การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด

Authors

  • สัญพิชา ศรภิรมย์

Abstract

การผ่าตัดหัวใจ (Cardiac surgery) ประกอบด้วย การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหัวใจ (coronary artery bypass) การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (cardiac valve) การซ่อมแซมความพิการของหัวใจแต่กำเนิด การแก้ไขความผิดปกติของหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า รวมทั้งผ่าตัดก้อนเนื้องอกในหัวใจ1,2,3 การดูแลภายหลังการผ่าตัดในระยะวิกฤตที่เพียงพอและเหมาะสมและการจัดการการดูแลหลังการผ่าตัดที่เป็นระบบ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีหลังการผ่าตัด เนื่องจากการดูแลการผ่าตัดหัวใจในระยะวิกฤตมีความซับซ้อนและอาการเปลี่ยนแปลงบ่อย การดูแลที่สำคัญประกอบด้วย การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ การได้รับยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ การเฝ้าระวังอาการภายหลังการลดอุณภูมิกายให้เข้าสู่ภาวะปกติ และการดูแลการใช้เครื่องช่วยหายใจ ดังนั้นภายหลังการผ่าตัดหัวใจเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย จึงต้องอาศัยบุคลากรในทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการดูแลระหว่างทีมทั้งในห้องผ่าตัดและในหอผู้ป่วยวิกฤต1 การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ควบคู่กับการพัฒนากระบวนการทางคลินิกและเทคนิคการดูแลที่ก้าวหน้า จะช่วยลดความพิการ ลดอัตราตาย และลดค่าใช้จ่ายได้ 4

Downloads

How to Cite

1.
ศรภิรมย์ ส. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด. SRIMEDJ [Internet]. 2016 Oct. 5 [cited 2024 Nov. 23];31(5):46-52. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/68187