The ความถูกต้องของคู่มือการสอนสวนปัสสาวะด้วยตนเองแบบสะอาดในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการ
คำสำคัญ:
การสวนปัสสาวะด้วยตนเอง, คู่มือการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง, กระเพาะปัสสาวะพิการบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การสอนสวนปัสสาวะด้วยตนเองแบบสะอาด วิธีปฏิบัติไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขึ้นกับประสบการณ์แต่ละบุคคล จึงได้ศึกษาความถูกต้องของคู่มือการสอนสวนปัสสาวะด้วยตนเองแบบสะอาด เพื่อใช้เป็นแนวทางการสอนผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน
วิธีการศึกษา: ศึกษาความถูกต้องของเนื้อหา ความเหมาะสมทางภาษา และสื่อวิดีทัศน์ของคู่มือ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการวิเคราะห์ดัชนีสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) ข้อมูลที่ IOC ≥ 0.8 คือ ข้อมูลมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คู่มือจะถูกแก้ไขและวิเคราะห์จน IOC ≥ 0.8 และประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือสำหรับพยาบาล
ผลการศึกษา: การศึกษาความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ราย พบว่าความถูกต้องของคู่มือ ในหัวข้อคำแนะนำ วิธีประเมิน และการสวนปัสสาวะเพศชายมีค่า IOC = 0.33, 0.33 และ 0.66 ตามลำดับ การศึกษาความถูกต้องของสื่อวีดีทัศน์ พบว่า หัวข้อความรู้ การปฏิบัติ การสวนปัสสาวะเพศหญิงมีค่า IOC = 0.66 ปรับปรุงทุกหัวข้อให้ IOC ≥ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังอ่านคู่มือ ค่าเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลก่อนอ่านคู่มือสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่จบเฉพาะทางด้านการฟื้นฟู จำนวน 30 ราย เท่ากับ 15.43 คะแนน ค่าเฉลี่ยความรู้หลังอ่านคู่มือ เท่ากับ 17.17 คะแนน ดังนั้นพยาบาลมีความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.25) เท่ากับ 0.016 แตกต่างมากที่ 1.733
สรุป: คู่มือการสอนสวนปัสสาวะด้วยตนเองแบบสะอาดในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการ มีความถูกต้องของเนื้อหา ความเหมาะสมทางภาษา และสื่อวิดีทัศน์ พยาบาลมีความพอใจต่อคู่มือระดับมากและมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นหลังอ่านคู่มือ
References
Stover SL. Epidemiology of neurogenic bladder. Phys Med Rehabil Clin North Am 1993; 4: 211-20.
Teeranet G. Abnormality of Urinary incontinence and fecal incontinence. In: Aksaranukraha S, editor. Rehabilitation book,3rd ed. Bangkok: Technique Press, 1999:415-49.
Mark SD, Webster GD. Neurogenic bladder. In: Resnick MI, Older RA. Eds. Diagnosis of genitourinary disease, 2nd ed. New York: Thieme Stratton, 1997:501-15.
Cravens DD, Zweig S. Urinary catheter management. Am Fam Physician 2000;61:369-76.
Tamnanthong N, Manimmanakorn N, Chobcheun R, Hanpanich K. Rate of urinary tract infection in self-catheterization compared to nurse-catheterization for bladder training in patients with spinal cord lesion. J Thai Rehabil 1996;6:24-34.
Prieto-Fingerhut T, Banovac K, Lynne CM. A study comparing sterile and nonsterile urethral catheterization in patients with spinal cord injury. Rehabil Nurs 1997;22:299-302.
Schlager TA, Dilks S, Trudell J, Whittam TS, Hendley JO. Bacteriuria in children with neurogenic bladder treated with intermittent catheterization: Natural history. J Pediatr 1995;126:490-6.
Lin-Dyken DC, Wolraich ML, Hawtrey CE, Doja MS. Follow-up of clean intermittent catheterization for children with neurogenic bladders. Urology 1992;40:525-9.
Maynard FM. Long-term management of neurogenic bladder: Intermittent catheterization. Phys Med Rehabil Clin North Am 1993;4:299-310.
Perkash I, Giroux J. Clean intermittent catheterization in spinal cord injury patients: A follow up study. J Urol 1993;149:1068-71.
Tiloksakulchai F. Evidence-based nursing : principle and method. Bangkok: Pre-One, 2549.
Ingkasuthi K, Tamnanthong N, Hanpanich K. The correctiveness of the clean intermittent catheterization technique in patients with neurogenic bladder dysfunction. J Thai Rehab Med 2547;14(2):77-83.
Yoolong S. The development of self-study video aids for a master of ceremonies or a guest speaker via satellite tv for long distance learners. Master’sProject.M.Ed. (Educational Technology). Bangkok: Graduate School. Srinakharinwirot University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.