ปัจจัยทางคลินิกที่สัมพันธ์กับความต้องการขนาดยาวาร์ฟารินที่ต่ำ ปานกลาง และสูง ในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • สุธาทิพย์ จันทระ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย
  • อรวรรณ ภัทรวิมลไชย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย
  • พลากร จันทรนิมิ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางคลินิก, ขนาดยาวาร์ฟาริน, ผู้ใหญ่, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ความต้องการขนาดยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาดและมีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกได้มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการขนาดยาวาร์ฟารินที่ต่ำ ปานกลางและสูง ในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20-59 ปี และผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

วิธีการศีกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณาย้อนหลัง 8 ปี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 ในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ที่มีค่า INR อยู่ระหว่าง 2.0-3.0 โดยปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนักตัว ระยะของโรคไตเรื้อรัง โรคประจำตัวและยาที่ผู้ป่วยได้รับ

ผลการศึกษา:  มีผู้ป่วยทั้งหมด 672 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุร้อยละ 63.7 เพศหญิงร้อยละ 52.7  อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยสูงอายุ คือ 63.4 ± 11.7, 51.2±6.8 และ 70.3±7.3 ปีตามลำดับ ขนาดยาเฉลี่ย คือ 20.4 ± 9.6, 25.3±9.9 และ17.6±8.3 มก./สัปดาห์ ตามลำดับ ขนาดยาเฉลี่ยในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุจะต่ำกว่าผู้ป่วยผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 30 ในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ขนาดยาของเพศชายสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.004) ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากต้องการขนาดยาสูงในทั้ง 2 กลุ่ม  โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5 (<60 มล./นาที/1.73ตร.ม.) ขนาดยาจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ (p<0.001) ขนาดยาเฉลี่ยที่ต่ำ ปานกลาง และสูง ในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ คือ 14.1±2.5, 24.6±4.4 และ 42.7±7.3 มก./สัปดาห์ ตามลำดับ ขณะที่ในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ คือ 8.7±1.5, 15.2±2.4 และ 27.5±7.0 มก./สัปดาห์ ตามลำดับ ผู้ป่วยผู้ใหญ่ อายุน้อยกว่า 50 ปีและน้ำหนักตัวมากมีแนวโน้มที่ต้องการขนาดยาสูงขึ้น  ขณะที่ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป น้ำหนักตัวน้อย  เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5  มีภาวะโลหิตจาง ประวัติเลือดออกผิดปกติ โรคตับ และได้รับยา Amiodarone มีแนวโน้มที่ต้องการขนาดยาต่ำลง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายขนาดยาวาร์ฟารินมากที่สุดคือ อายุ น้ำหนักตัว และโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-5

สรุป: ควรเริ่มหรือปรับขนาดยาวาร์ฟารินในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุในขนาดที่ต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่โดยพิจารณาปัจจัยทางคลินิกอื่นๆ ประกอบด้วย ซึ่งได้แก่ อายุ น้ำหนักตัว ระยะของโรคไตเรื้อรัง ภาวะโลหิตจาง ประวัติเลือดออกผิดปกติ โรคตับและได้รับยา Amiodarone 

References

Hirsh J, Fuster V, Ansell J, Halperin JL. American Heart Association/American College of Cardiology Foundation guide to warfarin therapy. Circulation 2003;107:1692-711. doi.org/10.1161/01.CIR.0000063575.17904.4E

Nathisuwan S. The use of oral anticoagulant drugs. In: Arunmanakul P, Nathisuwan S, editors. Guidelines for pharmaceutical care in patients receiving anticoagulant drugs. Bangkok: The Association of Hospital Pharmacy (Thailand); 2016:1-24.

Suwanawiboon B, Kongtim P, Chinthammitr Y, Ruchutrakool T, Wanachiwanawin W. The efficacy of 3-mg warfarin initiating dose in adult Thai patients, who required long-term anticoagulant therapy. J Med Assoc Thai 2011;1:S225-31.

Pongbangli N, Phrommintikul A, Wongcharoen W. Simplified warfarin dosing formula to guide the initiating dose in thai patients. J Med Assoc Thai 2019;102(9):957-61.

Mueanjanjaem K, Optimum and clinical factors affecting the stable maintenance dose of warfarin at Ratchaburi Hospital. Hua Hin Sook Jai Klai Kang Won J 2020;5(1):18-29.

Kaewmoongkun S, Wattanachai N, Tassaneeyakul W. Clinical and environmental factors affecting the stable dose of warfarin therapy. The National and International Graduate Research Conference 2016;775-83.

Krittayaphong R, Kunjara-Na-Ayudhya R, Ngamjanyaporn P, Boonyaratavej S, Komoltri C, Yindeengam A, et al. Optimal INR level in elderly and non-elderly patients with atrial fibrillation receiving warfarin: a report from the COOL-AF nationwide registry in Thailand. J Geriatr Cardiol 2020;17(10):612-20.

