Satisfaction to Simple Printed Materials to Support Pharmaceutical Care in Community Pharmacies
Keywords:
satisfaction test, simple tool, pharmaceutical care, community pharmacy, การประเมินความพึงพอใจ, สื่ออย่างง่าย, บริบาลทางเภสัชกรรม, เภสัชกรรมชุมชนAbstract
Background and Objective: Correct and updated information is crucial for providing effective and safety pharmaceutical care in community pharmacies. In Thai community pharmacy context, computer is still not generally used to support the pharmacy services. There for, printed supporting materials are still the useful means of conveying important information to pharmacists. This study aimed to survey which type of printed supporting materials, between clip chart – booklet – easy information table, was the most satisfied material to support pharmaceutical care for community pharmacists.
Methods: The study was composed of two parts. The first part was a documented research to summarize essential information into simple printed materials including (1) drug in pregnancy and lactation, (2) drug interaction with alcohol – caffeine and smoking, and (3) drug-drug interaction. These information were put into three types of simple printed materials; clip chart, booklet and easy information table. The second part was a survey study to determine which type of these simple printed materials was the most satisfied media by the users. The study samples were 80 community pharmacists in Khon Kaen city which were conveniently sampling to reply five levels Likert scale of satisfaction. Friedman test was used to determine the differences between satisfaction scores between three types of simple tools. Analysis of correlation between demographic characteristic data and satisfaction scores were tested by Mann-Whitnet U test and Kriskall-Wallis test. Statistical significant cut point was at p < 0.05.
Results: There were 79 pharmacists who completed the questionnaires. Response to the question of overall satisfaction showed that the community pharmacists were most satisfied by easy information table. Analysis from scores of each satisfaction domain also showed that the community pharmacists were satisfied with easy information table most. These satisfactions were all the same fashion in all 3 information contents of the supporting materials. There was no correlation between demographic characteristic data and score of satisfaction.
Conclusion: Between three types of printed supporting materials, clip chart – booklet – easy information table, the community pharmacists were most satisfied with the easy information table. Easy information table should be further developed and distributed for general use.
ความพึงพอใจต่อสื่อสิ่งพิมพ์อย่างง่ายที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา
หลักการและวัตถุประสงค์: การมีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัยจะทำให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้รับบริการมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยมากขึ้น ในบริบทของร้านยาในประเทศไทยซึ่งยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานน้อย การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับให้ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานยังเป็นวิธีการที่มีประโยชน์และมีคุณค่า การศึกษานี้ต้องการทราบว่าเภสัชกรชุมชนจะพึงพอใจต่อสื่ออย่างง่ายรูปแบบใดมากกว่ากัน ระหว่างแผ่นพลิกให้ข้อมูล หนังสือพกพา และตารางข้อมูลอย่างง่าย
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้มี 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ ขั้นตอนการสร้างสื่อทั้ง 3 รูปแบบที่รวบรวมข้อมูลในเรื่อง 1.การใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และให้นมบุตร 2.การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และการสูบบุหรี่ และ 3.การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยา ส่วนขั้นตอนที่ 2 เป็นการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อทั้ง 3 รูปแบบ ของสื่อทั้ง 3 เรื่อง โดยกลุ่มตัวอย่างคือเภสัชกรชุมชนในเมืองขอนแก่น จำนวน 80 ราย ที่ถูกสุ่มมาตามสะดวก เครื่องมือคือแบบประเมินความพึงพอใจที่มี 5 ระดับคะแนน วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความพึงพอใจระหว่างสื่อทั้ง 3 รูปแบบด้วย Friedman test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นคุณลักษณะพื้นฐานผู้ประเมินกับคะแนนประเมินด้วย Mann-Whitney U test และ Kruskall-Wallis test โดยกำหนดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p < 0.05
ผลการศึกษา: จากจำนวนผู้ที่ตอบแบบประเมินความพึงพอใจกลับมา 79 ราย พบว่าการประเมินด้วยคำถามให้ตอบแบบภาพรวม พบว่าผู้ประเมินพึงพอใจต่อสื่อในรูปแบบตารางข้อมูลอย่างง่ายมากที่สุด และการประเมินด้วยคำถามเพื่อให้ผู้ประเมินตอบแสดงระดับความพึงพอใจในแต่ละข้อคำถามก็ได้ผลเช่นเดียวกันว่าผู้ประเมินพึงพอใจต่อตารางข้อมูลอย่างง่ายมากกว่า และผลประเมินสอดคล้องกันในสื่อให้ข้อมูลทั้ง 3 เรื่อง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ตอบแบบประเมินกับค่าคะแนนความพึงพอใจ ไม่พบความสัมพันธ์แต่อย่างใด
สรุป: สื่อให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยาในรูปแบบตารางข้อมูลอย่างง่าย ได้รับคะแนนประเมินความพึงพอใจสูงกว่าสื่อในรูปแบบแผ่นพลิกให้ข้อมูล และสื่อหนังสือพกพา จึงควรมีการพัฒนาสื่อรูปแบบตารางข้อมูลอย่างง่ายให้ถูกนำไปใช้ในวงกว้างต่อไป