ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้โปรแกรม SMART AsthCOPD ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด

ผู้แต่ง

  • อนัญญา สองเมือง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ
  • ธนัฎชา สองเมือง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ

คำสำคัญ:

โรคหืด; บริบาลทางเภสัชกรรม; โปรแกรมคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ปัญหาจากการใช้ยา ส่งผลให้การรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากหอบกำเริบเพิ่มขึ้น เดิมเภสัชกรติดตามการใช้ยาโดยใช้แบบฟอร์มกระดาษ ซึ่งอาจสูญหาย และขาดความเชื่อมโยงกับเวชระเบียนผู้ป่วย จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชื่อโปรแกรม SMART AsthCOPD ขึ้นเพื่อแก้ปัญหา วัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาจากการใช้ยาระหว่างให้บริบาลทางเภสัชกรรม ศึกษาความถูกต้องของเทคนิคการใช้ยาพ่นสูดรูปแบบ Metered Dose Inhaler (MDI) และจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเนื่องจากหอบกำเริบ ก่อนและหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการใช้โปรแกรม SMART AsthCOPD  

วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลัง จากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหืดด้วย ICD-10 รหัส J45-J46 มารับบริการคลินิกโรคหืดผู้ใหญ่ และห้องยาคลินิกพิเศษครบ 3 ครั้ง ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2561 วิเคราะห์ผลลัพธ์ทางคลินิกตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 ถึง 31 ตุลาคม 2561 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของความถูกต้องในการใช้ยาพ่นรูปแบบ MDI และการมารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการกำเริบ โดยสถิติ McNemar’s test

ผลการศึกษา: เภสัชกรสามารถติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยครบ 3 ครั้ง จำนวน 497 ราย อายุเฉลี่ย 58.08 ± 15.25 ปี ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยาพ่นสูดไม่ถูกต้องตามเทคนิค พบร้อยละ 44.7 ซึ่งส่วนใหญ่พ่นยาด้วยตนเองและไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยพ่นยา การติดตามการใช้ยาพ่นสูด MDI หลังการบริบาลทางเภสัชกรรมครั้งที่ 3 พบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มใช้ยาพ่นสูดได้ถูกต้องทุกขั้นตอนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.0 เป็น 89.1 (p<0.001) ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน และนอนโรงพยาบาล เนื่องจากอาการหอบกำเริบ ลดลงจากร้อยละ 15.3 เป็น 5.6 และร้อยละ 6.2 เป็น 3.4 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001)

สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหืด ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาพ่นสูดถูกต้องมากขึ้น อีกทั้งช่วยให้เภสัชกรสามารถติดตามแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยลดการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากอาการของโรคหืดกำเริบ

References

1. สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูเนียนอุลตราไวโอเร็ต; 2555.
2. Easy Asthma/COPD Clinic. Khon Kaen University. [Assessed March 20, 2017] Available from: http://www.easyasthma.com.
3. Lertsinudom S, Boonsawat W, Samosorn C, Chanthawong S. Pharmacist’s Intervention on Managing Drug Related Problems in Easy Asthma Clinic, Srinagarind Hospital. IJPS 2008; 4(2): 13-23.
4. Rea HH, Scragg R, Jackson R. A case-control study of deaths from asthma. Thorax 1986; 41: 833-839.
5. Songmuang A, Songmuang T. Outcome of the inhalation technic monitoring card used in the pharmaceutical care provided to outpatients who used metered dose inhaler. TJHP 2016; 26(2): 71-80.
6. Lertsinudom S, Jinatongthai P. Development of Pharmaceutical Care Database Management Software for Asthmatic Patients in Order to Use Quality of Life Questionnaire in Routine Clinical Practice. IJPS 2011; 7(3): 55-60.
7. FitzGerald JM, Reddel H, Pedersen S, Becker A, de Jongste J, Lemanske R, et al. Global Strategy for Asthma Management and Prevention. Global Initiative for Asthma (GINA). 2014. [Assessed March 18, 2017] Available from: http//www.ginasthma.org.
8. สมพร จันทร์จรัสจิตต์. เภสัชกรรมในโลกที่เปลี่ยนแปลง: กลยุทธ์การพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรม. ศรีษะเกษ: สำนักพิมพ์พานทอง; 2558.
9. ธิดา นิงสานนท์, ฐิติมา ด้วงเงิน, วีรชัย ไชยจามร, และคณะ. แนวทางสำคัญสำหรับการบริบาลทางเภสัชกรรม (Essential Tools for Pharmaceutical Care): สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประชาชน; 2558.
10. สุณี เลิศสินอุดม. บทบาทของเภสัชกรในการบริบาลผู้ป่วยโรคหืด. ใน: สุณี เลิศสินอุดม. การบริบาลผู้ป่วยโรคหืด โรคโพรงจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2553: 73-85.
11. Songmuang T, Songmuang A. Pharmaceutical care monitoring in outpatients with drug related problems, before and after developing a computerized program. Proceeding of the 16th Asian Conference on Clinical Pharmacy; 2016 July 14-18; Seoul, Republic of Korea.
12. Jolly GP, Mohan A, Guleria R, Poulose R, George J. Evaluation of metered dose inhaler use technique and response to education training. Indian J Chest Dis Allied Sci 2015; 57: 17-20.
13. Ammari WG, Chrystyn H. Optimizing the inhalation flow and technique through metered dose inhalers of asthmatic adults and children attending a community pharmacy. J Asthma 2013; 50: 505-513.
14. Cochrane MG, Bala MV, Downs KE, et al. Inhaled corticosteroids for asthma therapy: patient compliance, devices, and inhalation technique. Chest 2000; 117: 542-550.
15. Alamoudi OS. Pitfalls of inhalation technique in chronic asthmatics. Effect of education program and correlation with peak expiratory flow. Saudi Med J 2003; 24: 1205-1209.
16. Tilly-Gratton A, Lamontagne A, Blais L, Bacon SL, Ernst P, Grad R, et al. Physician agreement regarding the expansion of pharmacist professional activities in the management of patients with asthma. Int J Pharm Pract 2017; 25(5): 335-342.
17. Mann A, Esse T, Abughosh SM, Serna O. Evaluating Pharmacist-Written Recommendations to Providers in a Medicare Advantage Plan: Factors Associated with Provider Acceptance. J Manag Care Spec Pharm 2016; 22(1): 49-55.
18. อรพรรณ โพชนุกูล. เคล็ดลับในการพิชิตโรคหืด. [เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562] เข้าถึงจาก: http://www.tac.or.th/web/index.php/education/knowledgeforpeople-menu/170-knowledge-1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-04

How to Cite

1.
สองเมือง อ, สองเมือง ธ. ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้โปรแกรม SMART AsthCOPD ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 4 ตุลาคาม 2021 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];36(5):577-85. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/252559