ระยะโรคสงบในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่คลินิกโรคข้อโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ระยะโรคสงบ, การบรรลุเป้าหมายการรักษา, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis; RA) เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยมี ความชุกของโรคนี้แตกต่างกันในกลุ่มประชากรทั่วโลกและมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายการรักษา โรงพยาบาลขอนแก่นซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยังไม่เคยมีการศึกษาผลลัพธ์การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อย่างเป็นระบบมาก่อน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสัดส่วนผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะโรคสงบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่คลินิกโรคข้อ โรงพยาบาลขอนแก่น
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึง มกราคม 2563 ที่เข้าเกณฑ์การแยกโรคตาม American college of Rheumatology(ACR)1987 revised criteria for the classification of RAหรือ 2010 Rheumatoid Arthritis Classification Criteria, อายุมากกว่า 18 ปี, เคยได้รับหรือได้รับยา disease-modifying anti-rheumatic drugs (DMARDs) อย่างน้อย 1 ชนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ทบทวนข้อมูลจากแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยดังนี้ ข้อมูลทั่วไป, ลักษณะของโรค, ผลทางห้องปฏิบัติการและภาพถ่ายรังสี, การใช้ยา DMARDs ทั้งชนิด จำนวน รูปแบบ, และผลลัพธ์การรักษาวัดด้วยคะแนนชี้วัดการอักเสบ disease activity score 28 (DAS 28) โดยกำหนดเกณฑ์ระยะโรคสงบ คือ การบรรลุเป้าหมายการรักษา (DAS 28 < 3.2)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยผ่านเกณฑ์การคัดเข้า 320 ราย เป็นเพศหญิง 263 ราย (ร้อยละ 82.2) มีอายุเฉลี่ย 56.5±17.6 ปี ค่ามัธยฐานระยะเวลาของโรค 71 (IQ = 79) เดือน โรคร่วมที่พบบ่อย คือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 41) และโรคข้อเสื่อมแบบทุติยภูมิ (ร้อยละ 49.7) ตรวจพบค่าวิทยาน้ำเหลือง Rheumatoid factor (RF) ร้อยละ 45.3 พบการกัดกร่อนของข้อก่อนรักษาร้อยละ 42.2 ส่วนใหญ่ใช้ยา DMARDs ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (ร้อยละ 57.8) ประกอบด้วย methotrexate เป็นหลัก (ร้อยละ 92.8) ค่ามัธยฐานระยะเวลาการใช้ prednisolone 15.5 (IQ = 26) เดือน ปริมาณเฉลี่ย 2.5 (SD = 5) มิลลิกรัม ผลลัพธ์การรักษาพบว่า บรรลุเป้าหมายการรักษา (DAS 28 < 3.2) ร้อยละ 15.6 มีการอักเสบปานกลาง (DAS 28 > 3.2 – 5.1) ร้อยละ 70.3 และการอักเสบสูง (DAS 28 > 5.1) ร้อยละ 14.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะโรคสงบ (DAS 28 < 3.2) คือ การใช้ยา DMARDs สูตรปัจจุบันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ชนิด (OR 2.08 ,95% CI = 1.0-4.31)ในขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่บรรลุเป้าหมายการรักษา คือ การมีโรคร่วม (OR 0.41 ,95% CI = 0.19-0.92) และโรคข้อเสื่อมแบบทุติยภูมิ (OR 0.26, 95% CI = 0.10-0.70)
สรุป: ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เข้าสู่ระยโรคสงบโดยบรรลุเป้าหมายการรักษา (DAS 28 < 3.2) จำนวน 50 ราย (ร้อยละ 15.6) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะโรคสงบ (DAS 28 < 3.2) คือ การใช้ยา DMARDs สูตรปัจจุบันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ชนิดในขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่บรรลุเป้าหมายการรักษา คือ การมีโรคร่วม และโรคข้อเสื่อมแบบทุติยภูมิ
References
Alamanos Y, Voulgari PV, Drosos AA. Incidence and prevalence of rheumatoid arthritis, based on the 1987 American College of Rheumatology criteria: a systematic review. Semin Arthritis Rheum 2006;36(3):182–8. doi: 10.1016/j.semarthrit.2006.08.006.
