Effects of Home Care Pharmacy Service in Urban Area Health System, Mahasarakham Province
Keywords:
Continuity of pharmaceutical care, home care pharmacy service, urban area health system, Mahasarakham, การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชน, การออกเยี่ยมบ้าน, เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง จ.มหาสารคามAbstract
Background and Objective: The pharmacists at primary care unit found many drug related problems (DRPs) when patients received medicine. This study aimed to investigate the effects of home care pharmacy services.
Methods: This was a descriptive study. This study determined inclusion criteria for home health care and used data collected via home care record forms as a research tool. The pharmacists were required to identify DRPs and potential for home health care with a systematic approach which consisted of data collection, assessing patients during the visit following INHOMESSS guidance and management of DRPs for individual patients. The study population were the patients has been visited at home by pharmacists from the urban area health system of Mahasarakham province in fiscal year 2016.
Results: There were 54 patients visited by pharmacists. Most of them were females (64.81%), and average age was 65.21 ± 12.74 years. The highest rate of chronic illness (diabetes, hypertension and dyslipidemia) in homes visited by the pharmacists were 36.99%. A holistic patient assessment undertaken with INHOMESSS method found that the majority of them had poor mobility (66.67%) and improper nutrition (55.55%). Regarding evaluation of DRPs, most were attributed to non-adherence (51.02%) whereby the cause of DRPs could be attributed to prescription of numerous drugs (24.49%). Nearly half (49.07%) of the pharmacists’ main role in home care pharmacy service for managing DRPs was reviewing medication and adherence monitoring. Effective resolution of DRPs by pharmacists was as high as 91.66%.
Conclusions: In summary, the results from this study indicated that pharmacists could increase home care pharmacy services in the target group following inclusion criteria for screening and to find DRPs. The pharmacists could resolve the DRPs.
ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนโดยการออกเยี่ยมบ้านในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
หลักการและวัตถุประสงค์:จากการปฏิบัติงานเมื่อให้บริการเภสัชกรรมพบปัญหาในการดูแลผู้ป่วยจึงใช้กลไกของการดูแลต่อเนื่องในชุมชนโดยเภสัชกรออกเยี่ยมบ้านเพื่อศึกษาปัญหาจากยา
วิธีการศึกษา:เป็นการสังเกตเชิงพรรณนา โดยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้บริบาลเภสัชกรรมต่อเนื่องในชุมชน โดยใช้แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านเก็บข้อมูล เภสัชกรประเมินสุขภาพของผู้ป่วยด้วยวิธี INHOMESSS ค้นหาปัญหาการใช้ยา สาเหตุ การแก้ปัญหา และประเมินผลลัพธ์การแก้ปัญหา โดยประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกรในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง จ.มหาสารคาม ในปีงบประมาณ 2559
ผลการศึกษา:ได้ออกให้บริบาลเภสัชกรรมที่บ้านเป็นจำนวน 54 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.81 มีอายุเฉลี่ย 65.21 ± 12.74 ปี เภสัชกรออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดัน ไขมัน) สูงถึงร้อยละ 36.99 การประเมินผู้ป่วยด้วย INHOMESSS พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวที่ลำบาก ร้อยละ 66.67 มีลักษณะการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ร้อยละ 55.55 ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 51.02) สาเหตุที่ทำให้ทำเกิดปัญหาจากยาส่วนใหญ่ คือ การได้รับรายการยาจำนวนมากเกินร้อยละ 24.49เภสัชกรเข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการทบทวนและตรวจสอบความร่วมมือในการใช้ยาสูงถึงร้อยละ 49.07 การบริบาลเภสัชกรรมที่ให้แก่ผู้ป่วยสามารถแก้ไขปัญหาการใช้ยาได้ทั้งหมดสูงถึงร้อยละ 91.66
สรุป: การศึกษานี้สามารถเพิ่มการบริบาลเภสัชกรรมได้ครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยที่คัดเลือกเพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยาที่บ้านและเภสัชกรสามารถแก้ไขจัดการปัญหาที่เกิดจากยาของผู้ป่วยได้