ผลของการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก

ผู้แต่ง

  • วรรณคล เชื้อมงคล สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 26120
  • ณฤดี บุญนะฤธี สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 26120
  • ทิพกาญจน์ โมทนียชาติ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 26120

คำสำคัญ:

การติดสมาร์ทโฟน; สุขภาพกาย; สุขภาพจิต; ผลการเรียน; นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลด้านการใช้สมาร์ทโฟน ดัดแปลงจาก Thai version of smartphone addiction scale short version (SAS-SV) 3) ข้อมูลสุขภาพทางกาย ดัดแปลงจากเครื่องมือประเมินสุขภาพกายของ Chuemongkon และคณะ 4) ข้อมูลสุขภาพจิต ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย และภาวะวิตกกังวล ใช้แบบประเมินความวิตกกังวล Self-Rating Anxiety Scale (SAS) ฉบับภาษาไทย

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 432 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59.3) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 14.6 ปี ระยะเวลาที่ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่คือ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ความถี่ในการใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่คือ 11-20 ครั้งต่อวัน และพบว่านักเรียนร้อยละ 42.1 ติดสมาร์ทโฟน เมื่อวิเคราะห์ผลการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียน พบว่าการติดสมาร์ทโฟนมีผลต่อสุขภาพกายโดยรวมสุขภาพกายด้านสายตา และสุขภาพกายด้านการได้ยิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = <0.001, 0.020 และ 0.001 ตามลำดับ) และการติดสมาร์ทโฟนมีผลต่อภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001 และ 0.003 ตามลำดับ) แต่การติดสมาร์ทโฟนไม่มีผลต่อผลการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การติดสมาร์ทโฟนมีผลต่อสุขภาพกายโดยรวม และสุขภาพจิตด้านภาวะซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล แต่ไม่มีผลต่อผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก

References

1. National Statistical Office Thailand. Important results of ICT use among children and youth 2017. Bangkok: Text and Journal Publication; 2018.
2. Charmonman S, Mongkonwanich P, Pruksathaporn P, Saowapakpongchai K, Boonparit W. Behavior and opinions towards the use of mobile phones in term of smartphones among Thai teenagers in Bangkok. Bangkok: Siam Technology; 2014.
3. The American Cancer Society medical and editorial content team. Cellular phones [Internet]. 2018 [cited 2019 Jan 10]. Available from: https://www.cancer.org/cancer/cancer-causes/radiation-exposure/ cellular-phones.html.
4. Paul M. Your phone knows if you’re depressed [Internet]. 2015 [cited Jan 9, 2019]. Available from: https://news.northwestern.edu/stories/2015/07/your-phone-knows-if-youre-depressed.
5. Intolo P. Comparison of muscular pain during smartphone use among three age groups: elementary school student, high school student and office worker. J Health Syst Res 2018; 12(3): 328-341.
6. Kim J, Hwangb Y, Kanga S, Kim M, Kima T, Kim J, et al. Association between exposure to smartphones and ocular health in adolescents. Ophthal Epidemiol 2016; 23(4): 269-276.
7. Phanichsiri K, Tuntasood B. Social media addiction and attention deficit and hyperactivity symptoms in high school student in Bangkok. J Psychiatr Assoc Thailand 2016; 61(3): 191-204.
8. Chuemongkon W, Inthitanon T, Wangsate J. Impact of smartphone and tablet use on health and academic performance of pharmacy students at Srinakharinwirot University. Srinagarind Med J 2019; 34(1): 90-98.
9. Trangkasombat U, Likanapichitkul D. Depressive symtoms in children: a study using The Children’s Depression Inventory. J Psychiatr Assoc Thailand 1996; 41(4): 221-230.
10. Zung W. A rating Instrument for anxiety disorders. Psychosomatics 1971; 12(6): 371-379.
11. Khruakhorn S, Kanchanomai S, Kaewlek K, Jetjongjai N, Kumkong C, Nanon N. Prevalence and associated risk factors of thumb pain from using smartphone in secondary school students at Klongluang, Pathumthani. Thammasat Med J 2017;17(1):18-27.
12. Namwongsa S, Puntumetakul R, Swangnetr M. Prevalence of musculoskeletal disorders of smartphone users in Khon Kaen university students, Thailand. The 2th National Ergonomics Conference, Thailand; 20-22 December 2017; Twin tower. Bangkok: n.p.; 2017.
13. Waderich K, Peper E, Harvey R, Suter S. The psychophysiology of contemporary information technologies tablets and smartphones can be a pain in the neck. Proceeding of the 44th annual meeting of association for applied psychophysiology and biofeedback. USA: Portland; 2013.
14. Szyjkowska A, Gadzicka E, Szymczak W, Bortkiewicz A. The risk of subjective symptoms in mobile phone users in Poland-an epidemiological study. Int J Occup Med Environ Health 2014; 27: 293-303.
15. Pernsungnern P, Pornnoppadol C, Sitdhiraksa N, Buntub D. Social media addiction: prevalence and association with depression among 7th-12th grade students in Bangkok. Graduate research conference 2014; 2014 Mar 28; Khon Kaen, Thailand. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2014: 1132-1139.
16. Babadi-Akashe Z, Zamani BE, Abedini Y, Akbari H, Hedayati N. The relationship between mental health and addiction to mobile phones among university students of Shahrekord, Iran. Addict Health 2014; 6: 93-99.
17. Matar Boumosleh J, Jaalouk D. Depression, anxiety, and smartphone addiction in university students - a cross sectional study. PLoS ONE 2017; 12(8): e0182239.
18. Siew F, Nor S, Nor H, Nur A. The relationship between smartphone use and academic performance: a case of students in a Malaysian tertiary institution. Malaysian Online J Educ Technol 2017;5(4):58-70
19. Karnphat S. Smartphoner addiction of higher education students in Chiang Mai [Master of Arts in Digital Communication]. Chiang Mai; Maejo University; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

How to Cite

1.
เชื้อมงคล ว, บุญนะฤธี ณ, โมทนียชาติ ท. ผลของการติดสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพและผลการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 20 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 21 เมษายน 2025];36(4):474-81. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/251840