Prevalence of Musculoskeletal Symptoms at Upper Body Parts Due to Smartphone using among Lower Secondary School Students

Authors

  • Thitima Rammayan
  • Paphonkan Boonyarit

Keywords:

prevalence, smartphone, musculoskeletal symptoms, lower secondary school students, cross-sectional study, ความชุก, สมาร์ทโฟน, อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, นักเรียนมัธยมต้น, การศึกษาแบบภาคตัดขวาง

Abstract

Background and Objective: Nowadays, communications technology has been rapidly evolving and tremendously affected human behavior. Smartphone is one of the most popular and widely used technology in people’s daily life. The prolonged and continuous using of smart phones may lead to pain and fatigue in thumbs and necks. Therefore, this study aimed to determine the prevalence of musculoskeletal disorder of upper body parts caused by smartphone use in lower secondary school students.

Method: Cross-sectional study was conducted. Participants were lower secondary school students, aged 12-15 years old. Online questionnaires were used for collecting demographic data, data of musculoskeletal problems in upper body parts, and their smartphone behavior.

Result: From total of 753 students, 411 students reported musculoskeletal symptoms at upper body parts (54.6%). The top three areas which were reported symptoms including neck, shoulder and base of thumb 34.3% (95%CI: 30.9-37.7), 16.3% (95%CI: 13.7-19.0) and 12.5% (95%CI: 10.1-14.8), respectively.

It’s reported that 411 of 753 students (54.6%) have musculoskeletal symptom of upper body parts. The top three areas that had musculoskeletal symptoms were neck 34.3% (95%CI: 30.87-37.65), shoulder 16.3% (95%CI: 13.69-18.97) and base of thumb 12.5% (95%CI: 10.12-14.84) respectively.

Conclusion: Prevalence of musculoskeletal symptoms at upper body parts caused by smartphone use is high. Top three parts that have musculoskeletal symptom are neck, shoulder and base of thumb.  These finding should be suggested to pain prevention program in upper body parts due to smartphone using in the future.

ความชุกของอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวและรยางค์ส่วนบนจากการใช้สมาร์ทโฟนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น


หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้คนอย่างมาก สมาร์ทโฟนเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย การใช้สมาร์ทโฟนต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจะส่งผลต่อการเกิดอาการปวดหรือความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวและรยางค์ส่วนบนจากการใช้สมาร์ทโฟนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการศึกษาแบบตัดขวางผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 12-15 ปี มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวและรยางค์ส่วนบนและการใช้สมาร์ทโฟน

ผลการศึกษา: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 753 คน พบว่ามีอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวและรยางค์ส่วนบน จำนวน 411 ราย ความชุกคิดเป็นร้อยละ 54.6 บริเวณที่มีความชุกมากที่สุดสามอันดับแรกคือ บริเวณคอ ข้อไหล่ และฐานนิ้วหัวแม่มือ คิดเป็น ร้อยละ 34.3 (95%CI: 30.9-37.7) 16.3 (95%CI: 13.7-19.0) และ 12.5 (95%CI: 10.1-14.8) ตามลำดับ

สรุป: ความชุกของอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวและรยางค์ส่วนบนจากการใช้สมาร์ทโฟนพบมาก โดยบริเวณที่มีความชุกของอาการมากที่สุดคือ คอ หัวไหล่ และฐานนิ้วหัวแม่มือตามลำดับ ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางการป้องกันการเกิดอาการปวดบริเวณลำตัวและรยางค์ส่วนบนจากการใช้สมาร์ทโฟนในอนาคตได้

Downloads

How to Cite

1.
Rammayan T, Boonyarit P. Prevalence of Musculoskeletal Symptoms at Upper Body Parts Due to Smartphone using among Lower Secondary School Students. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jan. 22 [cited 2024 Nov. 23];31(6):392-9. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/75280

Issue

Section

Original Articles