Lipsky PE. Rheumatoid Arthritis. In: Fauci A, et al. editors. Harrison’s Principles of Internal Medicine 17th ed. New York: McGraw Hill; 2008:2083-92.
Alamanos Y, Drosos AA. Epidemiology of adult rheumatoid arthritis. Autoimmun Rev 2005;4(3):130–6. doi: 10.1016/j.autrev.2004.09.002.
Chopra A, Abdel-Nasser A. Epidemiology of rheumatic musculoskeletal disorders in the developing world. Best Pract Res Clin Rheumatol 2008;22(4):583–604.
Singh JA, Furst DE, Bharat A, Curtis JR, Kavanaugh AF, Kremer JM, et al. 2012 update of the 2008 American College of Rheumatology recommendations for the use of disease-modifying antirheumatic drugs and biologic agents in the treatment of rheumatoid arthritis. Arthritis Care Res (Hoboken) 2012;64(5):625–39. doi:10.1002/acr.21641.
Smolen JS, Landewé R, Breedveld FC, Buch M, Burmester G, Dougados M, et al. EULAR recommendations for the management of rheumatoid arthritis with synthetic and biological disease-modifying antirheumatic drugs: 2013 update. Ann Rheum Dis 2014;73(3):492–509. doi:10.1136/annrheumdis-2013-204573.
Gotzsche PC, Johansen HK. Short-term low-dose corticosteroid vs placebo and nonsteriodal antiinflamatory drugs in rheumatoid arthritis. Cochrane Database Sys Rev 2004;2005(3):CD000189. doi: 10.1002/14651858.CD000189.pub2.
Smolen JS, Aletaha D, Bijlsma JWJ, Breedveld FC, Boumpas D, Burmester G, et al. Treating rheumatoid arthritis to target: recommendations of an international task force. Ann Rheum Dis 2010;69(4):631–7. doi:10.1136/ard.2009.123919.
Fransen J, van Riel PL. The disease activity score and the EULAR response criteria. Clin Exp Rheumatol 2005;23(5 Suppl 39):S93-9.
Fransen J, van Riel PL. The disease activity score and the EULAR response criteria Rheum. Dis Clin North Am 2009 ; 35(4):745-57, vii-viii. doi: 10.1016/j.rdc.2009.10.001. Review
Van Riel PL, The development of the disease activity score (DAS) and the disease activity score using 28 joint counts (DAS28). Clin Exp Rheumatol 2014;32(5 Suppl 85):S-65-74.
Medical practice guidelines for the diagnosis and treatment of rheumatoid arthritis, 2014. [Cited May 12, 2023]. https://www.thairheumatology.org/index.php/learning-center/for-physician/for-physician-3?view=article&id=73:1-29&catid=16.
Klarenbeek NB, Güler-Yüksel M, van der Kooij SM, Han KH, Ronday HK, Kerstens PJSM, et al. The impact of four dynamic, goal-steered treatment strategies on the 5-year outcomes of rheumatoid arthritis patients in the BeSt study. Ann Rheum Dis 2011;70(6):1039–46.
Katchamart W, Johnson S, Lin H-JL, Phumethum V, Salliot C, Bombardier C. Predictors for remission in rheumatoid arthritis patients: A systematic review. Arthritis Care Res (Hoboken) 2010 ;62(8):1128–43. doi:10.1002/acr.20188.
Arnett FC, Edworthy SM, Bloch DA, McShane DJ, Fries JF, Cooper NS, et al. The American Rheumatism Association 1987 revised criteria for the classification of rheumatoid arthritis. Arthritis Rheum 1988;31(3):315–24. doi:10.1002/art.1780310302.
Kay J, Upchurch KS. ACR/EULAR 2010 rheumatoid arthritis classification criteria. Rheumatology (Oxford) 2012;51 (Suppl 6):vi5-9.
Tantiwong P, Nanagara R, Foocharoen C, Mahakkanukrauh A, Suwannaroj S. Disease modifying anti-rheumatic drugs [Dmards] used and treatment outcome of rheumatoid arthritis in Rheumatology clinic, Srinagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2018;101(7):31-39.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.