Breast Cancer Patients’ Survival Rates after Diagnosis in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
Keywords:
Keyword : Breast cancer; Survival rate; Cancer registryAbstract
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์ : มะเร็งเต้านม (Breast Cancer, BC) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่การศึกษาส่วนใหญ่ติดตามผู้ป่วย BC เพียง 5 ปีเท่านั้น การศึกษานี้เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพและการเปรียบเทียบอัตรารอดชีพของผู้ป่วย BC หลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงเวลา 13 ปี
วิธีการศึกษา : แบบ Retrospective cohort study ข้อมูลทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ รหัสโรคมะเร็งสากล (ICD-O 3rd, C50.0 - C50.9) และยืนยันผลพยาธิวิทยา ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2560 และติดตามผู้ป่วยทุกรายจนกระทั่ง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 5,115 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan–Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95% สถิติทดสอบอัตรารอดชีพระหว่างกลุ่มโดยสถิติ Log-rank test
ผลการศึกษา : ผู้ป่วย BC 5,115 ราย เสียชีวิต 2,171 ราย อัตราตาย 7.8 ต่อ 100 ราย-ปี (95%CI; 7.5 - 8.2) ค่า
มัธยฐานการรอดชีพ 12.2 ปี (95%CI;11.1 - 14.2) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3, 5, 10 และ 13 ปีหลังการวินิจฉัยลดลงตามระยะเวลา โดยพบร้อยละ 86.5 (95%CI;85.6 - 87.4), 70.5 (95%CI;69.3 - 71.8), 62.6 (95%CI;61.3 – 64.0), 53.9 (95%CI;52.3 – 55.4) และ 48.2 (95%CI;46.1 - 50.4) ตามลำดับ
สรุป : ผู้ป่วย BC ที่ได้รับการวินิจฉัยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีอัตรารอดชีพลดลง ระยะเวลาติดตาม 13 ปี พบร้อยละ 48.2 หลังการวินิจฉัย ดังนั้นการป้องกันโดยการเพิ่มระบบการคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกและคัดกรองกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงและการวินิจฉัยระยะของโรค BC ที่ถูกต้อง รวมทั้งการรักษาอย่างรวดเร็วส่งผลให้อัตรารอดชีพสูงขึ้นตามไปด้วย
คำสำคัญ : มะเร็งเต้านม, อัตรารอดชีพ, ทะเบียนมะเร็ง
Abstract
Background and Objective: Breast Cancer (BC) survival rates are increasing, but most studies have only followed BC patients for 5 years. This study aimed to determine BC survival rates after diagnosis, over a 13 year period (2007-2020) for BC patients in Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.
Methods: This was a retrospective cohort study. We retrieved data from the Srinagarind Hospital-based cancer registry, which used the International Classification of Diseases for Oncology, 3rd edition; C50.0 - C50.9. Participants were5,115 BC patients who were histologically diagnosed between 2007 and 2017. All cases were followed up until 2020. Survival rates were estimated by the Kaplan-Meier method. We reported by median survival times with a 95% confidence interval. Comparison survival rate groups were estimated by Log-rank test.
Result: Overall, 2,171 of the 5,115 BC patients died during the study, corresponding to a mortality (Case-fatality) rate of 7.8 per 100 person-year. (95%CI;7.49 - 8.15). The median survival of BC was 12.2 years (95%CI; 11.1 - 14.2). The overall survival rates at 1, 3, 5, 10 and 13 years were 86.5% (95%CI; 85.6 - 87.4), 70.5% (95%CI; 69.3 - 71.8), 62.6% (95%CI; 61.3 – 64.0), 53.9% (95%CI; 52.3 – 55.4) and 48.2% (95%CI; 46.1 - 50.4), respectively.
Conclusion: The 13-year survival rate for BC patients after diagnosis was 48.2%. Primary prevention for BC and increasing early detection cancer screening program are needed to improve the BC survival rates.