การประเมินระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีระดับ INR อยู่ในช่วงเป้าหมายของการใช้ยาวาร์ฟาริน ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจหรือผู้ป่วยหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
คำสำคัญ:
วาร์ฟาริน ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีระดับ INR อยู่ในช่วงเป้าหมาย ร้อยละ TTR ผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ยาวาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด ที่ใช้รักษาและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แต่ยาวาร์ฟารินเป็นยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ เภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ซับซ้อน และมีความต่างของขนาดของยาในแต่ละบุคคล ประสิทธิภาพของยาวาร์ฟารินประเมินจากระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีค่า International Normalized Ratio (INR) อยู่ในช่วงเป้าหมาย (Time in therapeutic range; TTR) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้ยาวาร์ฟาริน โดยการหาค่า TTR ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจหรือในผู้ป่วยหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ณ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยการสุ่มเก็บข้อมูล INR ของผู้ป่วยด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และทบทวนประวัติการใช้ยาจากเวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละราย คำนวณหาค่าร้อยละ TTR ด้วยวิธี Rosendaal linear interpolation method
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาวาร์ฟารินทั้งหมด 423 ราย เป็นเพศหญิง 247 ราย (ร้อยละ 58.39) อายุเฉลี่ย 53.00 ± 7.07 ปี เป็นผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 203 ราย (ร้อยละ 47.99) ผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว 128 ราย (ร้อยละ 30.26) และผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจร่วมกับมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว 92 ราย (ร้อยละ 21.75) ค่าเฉลี่ยร้อยละ TTR ในทุกข้อบ่งใช้ คือ ร้อยละ 50.37 เป้าหมาย INR ของผู้ป่วยส่วนใหญ่คือ 2.0-3.0 (ร้อยละ 60.99) และผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับยาวาร์ฟารินมากกว่า 12 เดือน (ร้อยละ 58.39)
สรุป: ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีระดับ INR อยู่ในช่วงเป้าหมายของการใช้ยาวาร์ฟาริน ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือผู้ป่วยหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ร้อยละ 50.37
References
2. Reynolds M, Fahrbach K, Hauch O, et al. Warfarin anticoagulation and outcomes in patients with atrial fibrillation: a systemic review and meta-analysis. Chest. 2004; 126(6):1938-45.
3. Oake N, Fergusson D, Forster A, et al. Frequency of adverse events in patients with poor anticoagulation: a meta-analysis. Canadian Medical Association or its licensors. 2007; 1589-1594.
4. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาหัวใจ. คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคหัวใจ เรื่อง การบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin Clinic Management). สถาบันโรคทรวงอก. 2559.
5. ปฐวี โลหะรัตนากร, พลอยไพลิน ฤทธิบุญ, ยุวธิดา หงส์ริญญา และคณะ. ความรู้ในการใช้ยาวอร์ฟารินและการควบคุมค่า INR เป้าหมาย ของผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(3): 257.
6. กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2548.
7. Asarcıklı L, Sen T, Ipek E, Kafes H, Cebeci M, Gül M et al. Time in therapeutic range (TTR) value of patients who use warfarin and factors which influence TTR. Journal of the American College of Cardiology 2013; 62 (18): C127-C128.
8. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2561] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/warfarin_Guideline%281%29.pdf
9. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ. คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคหัวใจ เรื่อง การบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin clinic management). กรุงเทพมหานคร: โอ-วิทย์ (ประเทศไทย); 2559.
10. วันเพ็ญ มูลอินต๊ะ. การพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วย ในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2562; 2: 1-8.
11. Champasri K, Uerojanaungkul P, Laothavorn P, Piamsomboon C, Sanguanwong S, Naksawasdi C, et al. Comparison of efficacy and safety of warfarin management between warfarin clinic and internal medicine clinic in Phramongkutklao hospital. Thai Heart J 2017; 27: 48-57.
12. Krittayaphong R, Winijkul A, Pirapatdi A, Chiewvit P, Komoltri C, Boonyapisit W, et al. SAMe-TT2R2 score for prediction of suboptimal time in therapeutic range in a Thai population with atrial fibrillation. Singapore Med J 2020; 61(12): 641-646.
13. ขวัญเนตร เกษชุมพล, สุทธินันท์ เอิกเกริก, วรรน์นา พิมานแพง. ผลการบริบาลผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟาริน คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลศรีสะเกษ. 2561.
14. รติกร เมธาวีกุล, คมสิงห์ เมธาวีกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการควบคุมระดับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับยา aspirin และ clopidogrel ร่วมกับ warfarin. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42: 59-65.
15. Gateman D, Trojnar ME, Agarwal G. Time in therapeutic range warfarin anticoagulation for atrial fibrillation in a community-based practice. Canadian Family Physician 2017; 63: e425-31.
16. Farsad BF, Abbasinazari M, Dabagh A, Bakshandeh H. Evaluation of time in therapeutic range (TTR) in patients with non-valvular atrial fibrillation receiving treatment with warfarin in Tehran, Iran: a cross-sectional study. Journal of Clinical and Diagnostic Research 2016; 10(9): FC04-FC06.
17. Urbonas G, Valius L, Sakalyte G, Petniunas K, Petniuniene I. The quality of anticoagulation therapy among warfarin-treated patients with atrial fibrillation in a primary health care setting. Medicina 2019; 55; 15: 1-11.
18. Reiffel JA. Time in the therapeutic range (TTR): an overly simplified conundrum. The Journal of Innovations in Cardiac Rhythm Management 2017; 8(3): 2643–2646.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.