ประสิทธิผลของการให้คำปรึกษารายบุคลที่มุ่งเน้นการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษารายบุคคล, การเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่ผิดปกติ, ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม, อารมณ์, ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์ : การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติ (aberrant motor behavior) เช่น การเดินวนไปวนมา การรื้อของไปมา และการลูบหรือเกาผิวหนังซ้ำ ๆ เป็นปัญหาพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดความรำคาญ เป็นอันตราย และเป็นภาระในการดูแลของผู้ดูแล การศึกษานี้ต้องการศึกษาประสิทธิผลของการให้คำปรึกษารายบุคคลที่มุ่งเน้นการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติและความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง 2 กลุ่ม โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยสมองเสื่อม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลจำนวน 7 ครั้งต่อเนื่องกันทุกสัปดาห์โดยใช้การติดตามทางโทรศัพท์ โดยใช้เวลา 15- 40 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจในผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม (neuropsychiatric inventory: NPI) และแบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล (zarit burden interview: ZBI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และ Mann-Whitney U test
ผลการศึกษา: ผลจากอาสาสมัครทั้งหมด 30 ราย (กลุ่มละ 15 ราย) พบว่าคะแนนอาการปัญหาพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติ ความรู้สึกเป็นภาระเฉลี่ย และคะแนนผลกระทบทางอารมณ์เฉลี่ยของผู้ดูแลก่อนการทดลองไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทางสถิติ (p > 0.05) ภายหลังการทดลองที่ 7 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนอาการปัญหาพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และคะแนนผลกระทบทางอารมณ์และคะแนนความรู้สึกเป็นภาระเฉลี่ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)
สรุป: โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลที่มุ่งเน้นสำหรับการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีประสิทธิผลในการช่วยลดอาการปัญหาพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ ที่ผิดปกติได้ แต่ไม่ลดผลกระทบทางอารมณ์ของผู้ดูแลได้และไม่สามารถลดความรู้สึกเป็นภาระได้ การศึกษาในอนาคตที่มีจำนวนตัวอย่างมากขึ้นและมีรูปแบบงานวิจัยที่ซับซ้อนกว่านี้มีความจำเป็นในการยืนยันผลการวิจัยนี้
References
Sutthilak C, Wirojratana V, Puwarawuttipanit W, Cheewakriengkrai L. Factors predicting health status on caregivers of elderly people with dementia. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2018; 19(1):171-9.
Cerejeira J, Lagarto L, Mukaetova-Ladinska EB. Behavioral and psychological symptoms of dementia. Front Neurol 2012;3:73. doi:10.3389/fneur.2012.00073.
Penpassakarn P, Jarernrat P, Ananthavornwong N, Thaipisuttikul P. Behavioral variant of frontotmeporal dementia (bvFTD) and developing of mild behavioral impairment (MBI) concept. J Psychiatr Assoc Thai 2019;64 (1):99-112.
Muangpaisan W, Praditsuwan R, Assanasen J, Srinonprasert V, Assantachai P, Intalapaporn S, et al. Caregiver burden and needs of dementia caregivers in Thailand: a cross-sectional study. J Med Assoc Thai 2010;93(5):601-7.
Aphisitphinyo S, Rangseekajee P, Paholpak P, Paholpak P, Warinthorn P. Characteristics of behavioral and psychological symptoms of dementia in patients with major neurocognitive disorder due to vascular disease. J Psychiatr Assoc Thailand 2019;64(4): 371-84.
Kim B, Noh GO, Kim K. Behavioral and psychological symptoms of dementia in patients with Alzheimer’s disease and family caregiver burden: a path analysis. BMC Geriatrics 2021;21(1):160. doi.org/10.1186/s12877-021-02109-w.
Neurological institute of Thailand. Clinical practice guideline of dementia. Bangkok: Tanapress; 2021.
Maneerat S, Maneerat S, Kambunlua T. Psychosocial nursing care for the elderly with behavioral and psychological symptoms of dementia. J Health Sci Res 2018;12(2):1-9.
Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. Adequacy of sample size in health studies. New York : John Wiley & Sons; 1990.
Limsakul W, Ngangjui U, Suksoda A. Effects of counseling in caregivers on the ability in activities of daily living of people with dementia and caregivers’ stress. Thai Journal of Nursing 2014;63(4):35-41.
Zarit SH, Reever KE, Back PJ. Relatives of the impaired elderly: correlates of feelings of burden. The Gerontologist 1980;20(6):649-55. doi:10.1093/geront/20.6.649.
Toonsiri Chanandchidadussadee, Sunsern Rachanee, Lawang Wannarat. Development of the burden interview for caregivers of patients with chronic illness. Journal of Nursing and Education 2011;4(1):62-75.
Hemrungrojn S. The NPI-Q Thai. Teaching materials: Practical point in general and neuropsychiatric management of dementia. Bangkok : Chulalongkorn University; 2557.
Iravani B, Abdollahi E, Siahestalkhi FE, Soleimani R. Neuropsychiatric symptoms of alzheimer’s disease and caregiver burden. Front Neurol 2022;13:877143. doi:10.3389/fneur.2022.877143.
Vespa A, Giulietti MV, Ottaviani M, Spatuzzi R, Merico F, Gori G, et al. Evaluation of anxiety and depression in caregivers of patients affected by Alzheimer’ disease. Advances in Alzheimer’s Disease 2015;4:15-20. doi:10.4236/aad.2015.42003.
Okai D, Askey-Jones S, Samuel M, O’Sullivan SS, Chaudhuri KR, Martin A, et al. Trial of CBT for impulse control behaviors affecting Parkinson patients and their caregivers. Neurology 2013;80(9):792–9. doi:10.1212/WNL.0b013e3182840678.
Sanprakhon P. Effectiveness of an interagtive stress reduction program for caregivers of people with advanced dementia: a randomized control trial [dissertation]. Chonburi: faculty of nursing Burapha university; 2021.
Lindeza P, Rodrigues M, Costa j, Guerreiro M, Rosa MM. Impact of dementia on informal care : a systematic review of family caregivers’ perceptions. BMJ Support Palliat Care 2020:bmjspcare-2020-002242. doi: 10.1136/bmjspcare-2020-002242.
Han JW, Jeong H, Park JY, Kim TH, Lee DY, Lee DW, et al. Effects of social supports on burden in caregivers of people with dementia. Int Psychogeriatr 2014;26(10):1639-48. doi:10.1017/S1041610214001331
Alicia BC, Rubl PA, Arnold ATM. Psychometric properties of the Zarit burden interview in informal caregivers of persons with intellectual disabilities. Front Psychol 2022;13:792805. doi:10.3389/fpsyg.2022.792805
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.