ประสิทธิผลของการรักษาโรคหัวใจล้มเหลวชนิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงด้วยยา Angiotensin Receptor Blocker/Neprilysin inhibitor ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผู้แต่ง

  • พงศธร พัชระสุภา ศูนย์โรคหัวใจ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำสำคัญ:

โรคหัวใจล้มเหลวชนิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง, ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโรค heart failure with reduced ejection fraction (HFrEF) ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี และได้เริ่มมีการใช้ยา angiotensin receptor blocker/neprilysin inhibitor (ARNI) ใน HF clinic จากงานวิจัยในต่างประเทศที่ผ่านมาพบว่ายา ARNI ช่วยให้อาการของโรค HFrEF ดีขึ้นด้วยหลายกลไก (เพิ่มการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ หลอดเลือดขยาย ต้านการเจริญของเซลล์และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหัวใจ) ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของยา ARNI ในผู้ป่วยโรค HFrEF ในเวชปฏิบัติจริงในประเทศไทย ผลทางคลินิกหลัก คือ improvement of left ventricular ejection fraction (LVEF), ผลทางคลินิกรอง คือ improvement of cardiac size (LA size, LVIDd) และ New York Heart Association Functional Classification (NYHA)

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลองกลุ่มเดียว (quasiexperiment one group pre-posttest study design)โดยเก็บข้อมูล (ข้อมูลทางกายภาพเฉพาะบุคคล, NYHA, โรคประจำตัว, ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจล้มเหลว ระยะเวลาที่เปลี่ยนมาใช้ยา ARNI สัญญาณชีพ ระดับโพแทสเซียมในเลือด, serum creatinine, eGFR, ผลตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง) ในผู้ป่วยโรค HFrEF ที่ได้รับยา ARNI ใน HF clinic ตั้งแต่ 1 กันยายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564 โดยเก็บข้อมูลจนครบ 12 เดือน

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัย 35 ราย (อายุเฉลี่ย 66.20 ±0.44 ปี), เพศชาย 26 ราย (ร้อยละ 74.3), ค่า mean LVEF (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) ร้อยละ 29.81 ±9.48, 48.05 ±9.80 และ49.58 ±9.32 ตามลำดับ, mean LVEF change (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน และหลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.25 (p<0.001), 19.77 (p<0.001) และ 1.52 (p=0.011) ตามลำดับ, ค่า cardiac size ลดลงดังนี้ ค่า mean LA size (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) 4.28 ±0.71 ซม., 4.05 ±0.62 ซม. และ 3.98 ±0.60 ซม. ตามลำดับ, mean LA size change (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน และหลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) ลดลง 0.22 ซม. (p<0.001), 0.30 ซม. (p<0.001) และ 0.08 ซม. (p=0.016) ตามลำดับ, ค่า mean LVIDd (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) 5.72 ±0.66 ซม., 5.52 ±0.61 ซม. และ 5.35 ±0.58 ซม. ตามลำดับ, mean LVIDd change (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน และหลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) ลดลง 0.21 ซม. (p<0.001), 0.37 ซม. (p<0.001) และ 0.16 ซม. (p<0.001) ตามลำดับ, ค่า median NYHA (เมื่อเริ่มต้นรักษา, หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 และ 12 เดือน) เท่ากับ 3.00 ±1.00, 2.00 ±1.00 และ 2.00 ±1.00 ตามลำดับ, NYHA (เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 3, เมื่อเริ่มต้นรักษากับหลังได้รับยา ARNI ที่ 12 เดือน) ลดลงเป็น 2.00 ±1.00 (p<0.001), 2.00 ±1.00 (p<0.001) ตามลำดับ, NYHA (หลังได้รับยา ARNI ที่ 3 กับ 12 เดือน) เท่าเดิมคือ 2.00 ±1.00 (p=0.317), ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับโพแทสเซียมในเลือด, ระดับ creatinine ในเลือด, ค่า eGFR และไม่พบภาวะความดันโลหิตต่ำในอาสาสมัคร

สรุป จากการศึกษาผลของยา ARNI ในผู้ป่วยโรค HFrEF พบว่าค่า LVEF และค่า cardiac size (LA size, LVIDd) ดีขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 3 และยังดีขึ้นอีกในเดือนที่ 12 หลังรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่า NYHA มีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 3 และยังดีอยู่จนถึงเดือนที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการศึกษา

References

Kanjanawanit R. Comprehensive heart failure management program. Chiang Mai: Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital; 2013.

Chunharas P, Yingchoncharoen T, Kunjara Na Ayuthaya R, editor. Heart failure council of Thailand (HFCT) 2019 heart failure guideline. Bangkok: Nextstep design; 2019.

Paulis L, Rajkovicova R, Simko F. New developments in the pharmacological treatment of hypertension: dead-end or a glimmer at the horizon?. Curr Hypertens Rep 2015;17(6):557. doi: 10.1007/s11906-015-0557-x.

Lillyblad MP. Dual angiotensin receptor and neprilysin inhibition with sacubitril/valsartan in chronic systolic heart failure: understanding the new PARADIGM. Ann Pharmacother 2015;49:1237-51.

Bavishi C, Messerli FH, Kadosh B, Ruilope LM, Kario K. Role of neprilysin inhibitor combinations in hypertension: insights from hypertension and heart failure trials. Eur Heart J 2015;36(30):1967-73.

Wang Y, Seto SW, Golledge J. Angiotensin II, sympathetic nerve activity and chronic heart failure. Heart Fail Rev 2014;19(2):187-98.

McMurray JJ, Packer M, Desai AS, Gong J, Lefkowitz MP, Rizkala DR, et al. Angiotensin-neprilysin inhibition versus enalapril in heart failure. N Engl J Med 2014;371(11):993-1004.

James L, Januzzi Jr, Margret FP, Javed B, Michael F, Alan SM, et al. Association of change in N-terminal pro-b-type natriuretic peptide following initiation of sacubitril-valsartan treatment with cardiac structure and function in patients with heart failure with reduced ejection fraction. J Am Med Assoc 2019;322(11):1085-95.

Hunt PJ, Yandle TG, Nicholls MG, Richards AM, Espiner EA. The amino-terminal portion of pro-brain natriuretic peptide (Pro-BNP) circulation human plasma. Biochem Biophys Res Commun 1995;214(3):1175-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-24

How to Cite

1.
พัชระสุภา พ. ประสิทธิผลของการรักษาโรคหัวใจล้มเหลวชนิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงด้วยยา Angiotensin Receptor Blocker/Neprilysin inhibitor ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 24 กุมภาพันธ์ 2023 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];38(1):37-44. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/256202