การพัฒนารูปแบบสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชน

ผู้แต่ง

  • จักรวาล หารไชย โรงพยาบาลกุมภวาปี อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบสนับสนุนครอบครัว, ครอบครัว, วัยรุ่น, ยาและสารเสพติด

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชนโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง เพื่อมุ่งเน้นที่การสนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลผู้ติดสารเสพติด

วิธีการศึกษา: เปรียบเทียบผลการศึกษาในเรื่อง ภาวะสุขภาพ  คุณภาพชีวิต  ทัศนคติต่อผู้ใช้สารเสพติด และการทำหน้าที่ของครอบครัว ภายในและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ดูแลผู้สารเสพติด ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จำนวน 60 ราย กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมมีการวัด 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชนและแบบประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ประกอบด้วย GHQ-28, WHOQOL-BREF-THAI, FAS, FFS และคำถามเชิงโครงสร้าง เก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi square และ Repeated Measures ANOVA

ผลการศึกษา: จากผลการทดลองเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ภาวะสุขภาพ (คะแนนค่าเฉลี่ยจาก GHQ-28) คุณภาพชีวิต(คะแนนค่าเฉลี่ยจาก WHOQOL-BREF-THAI) ทัศนคติต่อผู้ใช้สารเสพติด (คะแนนค่าเฉลี่ยจาก FAS) และการทำหน้าที่ของครอบครัว (คะแนนค่าเฉลี่ยจาก FFS) ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยขนาดอิทธิพล (effect size) เท่ากับ 0.29, 0.29, 0.34,0.30 ตามลำดับ

สรุป: รูปแบบสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชนมีความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลผู้ติดสารเสพติด

References

Canton H. United Nations Office on Drugs and Crime-UNODC. In the Europa Directory of International Organizations 2021. 2021 Jul 28 (pp. 240-244). Routledge. doi.org/10.4324/9781003179900-33

Addington J, Piskulic D, Devoe DJ, Santesteban-Echarri O, Stowkowy J. Indicated prevention in psychosis risk-psychological approaches. Risk Factors for Psychosis 2020 :351-70. doi.org/10.1016/B978-0-12-813201-2.00018-1

Khamchiangta A, Kavanagh DJ, Shochet. Thai family support (TFS): working with families of young substance users in primary health care. [PhD Thesis]. Queensland University of Technology; 2012.

Velleman R, Arcidiacono C, Procentese F, Copello A, Sarnacchiaro P. A 5-step intervention to help family members in Italy who live with substance misusers. J Mental Health 2008;17(6):643-55.

doi.org/10.1080/09638230701677761

Copello A, Templeton L, Orford J, Velleman R. The 5-Step Method: Evidence of gains for affected family members. Drugs: Education, Prevention & Policy. 2010;17(sup1):100-12. doi.org/10.3109/09687637.2010.514234

Salomonsen-Sautel S, Sakai JT, Thurstone C, Corley R, Hopfer C. Medical marijuana use among adolescents in substance abuse treatment. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry 2012;51(7):694-702. doi.org/10.1016/j.jaac.2012.04.004

Viets VL. CRAFT: Helping Latino families concerned about a loved one. Alcoholism Treatment Quarterly. 2007;25(4):111-23. doi.org/10.1300/J020v25n04_08

McCann TV, Polacsek M, Lubman DI. Experiences of family members supporting a relative with substance use problems: a qualitative study. Scand J Caring Sci 2019;33(4):902-11. doi.org/10.1111/scs.12688

Lewis P. Supporting the families of young people with problematic drug use: Investigating support options. 2008.

Copello A, Templeton L, Orford J, Velleman R, Patel A, Moore L, MacLeod J, Godfrey C. The relative efficacy of two levels of a primary care intervention for family members affected by the addiction problem of a close relative: a randomized trial. Addiction. 2009;104(1):49-58. doi.org/10.1111/j.1360-0443.2008.02417.x

Orford J, Natera G, Copello A, Atkinson C, Mora J, Velleman R, et al. Coping with alcohol and drug problems: The experiences of family members in three contrasting cultures. Routledge; 2013 Jan 11. doi.org/10.4324/9780203759608

Orford J, Velleman R, Copello A, Templeton L, Ibanga A. The experiences of affected family members: A summary of two decades of qualitative research. Drugs: Education, Prevention and Policy. 2010;17(sup1):44-62. doi.org/10.3109/09687637.2010.514192

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26

How to Cite

1.
หารไชย จ. การพัฒนารูปแบบสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชน. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 26 เมษายน 2023 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];38(2):145-51. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/258115