การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผังกราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาเวชนิทัศน์

ผู้แต่ง

  • ปิยนัส สุดี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย, คอนสตรัคติวิสต์, การคิดสร้างสรรค์, ผังกราฟิก

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อทางการแพทย์และส่งเสริมทักษะที่จำเป็นของนักเวชนิทัศน์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์

วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลังจากการทดลองครั้งเดียวกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ แบบสัมภาษณ์การคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสํารวจความคิดเห็นของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผลประเมินสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ความคิดเห็นของผู้เรียน ซึ่งได้จากการวิเคราะห์สรุปตีความ และการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้จากการวิเคราะห์โปรโตคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์

ผลการศึกษา: พบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย ผลการประเมินประสิทธิภาพมีคุณภาพเหมาะสมทั้ง 5 ด้าน 2) ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน มีผู้เรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 29 ราย (ร้อยละ 96.67) มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.07 ± 1.78 และผลการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่ได้จากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การคิดคล่องแคล่ว การคิดริเริ่ม การคิดยืดหยุ่น และการคิดละเอียดลออ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีผู้เรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 28 ราย (ร้อยละ 93.33) ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.43 ±1.81 และ 4) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายมีความสอดคล้องเหมาะสมทั้ง 3 ด้าน

สรุป: สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการรู้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยังสามารถพัฒนาผู้เรียนในด้านการสร้างความรู้ การเสาะแสวงหาความรู้ และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และการทำงานต่อไปในอนาคตได้

References

Office of the Education Council. The national education plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Bangkok: Prikwaangraphic, 2017.

Guilford JP. The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill, 1967.

Chaijaroen S. Education technology: Principles theories to practices. Khon Kaen: Klungnanavitthaya press, 2008.

Brown JS, Collins A, Duguid P. Situated cognition and the culture of learning. Educational Researcher 1989;18(1):32–42.

Chaijaroen S. Instructional design: Principles and theories to practices. Khon Kaen: Annaoffset, 2014.

Piaget J. Part I: Cognitive development in children: Piaget development and learning. J Res Sci Teach 1964; 2(1):176–186.

Hannafin MJ, Land S, Oliver K. Open learning environments: Foundations, methods, and models. In Charles M. Reigeluth, Ed., Instructional design theories and models: A new paradigm of instructional theory. London: Lawrence Erlbaum Associates, 1999.

Vygotsky LS. Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge: Harvard University Press, 1978.

Chaijaroen S. The develop web-based learning environment encouraging knowledge construction model developed based on constructivist and cognitive theories. Khon Kaen: Faculty of Education, Khon Kaen University, 2007.

Kwangmuang P. The result to learner’s critical thinking development used with constructivist learning innovation to enhance knowledge construction and critical thinking for undergraduate student. Panyapiwat J 2018;10(1):175-84.

Susing J, Chaijaroen S. Designing framework of constructivist web-based learning environments with augmented reality to enhance creative thinking on topic of animation for grade 9 students. J Informat Learn 2020;31(2):1-9.

Krabkraikaew T, Chaijaroen S. The design and development of a constructivist web-based learning environment with augmented reality to enhance creative thinking on the topic of medical computer graphic design for undergraduate students. J Informat Learn 2020;31(2):10-8.

Techapornpong O, Chaijaroen S. Framework of constructivist web-based learning environment model to enhance creative thinking: integration pedagogy and neuroscience. J Informat Learn 2017;28(1):118-29.

Wichakum A, Wattanachai S. The effects of web-based learning environment based on constructivist theory to enhance creative thinking on topic utilization of graphics for vocational students. KKU Res J Humanit Soc Sci (Graduate Studies) 2020;8(1):77-88.

Poonphol I, Chaijaroen S, Jackpeng S. The development of constructivist mobile learning environment model to foster creative thinking for high school students. J Educ Khon Kaen University 2021;44(4):151-68.

Theeranan Y, Chaijaroen S. Designing and developing a learning environment on a network developed in accordance with constructivist concepts to enhance creativity in the development of mobile applications for matthayom 3 students. J Informat Learn 2020;31(1):41-51.

Suwannasri P, Chaijaroen S. Constructivist web-based learning environment to enhance creative thinking in art subject on printing for grade 12 students. J Informat Learn 2019;30(3):28-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-26

How to Cite

1.
สุดี ป. การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผังกราฟิก สำหรับนักศึกษาสาขาเวชนิทัศน์. SRIMEDJ [อินเทอร์เน็ต]. 26 ตุลาคาม 2023 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];38(5):425-37. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/258986