ความสัมพันธ์ระหว่างการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม กับการเกิดภาวะลองโควิด อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2565
คำสำคัญ:
ภาวะลองโควิด, การรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม, ผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19, โมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไปบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: องค์การอนามัยโลกยืนยันว่าภาวะลองโควิด (Long covid) เกิดขึ้นจริง ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในระยะยาวได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม กับการเกิดภาวะลองโควิด อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ในผู้ป่วย 361 ราย โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคโควิด-19 (2564-2565) อายุ 20-60 ปี ที่ได้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล จากนั้นติดตามอาการภาวะลองโควิดของผู้ป่วยทุกราย และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLM)
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะลองโควิด 180 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 49.8 ต่อ 100 ราย/60 วัน (95% CI; 44.7 ถึง 55.0) การได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 2 เข็มขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับภาวะลองโควิดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.166) นั่นคือ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 1 เข็ม มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลองโควิดเป็น 1.03 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน (Adj RR=1.03; 95% CI; 0.86 ถึง 1.22) และผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 2 เข็ม ขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลองโควิดเป็น 0.88 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน (Adj RR=0.88; 95% CI; 0.76 ถึง 1.02)
สรุป: การได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะลองโควิด ในขณะที่อุบัติการณ์สูง อย่างไรก็ตามการมีโรคประจำตัว เป็นปัจจัยที่สำคัญกับการเกิดภาวะลองโควิด ดังนั้นควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะลองโควิด เพื่อให้ประชาชนสามารถตระหนักและป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ทำให้เกิดภาวะลองโควิดตามมา
References
Division of Viral Diseases, National Center for Immunization and Respiratory Diseases (NCIRD). Basics of COVID-19. 2021 [cited June 16, 2022,]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/about-covid-19/basics-covid-19.html
Division of Communicable Diseases. Guidelines for vaccination against COVID-19 in the 2021 outbreak situation in Thailand. Bangkok: TS Inter print; 2021.
Department of disease control. COVID-19 vaccine of Thailand. 2022 [cited July 11, 2022,]. Available from: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19
Buriram Provincial Health Office. The report recorded the comparison group survey targeting all types of residences. district level vaccination. 2022 [cited October 7, 2022,]. Available from: https://app.brhealth.go.th/whitelist_brm/index.php?floder=report&service=input_report_hospcode&distid=3117#
Mohpromt. No vaccination that at risk of Long covid was 2 times.2022 [cited July 10, 2022,]. Available
from: https://www.thaipost.net/Covid-19-news/95807/
World Health Organization. A clinical case definition of post COVID-19 condition by a Delphi consensus.
[cited March 11, 2022,]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Post_COVID-19_condition-Clinical_case_definition-2021.1
Woratanarat T. Omicron BA.5 The results showed more pulmonary proliferation nearby the Delta. 2022 [cited July 11, 2022,]. Available from: https://www.nationtv.tv/news/378879327
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics Med 1998;17(14):1623-34. doi.org/10.1002/(SICI)1097-0258(19980730)17:14<1623::AID-SIM871>3.0.CO;2-S
Ngamjarus C. n4Studies: sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Med J 2016;68(3):160-70.
Department of Medical Services. COVID-19 infection questionnaire and symptoms after infection
with COVID-19 for the people. 2022 [cited July 20, 2022,]. Available from: https://longcovidcheckin.dms.go.th
Natanant S, Suriyong P. Incidence and Risk Factors of Post COVID-19 Condition: A Cross-sectional Study. Ramathibodi Med J 2023;46(1):32-46.
Wangchalabovorn M, Weerametachai S. Leesri T. Prevalence of post COVID-19 conditions in SARS-CoV-2 infected patients at 3-month telephone follow-up. Regional Health Promotion Center 9 J 2022; 16(1):265-84.
Watanabe A, Iwagami M, Yasuhara J, Takagi H, Kuno T. Protective effect of COVID-19 vaccination against long covid syndrome: A systematic review and meta-analysis. Vaccine 2023; 1:1783-90. doi.org/10.1016/j.vaccine.2023.02.008
Vannako P. Sunongbua A. Associations between COVID-19 Vaccine and Severity of COVID-19, Chaiyaphum Hospital: 2021-2022. Regional Health Promotion Center 9 J 2022;16(3):1057-69.
Channarong M. Factors Relating to Post Discharge Persistence of Symptoms After Hospitalization Among Persons with Coronavirus Disease 2019. J Health Nurs Educat 2022;28(1):1-16.
Wonghiranrat P. Prevalence of post-COVID-19 post-infection in patients with a history of coronavirus disease 2019 infection. J Health Environment Educat 2023;8(1):141-50.
Patipanwat P. Factors of Affecting fatality with COVID-19 patients in Kalasin Hospital. J Health Environment Educat 2022;7(1):64-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.