci 2017; 10: 183–187.
8. Mukaka MM. A guide to appropriate use of correlation coefficient in medical research. Malawi Med J 2012; 24: 69–71.
9. ศิริวรรณ บุญชรัตน์ , ภัทรพงศ์ เหมัษฐิติ. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย ด้วยเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป (Diagnostic reference levels in General radiography) สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(4): 632-640.
10. Organization WH. International basic safety standards for protecting against ionizing radiation and for the safety of radiation sources. Printed by the IAEA in Austria: 1996; 279.
11. Yonekura Y. Diagnostic reference levels based on latest surveys in Japan–Japan DRLs 2015. Jpn Netw Res Inf Med Expo; 2019: 1–11.
12. Hart D, Hillier MC, Shrimpton PC. Doses to Patients from Radiographic and Fluoroscopic X-ray Imaging Procedures in the UK–2010 review HPA-CRCE-034. Chilton HPA; 2012.
13. ลัดดา เย็นศรี. การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้ รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบ CR และ DR. South Coll Netw J Nurs Public Health 2016; 3(1): 129–39.
14. Aliasgharzadeh A, Mihandoost E, Masoumbeigi M, Salimian M, Mohseni M. Measurement of entrance skin dose and calculation of effective dose for common diagnostic x-ray examinations in Kashan, Iran. Glob J Health Sci 2015; 7: 202.
15. Ofori K, Gordon SW, Akrobortu E, Ampene AA, Darko EO. Estimation of adult patient doses for selected X-ray diagnostic examinations. J Radiat Res Appl Sci 2014; 7(4): 459–462.
16. Suliman II, Mohammedzein TS. Estimation of adult patient doses for common diagnostic X-ray examinations in Wad-madani, Sudan: derivation of local diagnostic reference levels. Australas Phys Eng Sci Med 2014; 37(2): 425–429.
17. Bushong SC. Radiologic science for technologists-E-book: Physics, Biology, and Protection. Elsevier Health Science; 2013; 161-185.