Whitley HP, Fermo JD, Chumney EC, Brzezinski WA. Effect of patient-specific factors on weekly warfarin dose. Ther Clinical Risk Manag 2007;3(3):499-504.

Clinical practice recommendations for evaluation and management of chronic kidney disease in adult 2022 (Revised edition) Thai: The Nephrology Society of Thailand/Available from: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2023/03/CKD-guideline-2565-revised-edition.pdf

Cho HJ, Sohn KH, Park HM, Lee KH, Choi BY, Kim S, et al. Factors affecting the interindividual variability of warfarin dose requirements in adult Korean patients. Pharmacogenomics 2007;8(4):329–37. doi.org/10.2217/14622416.8.4.329

Wattanachai N, Kaewmoongkun S, Pussadhamma B, Makarawate P, Wongvipaporn C, Kiatchoosakun S, et al. The impact of non-genetic and genetic factors on a stable warfarin dose in Thai patients. Eur J Clin Pharmacol 2017;73:973–80. doi.org/10.1007/s00228-017-2265-8

Singla DL, Morrill GB. Warfarin maintenance dosages in the very elderly. Am J Health Syst Pharm 2005;62(10):1062-66. doi.org/10.1002/phar.2089

Garcia D, Regan S, Crowther M, Hughes RA, Hylek EM. Warfarin maintenance dosing patterns in clinical practice: implications for safer anticoagulation in the elderly population. Chest 2005;127(6):2049-56.

Shendre A, Parmar GM, Dillon C, Beasley TM, Limdi NA. Influence of age on warfarin dose, anticoagulation control, and risk of hemorrhage. Pharmacotherapy 2018;38(6):588–96.

Mueller JA, Patel T, Halawa A, Dumitrascu A, Dawson NL. Warfarin dosing and body mass index. Ann Pharmacother 2014;48:584-88. doi.org/10.1177/1060028013517541

Wallace JL, Reaves AB, Tolley EA, Oliphant CS, Hutchison L, Alabdan NA, et al. Comparison of initial warfarin response in obese patients versus non-obese patients. J Thromb Thrombolysis 2013;36:96-101. doi.org/10.1007/s11239-012-0811-x

Limdi NA, Limdi MA, Cavallari L, Anderson AM, Crowley MR, Baird MF, et al. Warfarin dosing in patients with impaired kidney function. Am J Kidney Dis 2010;5:823-31. doi.org/10.1053/j.ajkd.2010.05.023

Ichihara N, Ishigami T, Umemura S. Effect of impaired renal function on the maintenance dose of warfarin in Japanese patients. J Cardiol 2015;65(3):178–84. doi.org/10.1016/j.jjcc.2014.08.008

Limdi NA, Beasley TM, Baird MF, Goldstein JA, McGwin G, Arnett DK, et al. Kidney function influences warfarin responsiveness and hemorrhagic complications. J Am Soc Nephrol 2009;20(4):912-21. doi.org/10.1681/ASN.2008070802

Kleinow ME, Garwood CL, Clemente JL, Whittaker P. Effect of chronic kidney disease on warfarin management in a pharmacist-managed anticoagulation clinic. J Manag Care Pharm 2011;17(7):523-30. doi.org/10.18553/jmcp.2011.17.7.523

Lip GY, Frison L, Halperin JL, Lane DA. Comparative validation of a novel risk score for predicting bleeding risk in anticoagulated patients with atrial fibrillation: the HAS-BLED (hypertension, abnormal renal/liver function, stroke, bleeding history or predisposition, labile INR, elderly, drugs/alcohol concomitantly) score. J Am Coll Cardiol 2011;57:173–80. doi.org/10.1016/j.jacc.2010.09.024

Diana MR, Marie L, Rickard E. Risk factors for severe bleeding events during warfarin treatment: the influence of sex, age, comorbidity and co-medication. Eur J of Clin Pharmacol 2020;76:867–76. doi.org/10.1007/s00228-020-02856-6

Holbrook AM, Pereira JA, Labiris R, McDonald H, Douketis JD, Crowther M, et al. Systematic overview of warfarin and its drug and food interaction. Arch Intern Med 2005;165:1095-106. doi.org/10.1001/archinte.165.10.1095

Choicharnchaikul S, Malathum P, Karnchanachari S. The use of warfarin in older adults.: a case study and caring. Rama Nurs J 2008;14:366-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20

How to Cite

1.
จันทระ ส, ภัทรวิมลไชย อ, จันทรนิมิ พ. ปัจจัยทางคลินิกที่สัมพันธ์กับความต้องการขนาดยาวาร์ฟารินที่ต่ำ ปานกลาง และสูง ในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลเลย. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 20 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 4 เมษายน 2025];38(3):291-302. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/258157