Spirometry Test Results and Factors Associated with Quality of Spirometry Test in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) at Sisaket Hospital
Keywords:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การตรวจ Spirometry, คุณภาพการทดสอบ Spirometry, COPD, spirometry test, quality of spirometry testAbstract
หลักการและวัตถุประสงค์: การวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อการรักษา ในประเทศไทยการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักอาศัยอาการทางคลินิกเป็นหลัก เนื่องจากการตรวจ Spirometry ไม่สามารถทำได้ในทุกโรงพยาบาล แต่ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำเป็นต้องอาศัยผลการตรวจ Spirometry งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจ Spirometry และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการทดสอบ Spirometry ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากอาการทางคลินิกว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้มีรูปแบบเป็น Observational study โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะได้รับการประเมินโดยอาศัยแบบเก็บข้อมูลและได้รับการตรวจ Spirometry
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัย 168 ราย เป็นเพศชาย 133 ราย หญิง 35 ราย อายุเฉลี่ย 68.3±10.3 ปี มีประวัติสูบบุหรี่ร้อยละ 72 มีประวัติเคยเป็นวัณโรคปอด 59 ราย (ร้อยละ 35.1) มีโรคร่วมในกลุ่ม Metabolic syndrome และโรคหัวใจและหลอดเลือด 73 ราย (ร้อยละ 43.4) มีผลการตรวจ Spirometry ได้คุณภาพ 99 ราย (ร้อยละ 58.9) ในกลุ่มที่ผลการตรวจได้คุณภาพพบว่าเข้าได้กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 34 ราย (ร้อยละ 34.3) และพบว่า อายุที่เพิ่มขึ้น, คะแนน mMRC ≥ 2 หรือ CAT score ≥ 10 มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการทดสอบ Spirometryอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: จากการศึกษาพบว่าผลการตรวจ Spirometry ได้คุณภาพร้อยละ 58.9 ในกลุ่มที่ผลการตรวจได้คุณภาพพบว่าเข้าได้กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 34.3 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการทดสอบ Spirometry ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น, คะแนน mMRC ≥ 2 หรือ CAT score ≥ 10
Background and Objective: Effective treatments of COPD rely on the accurate diagnosis. In Thailand COPD is mainly diagnosed by observing clinical manifestations because spirometry test cannot be performed in all hospitals. However, accurate COPD diagnosis needs spirometry test. The objective of this study was to evaluate spirometry test results and factors associated with quality of spirometry test in patients diagnosed with COPD from clinical manifestations.
Methods: An observational study was applied in this study for assessing patients diagnosed with COPD by using a case record form and performing spirometry test.
Results: There were 168 patients involved in the study, 133 males, 35 females; mean age 68.3 ± 10.3 years. Seventy-two percent of patients had history of smoking, 59 patients had undergone pulmonary tuberculosis (35.1%), 73 patients (43.4%) experienced comorbidities belonging to metabolic syndrome and cardiovascular diseases. Ninety-nine patients had valid spirometry test results (58.9%). Those with valid ones demonstrated that 34 patients met GOLD criterion for COPD diagnosis (34.3%). Increased age, mMRC dyspnea scale ≥ 2 or CAT score ≥ 10 had statistically significant association with quality of spirometry test.
Conclusion: There were 58.9% of patients had valid spirometry test results. Those with valid ones demonstrated that 34.3% met GOLD criterion for COPD diagnosis. Factors associated with quality of spirometry test were increased age, and mMRC dyspnea scale ≥ 2 or CAT score ≥ 10.