คุณลักษณะด้านการเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่นของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • เทิดศักดิ์ ผลจันทร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่น; คุณลักษณะ; นิสิตแพทย์

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์:แพทย์เป็นวิชาชีพที่มีพันธสัญญาต่อสังคม ต้องทำงานโดยเห็นแก่ประโยชน์ของผู้ป่วยก่อนประโยชน์ส่วนตน  ในสถานการณ์ที่ความเชื่อมั่นในการเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่นของแพทย์มีแนวโน้มลดลง โรงเรียนแพทย์จึงต้องให้ความสนใจในการพัฒนาผู้เรียนในด้านนี้มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านการเห็นประโยชน์ต่อผู้อื่นของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิธีการศึกษา:ศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ด้วยแบบสอบถามคุณลักษณะด้านการเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่นของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บข้อมูลจากนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรจำนวน 175 ราย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนด้วย ANOVA ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ F-test และทดสอบ Multiple Comparisons ด้วย Dunnett T3

ผลการศึกษา:  ผู้เข้าร่วมการศึกษา 175 ราย ระดับคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะด้านการเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่นของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เท่ากับ 3.20 วิธีรับเข้าศึกษามีความสัมพันธ์กับคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.05       

สรุป:  นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีพฤติกรรมเห็นแก่ประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นอยู่บ้าง โดยมีความแตกต่างกันในกลุ่มที่มีวิธีรับเข้าต่างกัน

References

1. American Board of Internal Medicine (ABIM) Foundation; American College of Physicians– American Society of Internal Medicine (ACPASIM) Foundation; European Federation of Internal Medicine. Medical professionalism in the new millennium: A physician charter. Ann Intern Med 2002; 136: 243–246.
2. Jones R. Declining altruism in medicine; understanding medical altruism is important in workforce planning. BMJ 2002; 324(7338): 624–625.
3. Rushton JP, Chrisjohn RD, Fekken GC. The altruistic personality and the self-report altruism scale. Pers Individ Dif 1981; 2(4): 293–302.
4. Pardo DA, Cortina JM. Validation of the Self-report altruism scale test in Columbian University Students. Anfora 2016; 23(41): 17-35.
5. Sanjai S, Vijayaprasad G. Selfless giving in medicine: a study of altruistic attitudes among medical students. Indian J Med Ethics 2018; 3(1): 28-34.
6. Filkowski MM, Cochran RN, Haas BW. Altruistic behavior: mapping responses in the brain. Neurosci Neuroecon 2016; 5: 65-75.
7. Coulter ID, Wilkes M, Der-Martirosian C. Altruism revisited: a comparison of medical, law and business students' altruistic attitudes. Med Educ 2007; 41(4): 341-345.
8. Warneken F, Tomasello M. Altruistic helping in human infants and young chimpanzees. Science 2006; 311(5765): 1301-1303.
9. Batson CD. Altruism in humans. New York: Oxford University Press; 2011.
10. ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ, ยศวีร์ สายฟ้า. โครงการ “การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2559.
11. Reis HT. Altruism. In: Baumeister RF, Kathleen DV, editors. Encyclopedia of social psychology. Thousand Oaks, Calif: Sage Publications; 2007: 29-30.
12. Gordon JJ, Evans HM. Learning medicine from the humanities. In: Swanwick T, editor. Understanding Medical Education : Evidence, Theory, and Practice. 1th ed. Chichester, West Sussex: Blackwell Pub; 2010: 83-98.
13. เทิดศักดิ์ ผลจันทร์, ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ. ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาคุณลักษณะชีวิตนิสิตแพทย์. พุทธชินราชเวชสาร 2557; 31(3): 396-411.
14. Meza JP, Passerman DS. Integrating Narrative Medicine and Evidence-Based Medicine: The Everyday Social Practice of Healing. New York, NY: CRC Press; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

How to Cite

1.
ผลจันทร์ เ, ช่วงฉ่ำ ไ. คุณลักษณะด้านการเห็นแก่ประโยชน์ต่อผู้อื่นของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 20 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 21 เมษายน 2025];36(4):482-7. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/251841