ผลลัพธ์การผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่: ประสบการณ์ 10 ปีจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พลากร สุรกุลประภา สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุธีรา ประดับวงษ์ ศูนย์ตะวันฉาย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กมลวรรณ เจนวิถีสุข สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พูนศักดิ์ ภิเศก สาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปัทมา ปัญญาวงศ์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เก่งกาจ วินัยโกศล สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุทิน จินาพรธรรม สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น สาขาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปากแหว่ง เพดานโหว่, การผ่าตัด, ผลลัพธ์การรักษา, ศูนย์ตะวันฉาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ศูนย์ตะวันฉาย เป็นศูนย์กลางการให้บริการดูแล รักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ของประเทศไทย ได้ร่วมมือกับองค์กร Smile Train สหรัฐอเมริกา ในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าถึงการผ่าตัดรักษา ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่ต้องศึกษาผลลัพธ์การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และเทียบเคียงร้อยละของการผ่าตัดในแต่ละช่วงอายุกับค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (retrospective cohorts study) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกับศูนย์ตะวันฉาย 10 ปี (ปี พ.ศ. 2553 ถึง 2562) จำนวน 1,085 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบเก็บข้อมูลจากระบบ Smile Train Express จำแนกตาม เพศ อายุ ชนิดของปากแหว่ง/เพดานโหว่ น้ำหนัก หัตถการและจำนวนครั้งการผ่าตัด และแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดของศูนย์การดูแลฯ 2 ด้าน ใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยผ่าตัด 1,422 ครั้ง ส่วนใหญ่เพศชาย 551 ราย (ร้อยละ 50.78) มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างซ้าย/ขวา จำนวน 412/224 ราย (ร้อยละ 37.97/20.64) ผ่าตัด Cheiloplasty 412 ราย ในช่วงอายุ 3-6 เดือน 318 ราย (ร้อยละ 77.18)  Palatoplasty 370 ราย ในช่วงอายุ 10-18 เดือน 290 ราย (ร้อยละ 78.38) ซึ่งเทียบเคียงแล้วไม่ถึงค่าเป้าหมาย ส่วนการปลูกถ่ายกระดูกสันเหงือกมี 242 ราย ผ่าในช่วงอายุ 8-12 ปี 102 ราย (ร้อยละ 42.15) และคลอดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 118 ราย (ร้อยละ 10.87)

สรุป: จากประสบการณ์ 10 ปี ในการดูแลผู้ป่วยของศูนย์ตะวันฉาย การผ่าตัดปากแหว่ง เพดานโหว่ตามช่วงอายุไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ การเกิดรูรั่วของเพดานปากลดลง ความพึงพอใจของผู้ดูแลในภาพรวมสูงขึ้นเกือบถึงร้อยละ 100 อย่างไรก็ตามคุณภาพการดูแลรักษาของทีมยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

Tawanchai Center. History of Tawanchai Center. [Internet]. 2021 [cited Jul 15, 2021].

Available from: https://kkucleft.kku.ac.th/index.php?history=101

Smile Train. We want our cause to be yours [Internet]. 2016 [cited Jul 13, 2021]. Available from: https://www.smiletrain.ph/our-cause

Mongkhonthawornchai S, Pradubwong S, Augsornwan D, Pathumwiwatana P, Sroyhin W, Pongpagatip S, et al. Development and monitoring the key performance indicators of the quality of care for patients with cleft lip/palates at Srinagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2015;98(Suppl 7):60-7.

Punyavong P, Pradubwong S, Winaikosol K, Jenwitheesuk K, Surakunprapha P, Chowcheun B. Treatment outcomes in four-to seven-year-old patients with cleft lip and palate in Tawanchai Center, Srinagarind Hospital: fistula incidence after cleft palate repair. J Med Assoc Thai 2019;102(Suppl 5):5-9.

Volrathongchai K, Chowcheun B, Pradubwong S. Enhancing accessibility of patients cleft lip/palate to healthcare services via a cleft birth registration system. J Med Assoc Thai 2014; 97(Suppl 10):32-6.

Paggasang Y, Pradubwong S, Piyakulmala C, Pisek A. Problems with access to services for orofacial clefts patients. Srinagarind Med J 2022;37(4):331-6.

Pradubwong S, Pongpagatip S, Pathumwiwatana P, Kiatchoosakun P, Panamonta M, Chowcheun B. Treatment of 4-5-year-old patients with cleft lip and cleft palate in Tawanchai Center: Prevalence and type of associationed malformations. J Med Assoc Thai 2014;97 (Suppl 10):1-6.

Fuangtharnthip P, Chonnapasatid W, Thiradilok S, Manopatanakul S, Jaruratanasirikul S. Registry-based study of prevalence of cleft lip/palate in Thailand from 2012 to 2015. Cleft Palate Craniofac J 2021;58(11):1430-7. doi: 10.1177/1055665620987677

Pradubwong S, Augsornwan D, Namjaitaharn S, Saenbon O, Wongkham J, Muknumporn T, et al. Update interdisciplinary clinical practice guideline for patients with cleft lip and palate at prenatal until 5 years. Srinagarind Med J 2020;35(6):700-6.

Thohinung U, Prathanee B. Caregivers’ role in caring for children with cleft lip-palate in mobile speech camp. J Med Assoc Thai 2016;99(Suppl 5):21-8.

Pradubwong S, Surit P, Pongpagatip S, Pethcharat T, Chowchuen B. Evidence-triggers for care of patient with cleft lip and palate in Srinagarind Hospital: The Tawanchai Center and out-patients surgical room. J Med Assoc Thai 2016;99(Suppl 5):43-50.

Thanapaisal C, Punyavong P, Jenwitheesuk K, Surakunprapha P, Winaikosol K. Buccal fat pad: adjunctive procedure for lateral defect coverage following primary palatoplasty. Plast Reconstr Surg 2022;149(5):1180-5. doi: 10.1097/PRS.0000000000009037

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-19