Tuberculosis among Hospital Staffs in a Tertiary Care Hospital, Northeastern Thailand
Keywords:
Tuberculosis, Pulmonary Tuberculosis, Multidrug resistance tuberculosis, Health care worker, Hospital, วัณโรค, วัณโรคปอด, วัณโรคดื้อยาหลายขนาน, บุคลากรทางการแพทย์, โรงพยาบาลAbstract
Background and objectives: Incidence of pulmonary tuberculosis (TB) among health personnel are at a higher risk of Mycobacterium tuberculosis infection as compared to general population. This study aimed to find out incidence rate of TB among a tertiary care hospital staffs and potential factors related to TB in health personnels.
Methods: A descriptive study was conducted using the existing TB registry of a tertiary hospital in northeastern Thailand. Data was analyzed and reported as descriptive statistic and incidence rate. Odds ratio (OR) and 95%CI was also used to describe factors related to TB.
Results: There were 41 TB cases among these hospital staffs. Most TB cases were female, non-smokers, aged 22-58 years and had no underlying disease. Almost all of them were new TB patients. The average of incidence rates of TB was 305 per hundred-thousand staffs in year 2013 to 2015. Pulmonary tuberculosis was dominant and only 2 multidrug resistance tuberculosis (MDR-TB) (4.9%) was found. However, the average of TB incidence rate among staffs who directly contact to patient were twice times higher than that found among supporting staffs. Factors which associated to TB were being nurses (OR = 2.08, 95%CI 1.06, 4.05) and worked in an internal medical admission word (OR = 7.09, 95%CI 3.63, 13.92). Only general ventilation system was operated in the internal medical ward.
Conclusion: Incidence rate of TB among hospital staff was higher than general population. Hospital staff who contacted directly to patient, were nurses or worked in the internal medical department revealed the association to TB. Therefore, hospital staff should work strictly precaution to TB infection by using a respiratory protection like N95 respirator and avoiding procedure causing droplet nuclei.
วัณโรคในบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
หลักการและวัตถุประสงค์: อุบัติการณ์วัณโรคปอดในบุคลากรสุขภาพอาจสูงกว่าประชาชนทั่วไป ดังนั้นการศึกษานี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นวัณโรค
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลของบุคลากรในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ที่ป่วยเป็นวัณโรคระหว่างปี พ.ศ.2556 – 2558 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และอัตราอุบัติการณ์เมื่อเปรียบเทียบกับบุคลากรกลางปี และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน (odds ratio: OR) และ 95%CI
ผลการศึกษา: มีบุคลากรเป็นวัณโรคจำนวน 41 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีโรคประจำตัว มีอายุระหว่าง 22-58 ปี ทั้งนี้เกือบทั้งหมดเป็นผู้ป่วยรายใหม่ โดยมีอัตราอุบัติการณ์เฉลี่ยของบุคลากรที่ป่วยเป็นวัณโรคระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2558 เท่ากับ 305 รายต่อแสนประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัณโรคปอด และมี 2 ราย ป่วยเป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โดยบุคลากรที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรงมีอัตราป่วยเป็นวัณโรคมากกว่าบุคลากรสนับสนุน 2 เท่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคได้แก่ เป็นพยาบาล (OR = 2.08, 95%CI: 1.06, 4.05) และสังกัดแผนกอายุรกรรม (OR = 7.09, 95%CI: 3.63, 13.92) ทั้งนี้หอผู้ป่วยอายุรกรรม มีระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติ
สรุป: บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีอัตราอุบัติการณ์สูงกว่าประชากรทั่วไป บุคลากรที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ตำแหน่งพยาบาล หรือเป็นบุคลากรแผนกอายุรกรรม มีอัตราป่วยเป็นวัณโรคสูง ดังนั้นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ควรปฏิบัติหน้าที่โดยป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อวัณโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ การสวมอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจ เช่น N95 และเลี่ยงหัตถการที่เกิดละอองฝอย