Medical Students’ Knowledge of Diagnosis and Assessment of Physical Disability

Authors

  • Duangnapa Sirisopon Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital

Keywords:

Key words: Assessment of Physical Disability; Medical Student; Rehabilitation Medicine

Abstract

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 กำหนดให้แพทย์มีหน้าที่ในการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย แต่หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตยังให้ความสำคัญในประเด็นนี้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ของนิสิตแพทย์ในการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย และศึกษาทัศนคติของนิสิตแพทย์ที่มีต่อผู้พิการ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ผู้ให้ข้อมูล คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 จำนวน 45 ราย จากเครือข่ายคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลแพร่ และโรงพยาบาลพิจิตร ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ออกแบบโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 39 ราย (ร้อยละ 88.64) เคยผ่านการเรียนรู้ทักษะการประเมินความพิการ ร้อยละ 64.10 สำหรับความรู้ของนิสิตแพทย์ในการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 69.23) ส่วนปัจจัยด้านการเคยผ่านการเรียนวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูและปัจจัยด้านการรับรู้ถึง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรู้ของนิสิตแพทย์ในการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 อีกทั้ง ทัศนคติของนิสิตแพทย์ที่มีต่อผู้พิการ ได้แก่ ผู้พิการเป็นประชาชนที่มีสิทธิเท่าเทียมผู้อื่น (ร้อยละ 94.88) รองลงมา ผู้พิการคือกลุ่มบุคคลที่ควรได้รับโอกาสทางสังคม (ร้อยละ 58.97) และผู้พิการคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลรักษา (ร้อยละ 43.58) ตามลำดับ

สรุป: นิสิตแพทย์ส่วนใหญ่มีความรู้ในการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายที่ระดับปานกลางและมีทัศนคติในแง่บวกต่อผู้พิการ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนแพทย์ควรปรับปรุงหลักสูตรให้เอื้ออำนวยต่อทักษะทางวิชาชีพให้มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: ประเมินความพิการ; นิสิตแพทย์; รายวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

Background and Objective: The Empowerment of Persons with Disabilities Act, B.E.2550  set guidelines for  physicians who have  responsibility for diagnosis and assessment of persons with physical disability. But, the  Doctor of  Medicine  and related health professional education programs  give little  importance to this issue. Therefore, this research was designed to study medical students’ knowledge levels  diagnosis and assessment of physical disability and their  attitude toward physical disability.

Method: This  was a descriptive cross-sectional study. Informants were  45 6th year medical students  from 3 network schools of the  Faculty of Medicine, Naresuan University including: Phrae, Phichit & Somdejphrajaotaksinmaharaj. The study was carried out in the  2019 academic year. The instrument was a questionnaire designed by the researcher. Descriptive  statistics used were frequency , percentage, mean and S.D.

Result: The response rate was 88.64% (39 of 45 medical students returned the questionnaire), and 64.10%  had learned about disability assessment skills. The  students knowledge  on diagnosis and assessment of physical disability was mostly at the moderate level (69.23%).  Experience in rehabilitation medicine  andknowledge of the   Empowerment of  Persons with  Disabilities  Act were   significantly related to the  students knowledge of  diagnosis and assessment of physical disability.  Medical students’ attitudes toward persons with physical disability included: disabled  persons  had equal rights to others (94.88%),  were groups who should receive social opportunities (58.97%) and  were patients who needed treatment (43.58%), respectively.

Conclusion:  Most medical students had moderate  knowledge on diagnosis and assessment of physical disability  and had  positive attitudes towards persons with disabilities.  However, medical schools should improve their curriculum to promote professional skills and knowledge in this area.

Key words: Assessment of Physical Disability; Medical Student; Rehabilitation Medicine

Downloads

Published

2021-12-29

How to Cite

1.
Sirisopon D. Medical Students’ Knowledge of Diagnosis and Assessment of Physical Disability. SRIMEDJ [Internet]. 2021 Dec. 29 [cited 2024 Nov. 5];36(6):716-21. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/253392

Issue

Section

Original Articles