Risk of Progesteronefor Preventing Preterm Delivery on Gestational Diabetes Mellitus: A Systematic Review and Meta-Analysis

Authors

  • Siwanon Rattanakanokchai
  • Malinee Laopaiboon
  • Ussanee Sangkomkamhang
  • Porjai Pattanittum

Keywords:

progesterone, gestational diabetes mellitus, systematic review, โปรเจสเตอโรน, โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Abstract

ความเสี่ยงของการได้รับโปรเจสเตอโรนเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เมตต้า


หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันมีการใช้โปรเจสเตอโรน (progesterone) เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในขณะตั้งครรภ์ การได้รับโปรเจสเตอโรนดังกล่าวอาจเพิ่มความสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus: GDM) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงของการได้รับโปรเจสเตอโรนเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์เมตต้า สืบค้นรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ตั้งแต่เริ่มแรกถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 และวารสารการแพทย์ในฐาน TCI ด้วยมือ (hand searching) ย้อนหลัง 5 ปี พ.ศ. 2554- พฤษภาคม 2559 ตามเงื่อนไข คือ เป็นรายการศึกษาที่มีรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตหรือเชิงทดลองที่ศึกษาความเสี่ยงของการได้รับ  โปรเจสเตอโรนเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในรูปแบบต่างๆ ต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ประเมินอคติรายงานวิจัยเชิงสังเกตโดยใช้เครื่องมือ the Newcastle-Ottawa Scale และรายงานการศึกษาเชิงทดลองใช้เครื่องมือ Cochrane Risk of Bias toolการคัดเลือกรายงานวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยนักวิจัยสองคนอย่างอิสระต่อกันและร่วมกันหาข้อสรุปในกรณีที่มีความเห็นไม่ตรงกัน

ผลการศึกษา: มีรายงานการศึกษาผ่านเงื่อนไข 7 รายงาน ศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 4,984 ราย ทุกรายงานใช้โปรเจสเตอโรนรูปแบบ17 αhydroxyprogesteronecaproate (17 OHP-C) เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดการประเมินอคติพบว่ามีความเสี่ยงเกิดอคติสูง 2 รายงาน อคติไม่ชัดเจน 3 รายงาน การศึกษาเชิงสังเกตพบว่าการได้รับ 17 OHP-Cเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pooled ORadj (random)2.0; 95% CI 1.3–3.3; 5 studies; 3,791 participants) แต่ความเสี่ยงดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในการศึกษาเชิงทดลอง (pooled OR (fixed)1.1; 95% CI 0.7–1.7; 2 studies; 1,193 participants) และพบว่าการได้รับ 17 OHP-C เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดจากการตรวจ glucose challenge test (GCT) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pooled ORadj (fixed) 1.7; 95% CI 1.2–2.5; 3 studies; 811 participants)

สรุป: ความเสี่ยงของการได้รับโปรเจสเตอโรนเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดมีผลต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่ชัดเจน รายงานวิจัยที่สืบค้นได้ส่วนมากมีความเสี่ยงต่อการเกิดอคติไม่ชัดเจนหรือเสี่ยงต่อการเกิดอคติสูง ในอนาคตควรมีการศึกษาทั้งแบบ randomized 


Background and Objective: Progesterone has been used for preventing preterm delivery. It may increase risk of gestational diabetes mellitus (GDM). We conducted a systematic review and meta-analysis to investigate risk of progesterone for preventing preterm delivery on GDM.

Method: We systematically searched for studies in electronic databases from their inception through May 12, 2016. We included analytical observational and experimental studies reporting risk of progesterone for preventing preterm delivery on GDM.We assessed risk of bias (RoB)by using Newcastle-Ottawa Scale for observational studies and Cochrane RoBtool for experimental studies.Review process was independently performed by two reviewers, any disagreements between the reviewers were resolved through discussion.

Result: Seven studies involving 4,984 pregnant women were included, all of them used 17 α hydroxyprogesterone caproate (17 OHP-C) for preventing preterm delivery. Twoob servational studies were assessed as at high RoB, while of the remaining studies were at unclear. There was a significant increase risk of 17 OHP-Con GDM in five observational studies (pooled ORadj (random)2.0; 95% CI 1.3–3.3; 3,791 participants) but not significant in two experimental studies (pooled OR (fixed)1.1; 95% CI 0.7–1.71,193 participants). A significant increase risk of 17 OHP-Con abnormal glucose challenge test(GCT) (pooled ORadj (fixed) 1.7; 95% CI 1.2–2.5; 3 studies; 811 participants).

Conclusion: This systematic review demonstrates that the potential effect of 17 OHP-C on increased risk of GDM remains unclear. Most studies had unclear RoB. Further well-designed and adequate sample size from cohort studies or RCTs are needed to draw robust conclusions for effects of progesterone for preventing preterm delivery on GDM.

Downloads

How to Cite

1.
Rattanakanokchai S, Laopaiboon M, Sangkomkamhang U, Pattanittum P. Risk of Progesteronefor Preventing Preterm Delivery on Gestational Diabetes Mellitus: A Systematic Review and Meta-Analysis. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jan. 22 [cited 2024 Dec. 25];31(6):355-64. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/75273

Issue

Section

Original Articles