The Effects of Program on Knowledge, Blood Sugar Level Control and Re-admission of Women with Insulin-Dependent Gestational Diabetes Mellitus

Authors

  • Wenuka Pornkuna
  • Soiy Anusornteerakul

Keywords:

Blood sugar level control, Readmission, Women with insulin-dependent gestational diabetes mellitus, การควบคุมระดับน้ำตาล, การกลับมารักษาซ้ำ, หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน

Abstract

Background and objectives: Women with gestational diabetes mellitus are risk of harm to both women and babies. The controlling of blood sugar level is important. This study aimed to investigate the effects of program on knowledge, blood sugar level control and re-admission of women with insulin-dependent gestational diabetes mellitus.

Methods: This was a quasi-experiment study. The participants in this study included 36 women with insulin-dependent gestational diabetes mellitus. They were divided into control group and the experiment group, each consisted of 18 pregnant women, which selected by simple random sampling. The experimental group obtained both the routine nursing care and knowledge program, which used within 1 time at discharge day and telephone calls for following-up 2 times whereas the control group received only the routine nursing care. The descriptive statistics were analyzed by t-test, X2-test and Fisher’s exact test.

Results: The score of self-care knowledge after experiment of experimental group were statistically significant higher than before experiment and also higher than control group at p<0.001.The proportion of well controlled blood sugar of experimental group were statistically significant higher than control group at p<0.001, and the proportion of re-admission of experimental group were lower than control group but not statistically significant at p<0.05

Conclusion: The program could help women with insulin-dependent gestational diabetes mellitus increased knowledge about control blood sugar levels and reduces re-admission.

 

ผลของโปรแกรม ต่อความรู้การควบคุมระดับน้ำตาลและการกลับมารักษาซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน

 

เวณุกา พรกุณา1, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล2

 

1กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ขอนแก่น2คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หลักการและวัตถุประสงค์: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ต่อความรู้ การควบคุมระดับน้ำตาลและการกลับมารักษาซ้ำ ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน

 

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ18 ราย ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลปกติและได้รับโปรแกรม โดยให้ความรู้ในวันจำหน่าย 1 ครั้ง และโทรศัพท์ตามเยี่ยม 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติตามแนวทางการรักษาของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test , X2-test และ Fisher’s exact test

 

ผลการศึกษา: หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองมากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีสัดส่วนการควบคุมระดับน้ำตาลได้มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีสัดส่วนการกลับมารักษาซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

 

สรุป: โปรแกรมช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มีความรู้เพิ่มขึ้นสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และลดการกลับมารักษาซ้ำ


Downloads

How to Cite

1.
Pornkuna W, Anusornteerakul S. The Effects of Program on Knowledge, Blood Sugar Level Control and Re-admission of Women with Insulin-Dependent Gestational Diabetes Mellitus. SRIMEDJ [Internet]. 2017 Apr. 28 [cited 2025 Jan. 8];32(2):135-42. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/85004

Issue

Section

Original Articles