A Retrospective Analysis of Morphine Consumption for Pain Management at Srinagarind Hospital, Thailand

Authors

  • Pranee Suecharoen
  • Somboon Thienthong
  • Suthannee Simajareuk

Keywords:

morphine, consumption, quality of pain management, มอร์ฟีน, อัตราการใช้มอร์ฟีน, คุณภาพการะงับปวด

Abstract

Background and Objectives:  morphine consumption per capita is an indirect indicator commonly used for national evaluation of pain treatment quality. For small scale level like a hospital, direct pain assessment of patient is a practical indicator. However, the amount of yearly morphine used or a trend of morphine consumption per patient or per visit may be useful indicator for monitoring the quality of pain treatment but it is usually neglected. Objective of this study aimed to present the yearly consumption of morphine and morphine consumption per visit at Srinagarind Hospital.

Methods: Interesting data were retrospectively collected from pharmacy unit and department of Anesthesiology, Four types of opioids (morphine, pethidine, fentanyl and methadone) used during the period of 2006-2013 were analyzed and converted to be an oral morphine in gram equivalence. Numbers of patients received opioids per year during the study period were also recorded.

Results:  The yearly morphine equivalence consumption during 2006-2013 were 14111.17, 7757.51, 8825.78, 13339.33, 11530.29, 14859.96, 11151.08, 16112 gram, respectively. The total number of patients received opioids were 628453, 692628, 714763, 743732, 760150, 777507, 823571, 874196 visit per year, respectively. The proportions of oral morphine per visit were 0.022, 0.011, 0.012, 0.017, 0.015, 0.019, 0.013, 0.018 gram, respectively.

Conclusion: The yearly morphine supply and the proportion of morphine consumption per visit during 2006-2013 were not increased. Therefore, morphine consumption per year or per visit in combined with pain scores may be useful indicators for monitoring the quality of pain treatment for a hospital level. 

การวิเคราะห์ปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนในการระงับปวดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

หลักการและวัตถุประสงค์: อัตราการใช้ยามอร์ฟีนต่อประชากรเป็นดัชนีชีชี้วัดอย่างหนึ่งในการเทียบเคียงคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดของแต่ละประเทศ แต่ในระดับโรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ไม่สามารถใช้ดัชนีชี้วัดต่อประชากรได้ ดัชนีชี้วัดคุณภาพการระงับปวดในระดับโรงพยาบาลนอกจากจะใช้ระดับความปวดของผู้ป่วยแล้ว การใช้ปริมาณมอร์ฟีนต่อปีหรือต่อผู้ป่วยอาจเป็นดัชนีคุณภาพได้เช่นกัน แต่ยังไม่เคยมีรายงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มาก่อน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ต้องการทราบปริมาณการใช้มอร์ฟีนต่อปีและต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในฐานข้อมูลของฝ่ายเภสัชกรรมของโรงพยาบาล และฐานข้อมูลของภาควิชาวิสัญญีวิทยา ระหว่าง พ.ศ. 2549 – 2556 ข้อมูลสำคัญได้แก่ ยาระงับปวดในกลุ่ม opioids สี่ชนิดคือ morphine, pethidine, fentanyl และ methadone รวมทั้งจำนวนผู้ป่วยต่อปีทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ได้รับยาดังกล่าว ปริมาณยาที่ได้รับทั้งหมดจะถูกแปลงเป็นมอร์ฟีนโดยเทียบเป็นหน่วยเดียวกันคือ จำนวนกรัมของมอร์ฟีนชนิดรับประทาน

ผลการศึกษา: พบปริมาณการใช้มอร์ฟีนในแต่ละปี เป็นเวลา 8 ปี เท่ากับ14111.17, 7757.51, 8825.78, 13339.33, 11530.29, 14859.96, 11151.08, 16112 กรัม ตามลำดับ จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยได้รับยาระงับปวดมอร์ฟีนต่อปี เท่ากับ 628453, 692628, 714763, 743732, 760150, 777507, 823571, 874196 ครั้งต่อปีตามลำดับ โดยสัดส่วนการได้รับมอร์ฟีนของผู้ป่วยต่อครั้งเท่ากับ 0.022, 0.011, 0.012, 0.017, 0.015, 0.019, 0.013, 0.018 กรัม ตามลำดับ

สรุป : ในช่วงแปดปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้มอร์ฟีนต่อปีของโรงพยาบาลและอัตราการได้รับยามอร์ฟีนของผู้ป่วยต่อครั้งไม่มีการเพิ่มขึ้น ดังนั้น การติดตามคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดนอกจากจะใช้ระดับความปวดของผู้ป่วยแล้ว ควรใช้อัตราการได้รับยามอร์ฟีนต่อครั้ง และปริมาณการใช้มอร์ฟีนต่อปีของโรงพยาบาล เป็นตัวชี้วัดร่วมด้วย  


Downloads

How to Cite

1.
Suecharoen P, Thienthong S, Simajareuk S. A Retrospective Analysis of Morphine Consumption for Pain Management at Srinagarind Hospital, Thailand. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Jan. 22 [cited 2024 Nov. 23];31(6):417-22. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/75371

Issue

Section

Original Articles