ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า, ภาวะซึมเศร้าหญิงตั้งครรภ์, ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าร่วมกับการพยาบาลปกติ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง วัดก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดบุตร อายุ 15-44 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 200 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 100 ราย ระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความรู้สึกซึมเศร้า (CES-D) 3)แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง (RSES) 4) แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคมและ 5) แบบวัดความสำเร็จในบทบาทการเป็นมารดา (MRAS) นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน (independent t-test) และสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t-test)
ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหลังการทดลอง พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าร่วมกับการพยาบาลปกติมีค่าคะแนนเฉลี่ย (7.01±2.25) ต่ำกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการพยาบาลปกติ (13.96±2.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หญิงหลังคลอด 24 ชั่วโมงได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้ามีค่าคะแนนเฉลี่ย (6.75±1.25) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า (16.55±1.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หญิงหลังคลอด 1 สัปดาห์ ได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้ามีค่าคะแนนเฉลี่ย (6.50±1.00) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า (16.75±1.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ หญิงหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ ได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้ามีค่าคะแนนเฉลี่ย (6.50±1.25) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า (16.25±1.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หญิงคลอดบุตรหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้ามีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคมหลังการทดลอง ความสำเร็จในบทบาทการเป็นมารดาหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย (41.00±2.50) สูงกว่าก่อนการทดลอง (33.42±2.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป: การศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการป้องกันภาวะซึมเศร้ามีผล ทำให้ภาวะซึมเศร้าของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดลดลง
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). 10 กันยายน ป้องกันการฆ่าตัวตายโลก กับ 10 เรื่องที่ควรรู้!. 10 กันยายน 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564] สืบค้นจาก : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30428,
กรมสุขภาพจิต. (2564). สลดปี 63 ตัวเลขคนไทยฆ่าตัวตายสูงลิ่ว กรมสุขภาพจิตแนะสำรวจตนเอง. [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564] สืบค้นจาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30594
ไพบูลย์ วรรณศิริ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 2563; 14(1): 485-492.
วรรณี นวลฉวี, ทวีศักดิ์ กสิผล, กนกพร นทีธนสมบัติ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอด. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิชาการ 2561; 21(42): 65-78.
ชญานิน บุญพงษ์มณี, Zauszniewski Pezzullo, จันทนา สการกุล. การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเสาะแสวงหาวิธีทางความปลอดภัย: หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เอช ไอ วี. วารสารวิจัยทางการพยาบาล 2546; 7(3): 161-174.
Juliana Dos Santos Vaz, Dayana Rodrigues Farias, Amanda Rodrigues Amorim Adegboye, Antonio Egidio Nardi, Gilberto Kac2.Omega-3 supplementation from pregnancy to postpartum to prevent depressive symptoms: a randomized placebocontrolled trial. BMC Pregnancy Childbirth 2017; 17: 180.
Srisaeng P. Self-esteem, Stressful Life Events, social support, and postpartum depression in adolescent mothers in Thailand. Cleveland, Ohio: Case Western Reserve University, 2003.
ศรีสมร ภูมนสกุล, อรพรรณ สมบูรณ์ทรัพย์,อุษา ศิริวัฒนโชค. การพัฒนาแบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา: ฉบับปรับปรุง และคุณสมบัติทางด้านการวัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2547; 22(1): 28-38.
Piyathida Chanda. The prevalence and an effect of the informational program to reduce depression on depression in teenage pregnancy. Chaiyaphum Med J 2017; 37(3): 5-15.
เสาวลักษณ์ เสียงนัน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองในการปฏิบัติบทบาทการเป็นมารดาต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างมารดาวัยรุ่น 15 -19 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.