ปัจจัยที่่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่่ได้รับการดููแลประคับประคองหนึ่งเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตที่่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูง
คำสำคัญ:
ห้องฉุกเฉิน, การดูแลแบบประคับประคอง , ความเครียด, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, วิสัญญี, โรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูงบทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยประคับประคองมีความทุกข์ทรมานและภาระโรคที่ซับซ้อนหลายอย่าง โดยเฉพาะในช่วงเดือนสุดท้ายของชีวิต ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ามารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับบริการของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองหนึ่งเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) โดยเก็บข้อมูลจากบันทึกบัตรตรวจโรค (OPD card) ระบบสารสนเทศ ในผู้ป่วยประคับประคองที่เข้ารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยประคับประคอง 115 ราย เข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินในช่วงเดือนสุดท้ายของชีวิต อายุเฉลี่ย 66.65 ปี โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งร้อยละ 60.00 อาการนำส่งที่จัดการยากเป็นอาการหายใจลำบากหอบเหนื่อย ร้อยละ 31.30 ปวดรุนแรงร้อยละ 28.70 ระดับความรู้สึกตัวลดลง ร้อยละ 22.60 อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 58.26 มาโรงพยาบาลด้วยรถพยาบาลร้อยละ 53.90 และ 78.90 เข้ามารับบริการในเวลาทำการ (8.00 น. – 16.00 น.) ปัญหาด้านครอบครัว ผู้ดูแลมีความวิตกกังวล ซึ่งประกอบด้วย ไม่สามารถยอมรับการเสียชีวิต ต้องการพยุงชีพและมีความคาดหวังต่อการรักษาโรค ผู้ดูแลมีความเหนื่อยล้าไม่สามารถจัดการอาการได้ ร้อยละ 86.08 ไม่สามารถให้เสียชีวิตที่บ้าน ร้อยละ 11.30 มีแผนการดูแลไม่ตรงกันร้อยละ 2.58 ร้อยละ 93.91 มีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า และต้องการการดูแลอาการให้สุขสบาย ร้อยละ 72.17 หลังจากมารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน พบว่าร้อยละ 33.91 ถูกส่งเข้ารับการดูแลที่หอผู้ป่วยประคับประคอง เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในแผนกอื่นๆร้อยละ 49.53 ส่งต่อโรงพยาบาลอื่นร้อยละ 2.60 จำหน่ายกลับบ้านนอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 7.82 จำหน่ายกลับบ้านและส่งต่อในโปรแกรมเยี่ยมบ้านการุณรักษ์ ร้อยละ 3.47 เสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินร้อยละ 2.60
สรุป: เนื่องด้วยมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุได้แก่ ภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย อาการทางกายที่จัดการยาก การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและความวิตกกังวลของผู้ดูแล ทำให้ต้องมารับบริการที่แผนกฉุกเฉินซึ่งรูปแบบการดูแลเต็มไปด้วยความเร่งด่วน การเดินทางมามีโอกาสเสียชีวิตระหว่างทางและ มีบางรายเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉิน ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์เพื่อนำไปวางแผนพัฒนาต่อยอดการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่มีภาวะฉุกเฉินและครอบครัวทั้งในพื้นที่ชนบทและเขตเมืองเพื่อลดการมารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน
References
Theerachol S, Matchim Y. End-of-life care: The context of the emergency room. Vajira Nursing Journal 2018;19(1):1–9.
Chang A, Espinosa J, Lucerna A, Parikh NP. Palliative and end-of-life care in the emergency department. Clin Exp Emerg Med 2022; 9(3):253-6. doi: 10.15441/ceem.22.341.
Verhoef M, Nijs E, Horeweg N, Fogteloo J, Heringhaus C. Palliative care needs of advanced cancer patients in the emergency department at the end of life: An observational cohort study. Support Care Cancer 2020;28(3):1097-1107. doi: 10.1007/s00520-019-04906-x.
Sriveing P, Parichart P. Operation guidelines for hospital palliative care program. Khon Kaen: Kungnanawithaya; 2014.
Sadler K, Abudari G, Aljawi D, Snelling D. Deaths in the Emergency Department: An Assessment of Patient's End-of-Life Trajectory and Quality of Care. Indian J Palliat Care 2020 Jul-Sep;26(3):352-357. doi: 10.4103/IJPC.IJPC_206_19.
Monsomboon A, Chongwatcharasatit T, Chanthong P, Chakorn T, Prapruetkit N, Surabenjawong U, et al. Characteristics and factors associated with mortality in palliative patients visiting the Emergency Department of a large tertiary hospital in Thailand. BMC Palliat Care. 2022;21(1):115-124. doi: 10.1186/s12904-022-01009-z.
Karunruk Palliative Care Center. Annual report of the Karunruk Palliative Care Center statistics. Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, 2020.
Lee J, Kim J, Park I, Cho Y. Factors associated with the number of emergency department visitors. J EMS Med 2021;1(1):23-30. doi:10.35616/jemsm.2019.00031.
Tianthong S, Pirojkul S, Piasupan P. Readmission of palliative patients at Karunruk Palliative Center, Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J 2021;36(4):469-473.
Taylor P, Stone T, Simpson R, Kyeremateng S, Mason S. Emergency department presentations in palliative care patients: a retrospective cohort study. BMJ Support Palliat Care 2022 ;1-4. doi:10.1136/bmjspcare-2022-003563.
Wallace EM, Cooney MC, Walsh J, Conroy M, Twomey F. Why do palliative care patients present to the emergency department? Avoidable or unavoidable? Am J Hosp Palliat Care 2013;30(3):253-6. doi:10.1177/1049909112447285.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ศรีนครินทร์เวชสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.